Tuesday, March 21, 2006
หลังทักษิณ : เศรษฐกิจตลาดพอเพียง (Post Thaksin : Sufficient Market Economy)
โดย เสรี พงศ์พิศ www.phongphit.com โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
สิ่งที่ผู้คนต่อต้านและต้องการโค่นล้มวันนี้ไม่ใช่คนที่ชื่อทักษิณ ชินวัตร เท่านั้น แต่เป็น "ระบอบทักษิณ" หรือ "ทักษิณพาราไดม์" (Thaksin Paradigm) กระบวนทัศน์แบบทักษิณ ซึ่งแปลว่า "วิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า ซึ่งตั้งอยู่บนฐานการมองโลกความเป็นจริงแบบหนึ่ง"
ทักษิณมองโลกความเ ป็นจริงแบบปฏิบัตินิยมสุดโต่ง (Extreme Pragmatism) ใช้เสรีนิยมสุดขั้วเพื่อก่อให้เกิดทุนนิยมสุดลิ่มทิ่มประตู ใช้ทุกวิถีทาง (เงินและอำนาจ) เพื่อให้มันเกิดให้ได้ โดยไม่สนใจว่า เครื่องมือและเป้าหมายจะ "ไปด้วยกัน" ได้หรือไม่ เป็นอันเดียวกันได้หรือไม่ เพราะเขาถือว่า ผลลัพธ์สำคัญที่สำคัญ วิธีใดไม่สำคัญ ขอให้ได้ผลที่ต้องการก็พอ
เพื่อแก้ปัญหายาเสพติด คนจำนวน 2,500 คน จึงตายไปโดยหาคำอธิบายให้โลกศิวิไลซ์เข้าใจไม่ได้ ความรุนแรงในภาคใต้ ตากใบ และกรือเซะ และกรณีความฉ้อฉลการโกงชาติที่พิสูจน์สัจธรรมที่ว่า ยิ่งมีอำนาจมาก ยิ่งฉ้อฉลมาก (absolute power.corrupt absolutely...)
คงเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกกระมังที่ถูกกล่าวหาว่า "ขายชาติ" ถูกไล่และประณามอย่างรุนแรงเช่นนี้
สำหรับทักษิณพาราไดม์ ประชาธิปไตยไม่ใช่เป้าหมาย เป็นเพียงเครื่องมือไปสู่อำนาจ ไปสู่ทุนนิยม ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์สูงสุด จึงเป็นที่มาของการทำทุกวิถีทางที่จะได้ ส.ส.ให้มากที่สุด การครอบงำสื่อ การครอบงำองค์กรอิสระ จนไม่มีการตรวจสอบ จนต้องตรวจสอบโดยประชาชนนอกสภาและในทุกรูปแบบอย่างที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งดุเดือดเลือดพล่านและรุนแรงมากกว่าในสภา
เขาทำได้ทุกอย่างโดยไม่ สนใจ "จริยธรรม" แล้วก็ต้องตกม้าตายเพราะ "ขาดจริยธรรม" เพราะแยก "ถูกต้อง" ออกจาก "ดี-งาม" นึกว่าจะแยกได้ อ้างตลอดเวลาว่าถูกต้องตามกฎหมายแต่บ่ายเบี่ยงที่จะตอบคำถามเรื่อง "จริยธรรม"
เขาทำทุกอย่างในนามของการพัฒนาประเทศ เป็นวิถีทุนนิยมที่เขาอ้างเสมอว่า "คุณต้องอยู่กับมัน ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม" ซึ่งเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว เพราะเขาไม่ได้บอกว่าจะอยู่กับมันอย่างไร แบบไหนจึงจะ "สมดุลและยั่งยืน" กว่าที่กำลังเกิดขึ้นวันนี้ที่ประเทศไทย
ถ้าจะอยู่กับมันจำเป็นต้องข าย "สมบัติชาติ" ขายรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องทำเอฟทีเอไปทั่วแบบมีผลประโยชน์แอบแฝง และอื่นๆ อีกร้อยแปดที่ปูดออกมาทั้งในสภา นอกสภา ทั้งลานพระบรมรูปและสนามหลวง ทั้งในอินเตอร์เน็ต ในสถาบันการศึกษา (ข้อสอบ มธ. และศาลจำลอง มธ.เป็นตัวอย่าง) ในการประชุมสัมมนา สภากาแฟ และที่บ้าน
อีกด้านหนึ่ งอาจจะเข้าใจว่า คนที่เห็นด้วยและสนับสนุนระบอบทักษิณก็ยังมีอยู่ไม่น้อย เงินและอำนาจสามารถสร้างระบบอุปถัมภ์เอื้ออาทร แต่ทำให้คนอ่อนแอลง กลายเป็นไม้ในกระถางที่เขารดก็สดชื่น เขาไม่รดก็เหี่ยวเฉา
ระบอบ ทักษิณก่อให้เกิดมาตรการต่างๆ ที่เรียกกันว่า ประชานิยม ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นการสร้าง "สวัสดิการ" ให้ประชาชนโดยเฉพาะคนรากหญ้า คนระดับล่าง ซึ่งหลักของประชานิยมกับระบบอุปถัมภ์ตามแบบทฤษฎีพึ่งพา (dependency theory) นั้นอันเดียวกัน
เป็นอะไรที่เกี่ยวโยงกับระบอบท ักษิณ ทักษิโณมิกส์ ภายใต้ทักษิณพาราไดม์ คือ ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนของทุนให้มากที่สุด ให้คนบริโภคมากที่สุด การพัฒนาประเทศวัดกันที่จีดีพี อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง
กองทุนหมู่บ้ านหนึ่งล้านก็ดี SML ก็ดี การพักชำระหนี้ก็ดี ได้ก่อให้เกิดหนี้สินในครัวเรือนของคนรากหญ้าแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เนื่องมาจากการส่งเสริมการบริโภคแบบสุดขั้วด้านหนึ่ง และยื่นเงินมาให้ใช้อีกด้านหนึ่ง
ขนาดชุมชนที่เรียกได้ว่าเข้มแข็ง เป็นแหล่งดูงานอย่างบ้านนาอีสาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ยัง "เป๋" เลย เคยมีกองทุนข้าวที่ชาวบ้านเอามารวมกันเพื่อแก้ปัญหาข้าวไปพอกิน ก่อนหนี้ได้ปีละ 50-60 เกวียน ปีกลายได้เพียง 10 เกวียน
นายเลี่ยม บุตรจันทา ผู้นำชุมชนบอกว่า ชาวบ้านซึ่งกำลังปลดหนี้ตัวเองตามวิถีแบบ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ที่เน้นการพึ่งตนเอง และกำลังไปได้ดี วันนี้ชาวบ้านจำนวนหนึ่งกลับไปเป็นหนี้ในวงจรอุบาทว์เดิมๆ อีกแล้ว และเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแทนที่จะเอาข้าวมารวมกัน ก็เอาไปขายเพื่อหาเงินไปใช้หนี้กองทุนหมู่บ้านหนึ่งล้าน
นายเลี่ยมถามคุณทักษิณว่า ทำไมต้องแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนในเมื่อมันเป็นทุนอยู่แล้ว แปลงให้มันเป็นหนี้ทำไม
นายเลี่ยมและชุมชนแบบบ้านนาอีสานได้พยายามมานานหลายปีที่จะหาทางแก้ปัญหาหนี้ สินและการทำมาหากินแบบเดิมๆ ด้วยการจัดระเบียบชีวิตใหม่ ค้นหา "ทุน" ให้ท้องถิ่น ทั้งทรัพยากร ความรู้ภูมิปัญญา และทุนทางสังคม และเริ่มจัดการชีวิตของตนเองในอีกแบบหนึ่ง
แบบที่ได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม จากไม้เรียง จากอินแปง จากชุมชนที่พบทางออกแบบนี้มาก่อน แบบ "พึ่งตนเอง" แบบ "พอเพียง"
แต่เนื่องเพราะต้องอยู่ในสังคม "ทุนนิยม" แบบทักษิโณมิกส์ ชุมชนบ้านนาอีสานจึงเหมือนคนที่กำลังฟื้นไข้ กำลังดีวันดีคืน วันหนึ่งก็เจอเชื้อโรคตัวใหม่ที่รุนแรง ทำให้ภูมิคุ้มกันที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก รับไม่ไหว อาจถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่ออีกไม่นาน
นี่ขนาดชุมชนที่คนไปเรียนรู้ดูงาน ไปดูตัวอย่างชุมชนเข้มแข็งยัง "เป๋" แล้วชุมชนอื่นๆ ทั่วไปจะปานไหน
สถานการณ์ถึงขั้นนี้ คงไม่ต้องพูดอะไรอีกแล้ววันนี้ มีอย่างเดียวเท่านั้น คือต้องช่วยกันปลุกคนให้ตื่นจากความฝัน ฝันที่ทักษิณได้กระหน่ำวาดไว้ให้สวยงาม ฝันประเภท "พรุ่งนี้รวย"
"เมื่อความฝันสิ้นสุดลง คนก็เริ่มค้นหาความจริงกันใหม่" อมาตยา เซน รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดียบอกไว้ และกล่าวต่อว่า "เพื่อก้าวพ้นนิยายของการพัฒนา เราจะต้องมีระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง"
สังคมไทยหลังทักษิณจะต้องก้าวข้ามระบอบทักษิณและทักษิณพาราไดม์ และต้องสร้างกระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ขึ้นมา (development paradigm)
กระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ของสังคมไทย ต้องมีรากฐาน รากเหง้าในสังคมไทย สืบทอดภูมิปัญญาไทย ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นของไทย ให้สามารถพึ่งพาตนเองและอยู่ในโลกได้อย่างเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ไปขึ้นต่อและยอมทุกอย่างเพียงเพื่อให้ได้ "ทุน" อย่างที่กำลังเป็นอยู่
โลกวันนี้กำลังเปลี่ยน จีดีพีไม่ใช่ตัวชี้วัดการพัฒนาอีกต่อไป เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นและต้องเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวมแบบบูรณาการ ไม่ใช่แกนนำ แกนหลักอีกต่อไป
คำว่า "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ไม่ใช่วาทกรรมเพื่อให้ดูดี แต่เป็นปรัชญาที่ทั่วโลกกำลังหาแนวทาง เครื่องมือ กลไก เพื่อทำให้เป็นจริง อาจจะไม่ได้อย่างภูฏาน ประเทศเล็กๆ และด้อยพัฒนาในสายตาแบบเก่าๆ แต่ก้าวหน้าอย่างยิ่งในกระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ เพราะภูฏานโมเดล ใช้ "ความสุข" เป็นตัวชี้วัดการพัฒนาประเทศ
ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) แต่เป็นความสุขมวลรวมประชาชาติ (GDH) ซึ่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ก็เริ่มใช้โดยการพัฒนากรอบ เกณฑ์และตัวชี้วดัการพัฒนายั่งยืนขึ้นมาใหม่ ให้สอดคล้องกับ GDH
ประเทศภูฏานยังปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระราชาธิบดีเป็นประมุข พระองค์ทรงให้แนวทางการพัฒนาประเทศแบบนี้มากกว่า 30 ปีแล้ว และค่อยๆ พัฒนาเรื่อยมา
ประเทศไทยโชคดีมีพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่มาก ทรงครองราชย์มาถึง 60 ปี ทรงให้แนวทางการพัฒนาคล้ายกับของภูฏานมานานกว่า 30 ปี เช่นเดียวกัน แต่โชคร้ายที่ประเทศไทยไม่ได้รับเอาพระราชดำริและพระปรีชาญาณของพระองค์ท่าน มาปฏิบัติอย่างจริงจัง
พระองค์ท่านทรงสอนให้ค่อยๆ พัฒนาเป็นขั้นเป็นตอน ให้มีรากฐานที่มั่นคง ทรงใช้คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2540 พร้อมกับแนะนำทฤษฎีใหม่ในการพัฒนา
ในปีมหามงคลของการเฉลิมฉลองการครอ งราชย์ 60 ปี ของพระองค์ท่าน สังคมไทยต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เปลี่ยนให้ถึงรากฐาน ประกาศเป้าหมายแห่งชาติร่วมกัน (national goal) ว่า สังคมไทยจะต้องใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ
ปัจจุบันเราไม่ได้ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา เป็นเป้าหมาย รัฐบาลนี้ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้ตนเองเท่านั้น เป็นเพียงดอกไม้ในแจกันที่ตั้งไว้ประดับโต๊ะทำงาน
จำเป็นต้องศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงใหม่ เพื่อให้เป็นรากฐานสำหรับกระบวนทัศน์ใหม่ให้เป็น "วิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า" ซึ่งตั้งอยู่บนฐานการมองโลกแบบหนึ่ง แบบที่ต้องแตกต่างไปจากทักษิณพาราไดม์
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ มีหลักสำคัญสามประการคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ซึ่งหากมองจากมุมของชุมชนคนรากหญ้า อยากตีความว่า
ก) ความพอประมาณ คือ "มาตรฐานชีวิต" ของผู้คน ไม่ใช่เพียงรายได้ขั้นต่ำกว่าขีดความยากจน แต่เป็นอะไรที่ทำให้คน "อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีกินตลอดชีวิต" มีสิ่งตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐาน พึ่งตนเองได้ พึ่งพาอาศัยกันได้
ข) ความมีเหตุมีผล คือการพัฒนาแบบนี้ทำให้เราอยู่ได้ คนอื่นอยู่ได้ ลูกหลานในอนาคตก็อยู่ได้โดยไม่ขาดแคลนไม่ใช่พ่อแม่ใช้วันนี้จนหมด แม้กระทั่งรายได้ในอนาคตและทรัพยากรในอนาคต ไม่เหลืออะไรไว้ให้ลูกหลาน เหลือไว้แต่หนี้
การพัฒนาแบบนี้ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยี ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพื่อขายในตลาด หรือการส่งออก แต่ทำอย่างมีเหตุมีผล คือทำเพื่อการบริโภคในท้องถิ่นอย่างพอเพียง และผลิตเพื่อขายในตลาดอย่างสมเหตุสมผล คือแข่งขันได้จึงเอาออกไปไม่ลงทุนโดยเสี่ยงมากเกินไป หากล้มเหลวขาดทุนจะเกิดผลเสียหายกับตนเอง ชุมชนและท้องถิ่นได้
ค) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว คือการสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง เป็นระบบที่เกิดจากการเรียนรู้ จากข้อมูลท้องถิ่น ข้อมูลภายนอก มีแผนแม่บทชุมชน แผนยุทธศาสตร์และแผนการทำงานที่สร้างระบบ และเชื่อมระบบเล็กๆ ต่างๆ เข้าด้วยกัน ระบบการผลิต ระบบการบริโภค ระบบการออม ระบบสวัสดิการ ระบบสุขภาพ ระบบสิ่งแวดล้อม ระบบวิสาหกิจชุมชน
ระบบดังกล่าวเป็นหลักประกันให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตนเองไม่ "ขึ้นต่อ" หน่วยงานราชการนักการเมือง พ่อค้า นักวิชาการ เอ็นจีโอ พวกเขาเป็นตัวของตัวเอง อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อย่างภาคีพันธมิตร (partnership) ไม่ใช่อย่างผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ถูกอุปถัมภ์เอื้ออาทร
ระบบดีคือภูมิคุ้มกันที่ดีของชุมชน เกิดชุมชนเข้มแข็ง เป็นระบบเล็ก ทั่วแผ่นดินที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบใหญ่ เป็นองคาพยพเหมือนร่างกายของคน ซึ่งสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม
นี่เป็นการมองมาจากชุมชน แต่เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องชุมชนหรือคนรากหญ้า คนยากจนเท่านั้น แต่เป็นปรัชญาการพัฒนาประเทศ ปรัชญาที่ต้องใช้กับทุกภาคส่วนทั้งอุตสาหกรรม ทั้งภาคบริการ การบริหารจัดการประเทศโดยรวม ซึ่งต้องคงได้รูปแบบที่เหมาะสมที่แตกต่างไปจากรูปแบบที่กำลังเกิดขึ้นในชุมชนหลายแห่งที่ได้กล่าวถึงก่อนนี้
กระบวนทัศน์พัฒนาใหม่นี้จะต้องมีเศร ษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ในเวลาเดียวกันก็ยังใช้ทุนนิยมต่อไปได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ ไม่ใช่วิธีคิดแบบปฏิบัตินิยม-เสรีนิยมสุดขั้วแต่เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ต้องใหญ่กว่าทุนนิยม เป็นวิธีคิดที่กำหนดวิธีปฏิบัติและวิธีให้คุณค่า รวมทั้งหารูปแบบที่เหมาะสม ให้ทุนนิยมและสังคมโดยรวม
เศรษฐกิจพอเพียงกับทุนนิยมอาจจะฟังดูขัดแย้งกัน เป็นความจริงที่ประหลาด (paradox) แต่ก็เป็นไปได้ที่เราจะพัฒนา "เศรษฐกิจตลาดแบบพอเพียง" (Sufficient Market Economy) เช่นเดียวกับที่จีนใช้ "เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม" (Socialist Market Economy) ซึ่งเป็นความจริงที่ประหลาดมากกว่าอีก
จีนยังมีอุดมการณ์และระบอบสังคมนิยม แต่ปรับกลไกและการดำเนินงานที่ยืดหยุ่นให้เป็น "ทุนนิยม" เพื่อให้เกิด "ประสิทธิภาพ" และให้สามารถอยู่ในโลกที่เป็นโลกาภิวัตน์ที่เชื่อมโยงกันหมดและแข่งขันกันสูงนี้ได้
แต่จีนก็ยังหนักแน่นในอุดมการณ์สังคมนิยม ซึ่งเป็นตัวกำกับทุนนิยม ยังมีพรรค ยังมีสภาประชาชน ยังมีกลไกของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์อยู่เต็มรูปแบบ
สังคมไทยต้องการอุด มการณ์และระบอบใหม่ ซึ่งความจริงก็มีรากฐานเดิมเป็นทุนอยู่แล้วไม่น้อย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 8 จนถึงฉบับที่ 10 ที่กำลังจะออกมาเป็น "นวัตกรรม" ระดับโลก ซึ่งเน้นการพัฒนาคน คุณภาพชีวิต ความสุข โดยไม่ได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่แผนเหล่านี้ไม่มีความหมายในสายตาของระบอบทักษิณ
ถึงเวลาต้องมารวม กันคิดว่า ในทุกภาคส่วนจะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นได้ต้องตั้งคำถามกันใหม่ และทำความเข้าใจใหม่ว่า "เศรษฐ" ไม่ได้ว่าเงินทองเท่านั้น แต่หมายถึงความเจริญ ซึ่งจะมาจากความพอเพียงทางจิตใจ ทางปัญญา ทางสิ่งแวดล้อม ทางสังคม
เลิกตั้งคำถามว่า "ทำอย่างไรจะรวย" ต้องตั้งคำถามว่า "ทำอย่างไรจะมีความสุข" และเลิกคิดว่า คนที่ตั้งคำถามเรื่องความสุขเป็นคนเพ้อฝัน เพราะคนเพ้อฝันจริงคือคนที่ตั้งคำถามเรื่องจะรวยต่างหาก
ถ้าไม่อยากให้เกิดระบอบทักษิณขึ้นมาอีก เราต้องสร้างระบอบใหม่ ระบอบที่เกิดจากกระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ ซึ่งอาจจะเรียกเศรษฐกิจตลาดแบบพอเพียง (Sufficient Market Economy) ที่ทำให้เกิดการพัฒนายั่งยืน ซึ่งแปลว่าพัฒนาแล้วดีขึ้น และผู้คนอยู่เย็นสุขจริง
ที่มา: มติชนออนไลน์
21 มีนาคม 2549
สิ่งที่ผู้คนต่อต้านและต้องการโค่นล้มวันนี้ไม่ใช่คนที่ชื่อทักษิณ ชินวัตร เท่านั้น แต่เป็น "ระบอบทักษิณ" หรือ "ทักษิณพาราไดม์" (Thaksin Paradigm) กระบวนทัศน์แบบทักษิณ ซึ่งแปลว่า "วิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า ซึ่งตั้งอยู่บนฐานการมองโลกความเป็นจริงแบบหนึ่ง"
ทักษิณมองโลกความเ ป็นจริงแบบปฏิบัตินิยมสุดโต่ง (Extreme Pragmatism) ใช้เสรีนิยมสุดขั้วเพื่อก่อให้เกิดทุนนิยมสุดลิ่มทิ่มประตู ใช้ทุกวิถีทาง (เงินและอำนาจ) เพื่อให้มันเกิดให้ได้ โดยไม่สนใจว่า เครื่องมือและเป้าหมายจะ "ไปด้วยกัน" ได้หรือไม่ เป็นอันเดียวกันได้หรือไม่ เพราะเขาถือว่า ผลลัพธ์สำคัญที่สำคัญ วิธีใดไม่สำคัญ ขอให้ได้ผลที่ต้องการก็พอ
เพื่อแก้ปัญหายาเสพติด คนจำนวน 2,500 คน จึงตายไปโดยหาคำอธิบายให้โลกศิวิไลซ์เข้าใจไม่ได้ ความรุนแรงในภาคใต้ ตากใบ และกรือเซะ และกรณีความฉ้อฉลการโกงชาติที่พิสูจน์สัจธรรมที่ว่า ยิ่งมีอำนาจมาก ยิ่งฉ้อฉลมาก (absolute power.corrupt absolutely...)
คงเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกกระมังที่ถูกกล่าวหาว่า "ขายชาติ" ถูกไล่และประณามอย่างรุนแรงเช่นนี้
สำหรับทักษิณพาราไดม์ ประชาธิปไตยไม่ใช่เป้าหมาย เป็นเพียงเครื่องมือไปสู่อำนาจ ไปสู่ทุนนิยม ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์สูงสุด จึงเป็นที่มาของการทำทุกวิถีทางที่จะได้ ส.ส.ให้มากที่สุด การครอบงำสื่อ การครอบงำองค์กรอิสระ จนไม่มีการตรวจสอบ จนต้องตรวจสอบโดยประชาชนนอกสภาและในทุกรูปแบบอย่างที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งดุเดือดเลือดพล่านและรุนแรงมากกว่าในสภา
เขาทำได้ทุกอย่างโดยไม่ สนใจ "จริยธรรม" แล้วก็ต้องตกม้าตายเพราะ "ขาดจริยธรรม" เพราะแยก "ถูกต้อง" ออกจาก "ดี-งาม" นึกว่าจะแยกได้ อ้างตลอดเวลาว่าถูกต้องตามกฎหมายแต่บ่ายเบี่ยงที่จะตอบคำถามเรื่อง "จริยธรรม"
เขาทำทุกอย่างในนามของการพัฒนาประเทศ เป็นวิถีทุนนิยมที่เขาอ้างเสมอว่า "คุณต้องอยู่กับมัน ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม" ซึ่งเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว เพราะเขาไม่ได้บอกว่าจะอยู่กับมันอย่างไร แบบไหนจึงจะ "สมดุลและยั่งยืน" กว่าที่กำลังเกิดขึ้นวันนี้ที่ประเทศไทย
ถ้าจะอยู่กับมันจำเป็นต้องข าย "สมบัติชาติ" ขายรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องทำเอฟทีเอไปทั่วแบบมีผลประโยชน์แอบแฝง และอื่นๆ อีกร้อยแปดที่ปูดออกมาทั้งในสภา นอกสภา ทั้งลานพระบรมรูปและสนามหลวง ทั้งในอินเตอร์เน็ต ในสถาบันการศึกษา (ข้อสอบ มธ. และศาลจำลอง มธ.เป็นตัวอย่าง) ในการประชุมสัมมนา สภากาแฟ และที่บ้าน
อีกด้านหนึ่ งอาจจะเข้าใจว่า คนที่เห็นด้วยและสนับสนุนระบอบทักษิณก็ยังมีอยู่ไม่น้อย เงินและอำนาจสามารถสร้างระบบอุปถัมภ์เอื้ออาทร แต่ทำให้คนอ่อนแอลง กลายเป็นไม้ในกระถางที่เขารดก็สดชื่น เขาไม่รดก็เหี่ยวเฉา
ระบอบ ทักษิณก่อให้เกิดมาตรการต่างๆ ที่เรียกกันว่า ประชานิยม ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นการสร้าง "สวัสดิการ" ให้ประชาชนโดยเฉพาะคนรากหญ้า คนระดับล่าง ซึ่งหลักของประชานิยมกับระบบอุปถัมภ์ตามแบบทฤษฎีพึ่งพา (dependency theory) นั้นอันเดียวกัน
เป็นอะไรที่เกี่ยวโยงกับระบอบท ักษิณ ทักษิโณมิกส์ ภายใต้ทักษิณพาราไดม์ คือ ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนของทุนให้มากที่สุด ให้คนบริโภคมากที่สุด การพัฒนาประเทศวัดกันที่จีดีพี อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง
กองทุนหมู่บ้ านหนึ่งล้านก็ดี SML ก็ดี การพักชำระหนี้ก็ดี ได้ก่อให้เกิดหนี้สินในครัวเรือนของคนรากหญ้าแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เนื่องมาจากการส่งเสริมการบริโภคแบบสุดขั้วด้านหนึ่ง และยื่นเงินมาให้ใช้อีกด้านหนึ่ง
ขนาดชุมชนที่เรียกได้ว่าเข้มแข็ง เป็นแหล่งดูงานอย่างบ้านนาอีสาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ยัง "เป๋" เลย เคยมีกองทุนข้าวที่ชาวบ้านเอามารวมกันเพื่อแก้ปัญหาข้าวไปพอกิน ก่อนหนี้ได้ปีละ 50-60 เกวียน ปีกลายได้เพียง 10 เกวียน
นายเลี่ยม บุตรจันทา ผู้นำชุมชนบอกว่า ชาวบ้านซึ่งกำลังปลดหนี้ตัวเองตามวิถีแบบ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ที่เน้นการพึ่งตนเอง และกำลังไปได้ดี วันนี้ชาวบ้านจำนวนหนึ่งกลับไปเป็นหนี้ในวงจรอุบาทว์เดิมๆ อีกแล้ว และเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแทนที่จะเอาข้าวมารวมกัน ก็เอาไปขายเพื่อหาเงินไปใช้หนี้กองทุนหมู่บ้านหนึ่งล้าน
นายเลี่ยมถามคุณทักษิณว่า ทำไมต้องแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนในเมื่อมันเป็นทุนอยู่แล้ว แปลงให้มันเป็นหนี้ทำไม
นายเลี่ยมและชุมชนแบบบ้านนาอีสานได้พยายามมานานหลายปีที่จะหาทางแก้ปัญหาหนี้ สินและการทำมาหากินแบบเดิมๆ ด้วยการจัดระเบียบชีวิตใหม่ ค้นหา "ทุน" ให้ท้องถิ่น ทั้งทรัพยากร ความรู้ภูมิปัญญา และทุนทางสังคม และเริ่มจัดการชีวิตของตนเองในอีกแบบหนึ่ง
แบบที่ได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม จากไม้เรียง จากอินแปง จากชุมชนที่พบทางออกแบบนี้มาก่อน แบบ "พึ่งตนเอง" แบบ "พอเพียง"
แต่เนื่องเพราะต้องอยู่ในสังคม "ทุนนิยม" แบบทักษิโณมิกส์ ชุมชนบ้านนาอีสานจึงเหมือนคนที่กำลังฟื้นไข้ กำลังดีวันดีคืน วันหนึ่งก็เจอเชื้อโรคตัวใหม่ที่รุนแรง ทำให้ภูมิคุ้มกันที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก รับไม่ไหว อาจถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่ออีกไม่นาน
นี่ขนาดชุมชนที่คนไปเรียนรู้ดูงาน ไปดูตัวอย่างชุมชนเข้มแข็งยัง "เป๋" แล้วชุมชนอื่นๆ ทั่วไปจะปานไหน
สถานการณ์ถึงขั้นนี้ คงไม่ต้องพูดอะไรอีกแล้ววันนี้ มีอย่างเดียวเท่านั้น คือต้องช่วยกันปลุกคนให้ตื่นจากความฝัน ฝันที่ทักษิณได้กระหน่ำวาดไว้ให้สวยงาม ฝันประเภท "พรุ่งนี้รวย"
"เมื่อความฝันสิ้นสุดลง คนก็เริ่มค้นหาความจริงกันใหม่" อมาตยา เซน รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดียบอกไว้ และกล่าวต่อว่า "เพื่อก้าวพ้นนิยายของการพัฒนา เราจะต้องมีระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง"
สังคมไทยหลังทักษิณจะต้องก้าวข้ามระบอบทักษิณและทักษิณพาราไดม์ และต้องสร้างกระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ขึ้นมา (development paradigm)
กระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ของสังคมไทย ต้องมีรากฐาน รากเหง้าในสังคมไทย สืบทอดภูมิปัญญาไทย ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นของไทย ให้สามารถพึ่งพาตนเองและอยู่ในโลกได้อย่างเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ไปขึ้นต่อและยอมทุกอย่างเพียงเพื่อให้ได้ "ทุน" อย่างที่กำลังเป็นอยู่
โลกวันนี้กำลังเปลี่ยน จีดีพีไม่ใช่ตัวชี้วัดการพัฒนาอีกต่อไป เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นและต้องเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวมแบบบูรณาการ ไม่ใช่แกนนำ แกนหลักอีกต่อไป
คำว่า "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ไม่ใช่วาทกรรมเพื่อให้ดูดี แต่เป็นปรัชญาที่ทั่วโลกกำลังหาแนวทาง เครื่องมือ กลไก เพื่อทำให้เป็นจริง อาจจะไม่ได้อย่างภูฏาน ประเทศเล็กๆ และด้อยพัฒนาในสายตาแบบเก่าๆ แต่ก้าวหน้าอย่างยิ่งในกระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ เพราะภูฏานโมเดล ใช้ "ความสุข" เป็นตัวชี้วัดการพัฒนาประเทศ
ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) แต่เป็นความสุขมวลรวมประชาชาติ (GDH) ซึ่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ก็เริ่มใช้โดยการพัฒนากรอบ เกณฑ์และตัวชี้วดัการพัฒนายั่งยืนขึ้นมาใหม่ ให้สอดคล้องกับ GDH
ประเทศภูฏานยังปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระราชาธิบดีเป็นประมุข พระองค์ทรงให้แนวทางการพัฒนาประเทศแบบนี้มากกว่า 30 ปีแล้ว และค่อยๆ พัฒนาเรื่อยมา
ประเทศไทยโชคดีมีพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่มาก ทรงครองราชย์มาถึง 60 ปี ทรงให้แนวทางการพัฒนาคล้ายกับของภูฏานมานานกว่า 30 ปี เช่นเดียวกัน แต่โชคร้ายที่ประเทศไทยไม่ได้รับเอาพระราชดำริและพระปรีชาญาณของพระองค์ท่าน มาปฏิบัติอย่างจริงจัง
พระองค์ท่านทรงสอนให้ค่อยๆ พัฒนาเป็นขั้นเป็นตอน ให้มีรากฐานที่มั่นคง ทรงใช้คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2540 พร้อมกับแนะนำทฤษฎีใหม่ในการพัฒนา
ในปีมหามงคลของการเฉลิมฉลองการครอ งราชย์ 60 ปี ของพระองค์ท่าน สังคมไทยต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เปลี่ยนให้ถึงรากฐาน ประกาศเป้าหมายแห่งชาติร่วมกัน (national goal) ว่า สังคมไทยจะต้องใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ
ปัจจุบันเราไม่ได้ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา เป็นเป้าหมาย รัฐบาลนี้ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้ตนเองเท่านั้น เป็นเพียงดอกไม้ในแจกันที่ตั้งไว้ประดับโต๊ะทำงาน
จำเป็นต้องศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงใหม่ เพื่อให้เป็นรากฐานสำหรับกระบวนทัศน์ใหม่ให้เป็น "วิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า" ซึ่งตั้งอยู่บนฐานการมองโลกแบบหนึ่ง แบบที่ต้องแตกต่างไปจากทักษิณพาราไดม์
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ มีหลักสำคัญสามประการคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ซึ่งหากมองจากมุมของชุมชนคนรากหญ้า อยากตีความว่า
ก) ความพอประมาณ คือ "มาตรฐานชีวิต" ของผู้คน ไม่ใช่เพียงรายได้ขั้นต่ำกว่าขีดความยากจน แต่เป็นอะไรที่ทำให้คน "อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีกินตลอดชีวิต" มีสิ่งตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐาน พึ่งตนเองได้ พึ่งพาอาศัยกันได้
ข) ความมีเหตุมีผล คือการพัฒนาแบบนี้ทำให้เราอยู่ได้ คนอื่นอยู่ได้ ลูกหลานในอนาคตก็อยู่ได้โดยไม่ขาดแคลนไม่ใช่พ่อแม่ใช้วันนี้จนหมด แม้กระทั่งรายได้ในอนาคตและทรัพยากรในอนาคต ไม่เหลืออะไรไว้ให้ลูกหลาน เหลือไว้แต่หนี้
การพัฒนาแบบนี้ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยี ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพื่อขายในตลาด หรือการส่งออก แต่ทำอย่างมีเหตุมีผล คือทำเพื่อการบริโภคในท้องถิ่นอย่างพอเพียง และผลิตเพื่อขายในตลาดอย่างสมเหตุสมผล คือแข่งขันได้จึงเอาออกไปไม่ลงทุนโดยเสี่ยงมากเกินไป หากล้มเหลวขาดทุนจะเกิดผลเสียหายกับตนเอง ชุมชนและท้องถิ่นได้
ค) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว คือการสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง เป็นระบบที่เกิดจากการเรียนรู้ จากข้อมูลท้องถิ่น ข้อมูลภายนอก มีแผนแม่บทชุมชน แผนยุทธศาสตร์และแผนการทำงานที่สร้างระบบ และเชื่อมระบบเล็กๆ ต่างๆ เข้าด้วยกัน ระบบการผลิต ระบบการบริโภค ระบบการออม ระบบสวัสดิการ ระบบสุขภาพ ระบบสิ่งแวดล้อม ระบบวิสาหกิจชุมชน
ระบบดังกล่าวเป็นหลักประกันให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตนเองไม่ "ขึ้นต่อ" หน่วยงานราชการนักการเมือง พ่อค้า นักวิชาการ เอ็นจีโอ พวกเขาเป็นตัวของตัวเอง อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อย่างภาคีพันธมิตร (partnership) ไม่ใช่อย่างผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ถูกอุปถัมภ์เอื้ออาทร
ระบบดีคือภูมิคุ้มกันที่ดีของชุมชน เกิดชุมชนเข้มแข็ง เป็นระบบเล็ก ทั่วแผ่นดินที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบใหญ่ เป็นองคาพยพเหมือนร่างกายของคน ซึ่งสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม
นี่เป็นการมองมาจากชุมชน แต่เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องชุมชนหรือคนรากหญ้า คนยากจนเท่านั้น แต่เป็นปรัชญาการพัฒนาประเทศ ปรัชญาที่ต้องใช้กับทุกภาคส่วนทั้งอุตสาหกรรม ทั้งภาคบริการ การบริหารจัดการประเทศโดยรวม ซึ่งต้องคงได้รูปแบบที่เหมาะสมที่แตกต่างไปจากรูปแบบที่กำลังเกิดขึ้นในชุมชนหลายแห่งที่ได้กล่าวถึงก่อนนี้
กระบวนทัศน์พัฒนาใหม่นี้จะต้องมีเศร ษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ในเวลาเดียวกันก็ยังใช้ทุนนิยมต่อไปได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ ไม่ใช่วิธีคิดแบบปฏิบัตินิยม-เสรีนิยมสุดขั้วแต่เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ต้องใหญ่กว่าทุนนิยม เป็นวิธีคิดที่กำหนดวิธีปฏิบัติและวิธีให้คุณค่า รวมทั้งหารูปแบบที่เหมาะสม ให้ทุนนิยมและสังคมโดยรวม
เศรษฐกิจพอเพียงกับทุนนิยมอาจจะฟังดูขัดแย้งกัน เป็นความจริงที่ประหลาด (paradox) แต่ก็เป็นไปได้ที่เราจะพัฒนา "เศรษฐกิจตลาดแบบพอเพียง" (Sufficient Market Economy) เช่นเดียวกับที่จีนใช้ "เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม" (Socialist Market Economy) ซึ่งเป็นความจริงที่ประหลาดมากกว่าอีก
จีนยังมีอุดมการณ์และระบอบสังคมนิยม แต่ปรับกลไกและการดำเนินงานที่ยืดหยุ่นให้เป็น "ทุนนิยม" เพื่อให้เกิด "ประสิทธิภาพ" และให้สามารถอยู่ในโลกที่เป็นโลกาภิวัตน์ที่เชื่อมโยงกันหมดและแข่งขันกันสูงนี้ได้
แต่จีนก็ยังหนักแน่นในอุดมการณ์สังคมนิยม ซึ่งเป็นตัวกำกับทุนนิยม ยังมีพรรค ยังมีสภาประชาชน ยังมีกลไกของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์อยู่เต็มรูปแบบ
สังคมไทยต้องการอุด มการณ์และระบอบใหม่ ซึ่งความจริงก็มีรากฐานเดิมเป็นทุนอยู่แล้วไม่น้อย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 8 จนถึงฉบับที่ 10 ที่กำลังจะออกมาเป็น "นวัตกรรม" ระดับโลก ซึ่งเน้นการพัฒนาคน คุณภาพชีวิต ความสุข โดยไม่ได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่แผนเหล่านี้ไม่มีความหมายในสายตาของระบอบทักษิณ
ถึงเวลาต้องมารวม กันคิดว่า ในทุกภาคส่วนจะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นได้ต้องตั้งคำถามกันใหม่ และทำความเข้าใจใหม่ว่า "เศรษฐ" ไม่ได้ว่าเงินทองเท่านั้น แต่หมายถึงความเจริญ ซึ่งจะมาจากความพอเพียงทางจิตใจ ทางปัญญา ทางสิ่งแวดล้อม ทางสังคม
เลิกตั้งคำถามว่า "ทำอย่างไรจะรวย" ต้องตั้งคำถามว่า "ทำอย่างไรจะมีความสุข" และเลิกคิดว่า คนที่ตั้งคำถามเรื่องความสุขเป็นคนเพ้อฝัน เพราะคนเพ้อฝันจริงคือคนที่ตั้งคำถามเรื่องจะรวยต่างหาก
ถ้าไม่อยากให้เกิดระบอบทักษิณขึ้นมาอีก เราต้องสร้างระบอบใหม่ ระบอบที่เกิดจากกระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ ซึ่งอาจจะเรียกเศรษฐกิจตลาดแบบพอเพียง (Sufficient Market Economy) ที่ทำให้เกิดการพัฒนายั่งยืน ซึ่งแปลว่าพัฒนาแล้วดีขึ้น และผู้คนอยู่เย็นสุขจริง
ที่มา: มติชนออนไลน์
21 มีนาคม 2549