Saturday, April 15, 2006

 

บาป4ข้อจาก คดี กฟผ.


คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์ prasong_lert@yahoo.com

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2548 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งปร ะเทศไทย (กฟผ.) พ.ศ. 2548 จนทำให้กระบวนการแปรรูป กฟผ.ต้องล้มเลิกไป ได้ทำให้สังคมรับรู้ข้อเท็จจริงและได้ประโยชน์หลายประการ

ประการแรก เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลพรรคไทยรักไทยละเลยและเพิกเฉยต่อสิ่งที่เรียกว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interests) เพราะมีการแต่งตั้งบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (นายโอฬาร ไชยประวัติ) ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทชินคอร์ป (ทำธุรกิจด้านโทรคมนาคมเช่นเดียวกับบริษัท กฟผ.) และกรรมการบริษัท ปตท. (ขายก๊าซให้แก่ กฟผ.) เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเตรียมการจัดตั้งบริษัท กฟผ.ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ 2542

ประการที่สอง มีการวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานที่มีผลในทางกฎหมายว่าตำแหน่ง "กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี" เป็น "ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ซึ่งทำให้การแต่งตั้งนายปริญญา นุตาลัย กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไม่ชอบด้วยกฎหมายเ นื่องจากระเบียบคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจระบุชัดว่า ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นประธานและกรรมการชุดดังกล่าว

ถ้ายึดตามแนวการวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดน่าจะส่งผลกระทบต่อกรรมการผู้ช่วยร ัฐมนตรีหลายคนที่เป็นประธานกรรมการของหน่วยงานของรัฐบางแห่งหรือรัฐวิสาหกิจ หลายแห่งที่มีข้อห้ามข้าราชการการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นกรรมการโดยเฉพาะองค์การมหาชนที่การตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งต้องอาศัยอำน าจตาม พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ. 2542 นั้นบัญญัติไว้ในมาตรา 20(6)ว่าประธานกรรมการและกรรมการองค์การมหาชนซึ่งมิใช่ประธานกรรมการโดยตำแห น่ง ต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง...

เท่าที่ทราบรัฐบาลพรรค ไทยรักไทยได้แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีไปเป็นประธานกรรมการและกรรมการอ งค์การมหาชนเหล่านี้หลายแห่งซึ่งเห็นชัดว่า ไม่ไยดีต่อตัวบทกฎหมาย

อาจมีผู้โต้แย้งว่า รัฐบาลอาจเข้าใจผิดหรือเห็นว่ากรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งท างการเมือง การกล่าวหาเช่นนี้จึงรุนแรงเกินไปเพราะศาลปกครองสูงสุดเพิ่งมีคำพิพากษาเรื่ อง กฟผ.เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549

ข้อเท็จจริงที่ผู้คนทั่วไปไม่ทรา บคือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เคยมีหนังสือ (ที่ นร 0503/11082) ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2546 หารือคณะกรรมการกฤษฎีกาถึงฐานะและการดำรงตำแหน่งของผู้ช่วยรัฐมนตรีเลขาธิกา รคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบข้อหาหารือ (เรื่องเสร็จที่ 139/2547) ชัดเจนว่า ผู้ช่วยรัฐมนตรีอยู่ในความหมายของคำว่า "ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"

ผู้ที่สั่งให้ส่งเรื่องหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาคือ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

แต่ทำไมนายวิษณุ จึงปล่อยให้มีการแต่งตั้งผู้ช่วยรัฐมนตรีไปดำรงตำแหน่งต่างๆมากมายในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมาย

นี่ยังไม่รวมถึง "ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" อื่นๆ เช่น ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ประธานที่ปรึกษานโยบายนายกรัฐมนตรี

ประการที่สาม ทำให้เห็นว่าการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของภาคประชาชนทั้งในทางสังคมและกฎหมาย มีผลอย่างเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังซึ่ง ภาคประชาชนสามารถนำเอาไปเป็นบทเรียนไปตรวจการสอบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอื่น เช่น ปตท.ว่ามีการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือไม่ อย่างไร

ประการที่สี่ ทำให้สาธารณชนรู้ว่าการที่รัฐบาลลักไก่เอาที่ดินที่ได้จากการเวนคืนตามกฎหมา ยก่อนมีการแปรรูปไปยกให้แก่รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งในรูปบริษัทในภายหลัง เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ว่าด้วยการเวนคืนที่ดินซึ่งเป็นอำนาจมหาชนอันเป็นเหตุผลสำคัญที่ศาลปกครองสู งสุดพิพากษาว่า พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะที่ดินที่ได้จากการเวนคืนจะโอนไปให้บริษัทซึ่งเป็นเอกชนได้ต้องทำโดยพร ะราชบัญญัติเท่านั้น ไม่สามารถตราเป็นพระราชกฤษฎีกาได้

ถ้ายึดตามแนว คำพิพากษาดังกล่าวอาจทำให้พระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจหลายแห่งอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพราะก่อนที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจะแปรสภาพเป็นบริษัทนั้น มีการเวนคืนที่ดินไปเป็นจำนวนมากเพื่อวางท่อก๊าซ แต่มีการโอนที่ดินที่เวนคืนให้เป็นทรัพย์สินของบริษัท ปตท.หลังจากแปรสภาพแล้ว

ถ้ามีการนำเรื่องดังกล่าวฟ้องต่อศาลปกครองสู งสุดอีก แม้อาจไม่ถึงขึ้นยกเลิกพระราชกฤษฎีกาทั้งฉบับหรือยกเลิกการแปรรูปแต่บริษัท ปตท.น่าจะต้องคืนที่ดินดังกล่าวให้แก่รัฐและอาจต้องเสียค่าเช่าย้อนหลังให้แ ก่รัฐ เว้นแต่มีการตราพระราชบัญญัติโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่บริษัท ปตท.

แต่ปัญหาคือ ใครจะกล้าดำเนินการเพราะเท่ากับเอาที่ดินของรัฐไปยกให้แก่บริษัทเอกชนโดยเฉพาะบริษัท ปตท.มีตระกูลนักการเมืองใหญ่ในรัฐบาลไทยรักไทยถือหุ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ตระกูลมหากิจศิริ จึงรุ่งเรืองกิจ

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น "มรดกบาป" ที่รัฐบาลไทยรักไทยก่อไว้ให้ประชาชนรับและช่วยกันเช็ดล้าง

ที่มา: มติชนออนไลน์ วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2549
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01col01150449&day=2006/04/15

ข้อมูลลักษณะอย่างนี้เป็นสิ่งที่ทักษิณ และพรรคพวก รวมทั้งผู้สนับสนุนไม่ยอมตอบและไม่ยอมรับผิดชอบ อยากบอกว่านี่เป็นการบริหารประเทศชาตินะครับไ่ม่ใช่บริหารธุรกิจส่วนตัวที่จะทำอะไรก็ได้ ตอนนี้มันกลายเป็นว่าทำผิดแล้วก็ไม่เป็นไรแค่แก้ให้ถูกก็พอ ถ้าจะคิดกันอย่างนี้ไม่ต้องสนใจว่ากฏหมายหรือรัฐธรรมนูญเขียนไว้ยังไงอยากทำอะไรก็ทำไปเมื่อศาลบอกว่าทำผิด ก็เอามาแก้ใหม่ก็ำพอ ก็ตะแบงกันต่อไป ถ้าคนส่วนมากอยากให้เป็นอย่างนั้น ก็คงอ้างประชาธิปไตยกันไป...

Comments:
look my site -

[url=http://trailfire.com/paxil] what is paxil [/url]

http://trailfire.com/paxil
[url=http://trailfire.com/paxil] well known paxil attorney [/url]
 
take a look at nice special blog -

[url=http://www.young-dro.com/profiles/blogs/buy-cheap-paxil-paxil-lawsuits] paxil class action [/url]

http://www.young-dro.com/profiles/blogs/buy-cheap-paxil-paxil-lawsuits
[url=http://www.young-dro.com/profiles/blogs/buy-cheap-paxil-paxil-lawsuits] paxil lawsuits [/url]
 
السلام عليكم معكم حالياً شركة ركن سيف التى تقدم خدماتتسليك المجارى الاحترافية خدماتنا هى التى نتعاون مع بعضنا حتى نقوم بتنفيذها نحن هدفنا الوحيد والاول والاخير هو ارضاء العميل وخاصة فى خدمة تسليك المجارى بالاحساء
مؤسستنا هى الشركة الوحيدة التى لن ترى فيها اى عيوب وسترى باذن الله كل خير .

 
Post a Comment

<< Home

This page is powered by Blogger. Isn't yours?