Tuesday, March 14, 2006
สรรพากรสับสน.. ขายหุ้นชินคอร์ปไม่เสียภาษี ?
โดย เมธี ศรีอนุสรณ์
ตีพิมพ์ในวารสาร "กฎหมายใหม่" ฉบับที่ 69 มีนาคม 2549
การขายหุ้นชินคอร์ปของครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ให้แก่กลุ่มเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 จำนวน 1,487 ล้านหุ้น หรือ 49.595% ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 73,300 ล้านบาท โดยไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว !
ยังเป็นที่กังขาของนักวิชาการโดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนกฎหมายภาษีอากรในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก ?
เพราะเป็นปัญหาด้านการตีความกฎหมายที่จะเป็นบรรทัดฐานต่อไป และจะกลายเป็นแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งมีผลกระทบต่อการเก็บรายได้ของชาติอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ
ดังจะเห็นได้จากการเสนอความเห็นด้วยความห่วงใยของ ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอาจารย์ผู้สอนกฎหมายภาษีอากรให้แก่นิสิตจุฬาฯ ที่ได้แสดงไว้ในบทความเรื่อง “ความเห็นต่างกรณีภาระภาษี “ชินคอร์ป” ซึ่งได้โต้แย้งคำชี้แจงของอธิบดีกรมสรรพากร โดยกลัวว่าจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชน ที่เราจะได้กล่าวถึงในรายงานนี้ หรือการเสนอความเห็นของอาจารย์ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม อาจารย์พิเศษที่สอนกฎหมายภาษีอากรให้แก่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์ โดยสอนคู่กับท่านชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษีอากร ในบทความเรื่อง “การขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีจริงหรือ ?” ซึ่งเราได้นำมาลงในคอลัมน์ “มองคดีพิจารณากฎหมาย” ในวารสารข่าวกฎหมายใหม่ฉบับนี้
สิ่งหนึ่งที่จะพบเห็นเมื่อสาวลึกลงไปถึงการวินิจฉัยของกรมสรรพากรต่อขั้นตอนของการโอนหุ้นของคนในครอบครัวท่านนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ดำเนินต่อเนื่องมาจนมาสู่การขายหุ้นทีเดียวทั้งหมดล็อตครั้งนี้คือ “ความสับสน” ในการตีความแต่ละครั้ง แต่ที่ไม่สับสนคือ คำตอบสุดท้ายทุกขั้นตอนจะเป็นว่า “ไม่ต้องเสียภาษี” ?
เพื่อเป็นกรณีศึกษาจะได้ยกการโอนหุ้นบางครั้งที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับความเห็นของกรมสรรพากรในการตีความกฎหมายก่อนมาถึงครั้งสุดท้ายที่โอนขายหุ้นทั้งหมดเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 มีข้อเท็จจริง ดังนี้
กรณีที่ 1 การโอนหุ้นชินคอร์ปของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้แก่นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่บุญธรรมของคุณหญิงพจมานเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 4.5 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 164 บาท มูลค่ารวม 738 ล้านบาท (ราคาพาร์หรือราคาที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ต่อมาได้แตกพาร์เป็นหุ้นละ 1 บาท จึงเป็นจำนวนหุ้น 45 ล้านหุ้นในปัจจุบัน) ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่าผู้รับโอนไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะเป็นการโอนให้ตามธรรมเนียมประเพณีและเป็นการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา
กรณีที่ 2 การขายหุ้นชินคอร์ปของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้แก่นายพานทองแท้ ชินวัตร 73.395 ล้านหุ้น (24.99% ของทุนจดทะเบียน) นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ 26.825 ล้านหุ้น และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 โดยขายให้ในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาดขณะนั้นหุ้นละ 150 บาท ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่าผู้ซื้อหุ้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะได้รับหุ้นมา (แม้ราคาต่ำกว่าราคาตลาดขณะนั้น) ยังไม่ถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นจนกว่าจะได้ขายไปจึงจะถือว่ามีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี
กรณีที่ 3 การขายหุ้นชินคอร์ปของบริษัท แอมเพิล ริช (Ample Rich) ให้แก่นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร คนละ 164.6 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 (ก่อนที่จะเทขายให้กลุ่มเทมาเส็ก 3 วัน) โดยขายในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ในขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 47.25 บาท ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่า ผู้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดเหมือนการซื้อสินค้าราคาถูกไม่ถือว่ามีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้
กรณีที่ 4 การขายหุ้นชินคอร์ปทั้งหมดของนายพานทองแท้, น.ส.พิณทองทา, น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ให้แก่กลุ่มเทมาเส็กในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่าไม่ต้องเสียภาษีทั้งหมดเพราะเป็นการขายโดยบุคคลธรรมดาในตลาดหลักทรัพย์ (รวมถึงหุ้นที่ได้มาจาการซื้อตามข้อเท็จจริง กรณีที่ 2 ที่เคยบอกว่าจะถือมีเงินได้เมื่อขาย นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากรให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ถือว่า Capital gain (ส่วนต่างราคาหุ้น) ไม่มีเพราะเป็นการซื้อราคาถูกและมันขาดตอน มันไม่ได้ขายจึงไม่มีการรับรู้รายได้ (มติชนรายวัน 27 ม.ค. 49))
ประเด็นโต้แย้ง
1ตามกรณีที่ 1 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏพบครั้งแรกเป็นการที่นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ซื้อหุ้นชินคอร์ป จำนวน 4.5 ล้านหุ้น เป็นเงิน 738 ล้านบาท ดังกล่าวจากนางดวงตา วงศ์ภักดี (คนรับใช้ของคุณหญิงพจมาน) ผ่านโบรกเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์ แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขณะนั้นจับได้ว่าเป็นนิติกรรมอำพราง (ขณะนั้นมีการสอบสวนเรื่องซุกหุ้น) โดยคุณหญิงพจมานเป็นผู้สั่งให้ขายหุ้นนั้นในชื่อของนางดวงตา แก่นายบรรณพจน์ เช็คที่จ่ายให้แก่นางดวงตาผ่านโบรกเกอร์เป็นค่าซื้อหุ้นเป็นเช็คของคุณหญิงพจมาน ซึ่งย้อนกลับนำมาเข้าบัญชีของคุณหญิงพจมานในที่สุด คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและสรุปสำนวนว่า เป็นการให้โดยเสน่หา (อำพรางว่าซื้อขายเพื่อเลี่ยงภาษี) ซึ่งผู้รับโอนหุ้น (นายบรรณพจน์) ต้องนำราคาหุ้นที่รับโอน (738 ล้านบาท) มาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
แต่เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้กรมสรรพากรดำเนินการ กรมสรรพากรอ้างว่า เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ปรากฎข้อเท็จจริงว่าเป็นการโอนหุ้นให้ระหว่างบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์ในครอบครัวและเป็นการให้ในโอกาสที่แต่งงาน มีครอบครัวและมีบุตร ซึ่งมูลค่าที่โอนให้ก็เป็นไปตามฐานะของผู้ให้ สำหรับผู้รับนั้นถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 2มาตรา 42 (10) เนื่องจากได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีและก็เข้าลักษณะเป็นการรับอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาด้วย
การที่กรมสรรพากรตีความโดยยอมรับว่าที่คุณหญิงพจมานโอนหุ้นให้แก่นายบรรณพจน์พี่บุญธรรมในมูลค่า 738 ล้านบาทนี้ เป็นการให้ตามประเพณีในโอกาสที่คุณบรรณพจน์แต่งงานมีครอบครัวและมีบุตร และถือเป็นการอุปการะแก่พี่บุญธรรมตามหน้าที่ธรรมจรรยาของน้องสาวที่แสนดีนี้ เป็นการขัดกับแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2517 ที่พิพากษาว่า โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรที่มีอาชีพและครอบครัวเป็นหลักฐานแล้วไม่อยู่ในสภาพที่โจทก์ผู้เป็นมารดามีหน้าที่ธรรมจรรยาที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลย อีกทั้งที่ดินที่ยกให้ก็เป็นจำนวนมากราคาสูง จึงมิใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ดังนั้นจำเลยต้องเสียภาษีเงินได้จากการที่ได้ที่ดินที่รับมา และในคำพิพากษาฎีกาที่ 1262/2520 วินิจฉัยว่า เงินได้ที่ผู้ให้ให้คราวละมาก ๆ เพื่อหวังผลประโยชน์ ไม่ถือเป็นการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
ดังนั้นกรณีนี้น่าจะอนุมานได้ว่าการที่คุณหญิงพจมานยกหุ้นให้แก่พี่บุญธรรมเป็นการให้โดยเสน่หา เพื่อให้พี่ชายดูแลหุ้นแทน เพราะไม่ปรากฏว่าพี่บุญธรรมมีฐานะยากจน และหุ้นที่โอนให้ก็มีมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ไม่ใช่การให้ตามธรรมเนียมปกติที่จะให้กันมากขนาดนี้จึงไม่น่าจะเข้าข้อยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (10) ดังที่กรมสรรพากรกล่าวอ้างตีความ การไม่ยอมประเมินภาษีดังกล่าวอาจเข้าข่ายเลือกปฏิบัติ ละเว้นหน้าที่ซึ่งผิดกฎหมายอาญาได้
ทั้งนี้เพราะแนวทางปกติของกรมสรรพากร ถ้าได้รับโอนหุ้นมาโดยเสน่หาต้องถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ดังคำชี้แจงของอธิบดีกรมสรรพากรต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเรื่องการรับโอนหุ้นโดยเสน่หา ตามหนังสือ “ลับ” ที่ กค. 0811/632 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 อธิบดีกรมสรรพากรชี้แจงว่า “กรมสรรพากรขอเรียนว่า.... 5.กรณีบุคคลธรรมดาได้รับโอนหุ้นมาโดยเสน่หา ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งการคำนวณเงินได้พึงประเมินให้ถือตามราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับโอนหุ้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
อย่างไรก็ดี บุคคลธรรมดาที่ได้รับโอนหุ้นมาโดยเสน่หา ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินนั้น หากเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ตามกรณีที่ 2 กรณีที่ 3 และกรณีที่ 4 เป็นประเด็นว่า “ได้รับหุ้นมาในราคาต่ำกว่าตลาดต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่ ?” กรมสรรพากรมีแนวทางปฏิบัติแตกต่างเป็น 2 ทาง
แนวแรก ตีความว่า ได้รับหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาด ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตาม 3มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ตามตัวอย่างในกรณีของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นักบัญชี บริษัททางด่วนกรุงเทพ ซึ่งซื้อหุ้นจากบิดา จำนวน 5,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาด 21 บาท มีส่วนต่างประมาณ 55,000 บาท ปรากกว่าถูกกรมสรรพากรประเมินภาษี (แต่ต่อมาเมื่อมีการเปิดเผยว่า กรมสรรพากรปฏิบัติแตกต่างกับกรณีของครอบครัวชินวัตร เขาจึงได้รับคืนเงินโดยบอกว่าคิดผิดไป)
การตีความว่าผู้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าตลาดถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้น น่าจะเป็นการตีความที่ใช้เป็นหลักในกรณีทั่วไป แต่เดิมของกรมสรรพากร ดังตัวอย่างเมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยมีหนังสือไปสอบถามกรมสรรพากรถึงกรณีดังกล่าว และนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้นทำหนังสือ “ลับ” ที่ ก.ค. 0811/632 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ตอบข้อซักถามของ ป.ป.ช. ในกรณีดังกล่าวดังนี้
“กรมสรรพากรเรียนว่า
1. กรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้นของบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ขายจะต้องนำกำไรจากการขายหุ้นไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมิน เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่หากราคาขายเท่ากับหรือต่ำกว่าราคาซื้อถือว่าไม่มีเงินได้พึงประเมิน และไม่สามารถนำผลขาดทุนจากการขายในแต่ละคราวไปหักจากส่วนที่เป็นกำไรจากการขายหุ้นชนิดและคราวอื่นได้
กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นของบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ซื้อหุ้นไม่มีเงินได้พึงประเมิน จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เว้นแต่เป็นการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาหรือค่าอันพึงมีกับราคาซื้อ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อื่นที่ได้รับ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ซื้อหุ้นต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย (กรณีซื้อขายหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ ภาระภาษีของผู้ขายและผู้ซื้อจะเป็นเช่นเดียวกับ ข้อ 1)”
แนวทางที่สอง ตีความว่าไม่ต้องเสียภาษีขณะนั้น ทั้งนี้ตามแนวปฏิบัติที่กรมสรรพากรใช้กับกรณีการโอนหุ้นของคนในตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ โดยกรมสรรพากรอธิบายเหตุผลในการไม่เก็บภาษีสับสน 3 กรณีไม่เหมือนกัน กล่าวคือ
1. ตามกรณีที่ 2 นายวิชัย จึงรักเกียรติ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ทำหนังสือลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2545 (ที่ กค. 0811/6312) ระบุว่า การซื้อขายหุ้นดังกล่าวถือไม่ได้ว่า ผู้ซื้อได้รับประโยชน์จากการโอนหุ้นซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม 4มาตรา 40 (4) (ช) ตามประมวลรัษฎากร เนื่องจากยังมิได้ก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้ซื้อแต่ประการใดจนว่าผู้ซื้อจะได้ขายหุ้นดังกล่าวไปโดยได้รับผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
คือ ตีความว่าหุ้นชินคอร์ปที่นายพานทองแท้, น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายบรรณพจน์ ซื้อต่ำกว่าราคาตลาดจาก พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตรนั้น ถือว่ายังไม่ได้รับประโยชน์เกิดขึ้นตามมาตรา 40 (4) (ช) แม้จะรับหุ้นไปแล้ว เพราะยังไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้ซื้อ ต่อเมื่อเอาหุ้นนั้นไปขายจึงจะถือว่ามีรายได้เกิดขึ้นแล้ว หากราคาขายเกินกว่าราคาทุนที่ซื้อมาจึงจะต้องเสียภาษี
ซึ่งการตีความดังกล่าวแตกต่างจากกรณีของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เมื่อนายเรืองไกรพบว่า กรณีของครอบครัวชินวัตรไม่เสียภาษีทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงเหมือนกัน จึงได้ร้องเรียนต่อสื่อมวลชน จนมีการนำไปพูดในวุฒิสภาและที่สุดนายวราเทพ รัตนากร รมช.กระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า กรมสรรพากรเข้าใจผิดและขอคืนภาษีให้
โดยมีการให้เหตุผลต่อมาโดย นายพิชเยนทร์ กองทอง นิติกร 8 กรมสรรพากร ทำบันทึกลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 แก่นายเรืองไกรว่า “สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นผลประโยชน์จากการซื้อหุ้น ยังคงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี เพราะเงินได้ในส่วนนี้ยังมิได้มีการก่อให้เกิดรายได้ต่อท่าน (นายเรืองไกร) ท่านจะเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้ก็ต่อเมื่อท่านได้ขายหุ้นดังกล่าวไปโดยได้รับผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินที่ลงทุน ทั้งนี้ตามมาตรา 40 (4) (ช)
และในครั้งต่อมา นายสุเทพ พงษ์พิทักษ์ สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 ทำหนังสือลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2548 (ที่ กค. 0709.03 (ภค.12123) ถึงนายเรืองไกร เรื่องแจ้งคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2546 โดยระบุว่า “ในกรณีดังกล่าว ยังไม่อาจถือได้ว่าท่านมีเงินได้พึงประเมินเพราะเป็นเพียงขั้นลงทุน หาใช่ผลประโยชน์ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินลงทุน ตามมาตรา 40 (4) (ช) ท่าน (นายเรืองไกร) จึงยังคงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับตัวเลขผลประโยชน์จากการซื้อหุ้นจนกว่าท่านจะได้ขายหุ้นดังกล่าวไปโดยได้รับประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินลงทุน”
2. ตามกรณีที่ 3 เมื่อใกล้จะมีการนำหุ้นของครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ไปขายให้กับกลุ่มเทมาเส็ก เหตุผลในการไม่เก็บภาษีจากผู้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาดแตกต่างออกไป ตามกรณีที่ 3 เมื่อนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ซื้อหุ้นชินคอร์ปจากบริษัทแอมเพิล ริช ในราคาต่ำกว่าตลาดเมื่อ 20 มกราคม 2549 ก่อนนำไปขายอีก 3 วันต่อมา
นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร แถลงข่าวเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ว่า “บริษัทชินคอร์ป ได้หารือกรมสรรพากรมา ซึ่งกรมฯ ได้มีหนังสือตามไปเมื่อ 21 กันยายน 2548 ว่า กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาด เป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ส่วนต่างจากราคาซื้อกับราคาตลาด จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร... และกรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้น หากขายออกไปในราคาที่สูงกว่าที่ซื้อมา (เงินได้เกินกว่าที่ลงทุน) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร อย่างไรก็ดีหากบุคคลธรรมดาขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดา” (มติชนรายวัน 3 ก.พ. 49)
ซึ่ง น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “บุคคลธรรมดาซื้นหุ้นราคาต่ำกว่าตลาดมีกำไรไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน เพราะการวินิจฉัยรายได้พึงประเมินเสียภาษีต้องดูประมวลรัษฎากรมาตรา 39 และมาตรา 40 ควบคู่กันไป โดยในมาตรา 40 ระบุว่า เงินได้พึงประเมินต้องเสียภาษี ซึ่งให้รวมถึงทรัพย์สินและประโยชน์อื่นที่จะได้รับ ซึ่งอาจคำนวณเป็นเงินได้ ซึ่งการซื้อหุ้นราคาถูกถือเป็นประโยชน์อื่นที่ได้รับ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรา 39 จากนั้นก็ต้องไปดูมาตรา 40 ประกอบ ซึ่งในมาตรา 40 นี้มี (4) (ช) ระบุผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น ซึ่งเป็นการพูดถึงการขาย ไม่ได้พูดถึงการซื้อหุ้นราคาถูก ทำให้กำไรจาการซื้อหุ้นราคาถูกไม่ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 39” (โพสต์ทูเดย์ 3 ก.พ. 49)
สรุปว่า กรมสรรพากรอธิบายใหม่ว่า การซื้อหุ้นราคาถูกกว่าราคาตลาดไม่ต้องเสียภาษีเลย ?
การกลับลำตีความใหม่ของกรมสรรพากรนี้ นับจากหลักฐานที่ปรากฏ คือ เมื่อกรมสรรพากรทำหนังสือตอบบริษัทชินคอร์ป เมื่อเดือนกันยายน 2548 ต่อมาปลายปี 2548 ก่อนที่จะมีการขายหุ้นล็อตใหญ่ 23 มกราคม 2549 คุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้เสียภาษีที่เคยร้องเรียนสื่อว่ากรมสรรพากรใช้สองมาตรฐานในการเก็บภาษีก็ได้รับหนังสืออีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2548 (ที่ กค. 0709.31/18325) ลงนายโดย นางจิตรมณี สุวรรณพูล สรรพากร ภาค 1 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ชี้แจงเรื่องการซื้อหุ้นราคาถูกของเขาโดยเป็นการพลิกคำวินิจฉัยเดิมทั้งหมดที่เคยแจ้งเหตุผลแก่เขาว่า การซื้อขายทรัพย์สิน (หุ้น) ราคาต่ำกว่าราคาตลาด “ส่วนต่าง” ดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ของประมวลรัษฎากรตั้งแต่ต้น โดยหนังสือดังกล่าวว่า “การซื้อทรัพย์สินในลักษณะดังกล่าวจะเป็นเรื่องของทุนซึ่งกระทบต่อจำนวนเงินที่เหลืออยู่และที่ได้จ่ายไป ดังนั้นไม่ว่าการซื้อทรัพย์สินผู้ซื้อจะซื้อตามราคาตลาดหรือซื้อในราคาถูกกว่าตลาด ผู้ซื้อต้องเสียเงินสำหรับการซื้อตามจำนวนมากน้อยตามราคาที่ตกลงกัน... การที่ซื้อทรัพย์สินราคาถูกจะทำให้เหลือเงินมากกว่าซื้อทรัพย์สินในราคาปกติ เงินที่เหลือดังกล่าวไม่ว่าจะเหลือมากน้อยเท่าใดก็เป็นเงินของผู้ซื้อเอง เป็นเรื่องของทุน มิใช่เงินที่ผู้ซื้อได้รับหรือเข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับจากผู้อื่นแต่อย่างใด ด้วยเหตุผลข้างต้น การซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับอันเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 เช่นเดียวกับส่วนลดปกติและส่วนลดพิเศษที่จะลดให้ทันทีเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าตามเกณฑ์ที่กำหนด”
...ดังนั้น กรณีที่ท่าน (นายเรืองไกร) ซึ่งเป็นผู้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาตลาดไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ อันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39”
3. ตามกรณีที่ 4 ดังนั้นเมื่อมีการขายหุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ทั้งหมดไปตามข้อเท็จจริงกรณีที่ 4 โดยขายในตลาดหลักทรัพย์ กรมสรรพากรจึงตีความว่าไม่ต้องเสียภาษีทั้งหมด
โดยนายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร แถลงข่าวเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2549 ว่า เป็นการขายหุ้นโดบบุคคลธรรมดาในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีตาม 5มาตรา 42 (17) ประกอบ 6กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (23) ดังนั้นจึงได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงการซื้อหุ้นมาในราคาถูกที่นำมารวมขายในล็อตนี้ (ข้อเท็จจริงตามกรณีที่ 2) ซึ่งรองอธิบดีกรมสรรพากร นายวิชัย จึงรักเกียรติ เคยชี้แจงว่า จะถือว่ามีรายได้ซึ่งต้องเสียภาษีเมื่อมีการขายเกิดขึ้น อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวว่า “อย่าไปย้อนถึงของที่มันจบไปแล้ว ผมบอกแล้วว่ากรรมแรก (การซื้อหุ้นมาในราคาถูก) ไม่ถือว่าเกิด capital gain (ส่วนต่างราคาหุ้น) แต่กรรมสองเกิดแล้ว แต่เป็นการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์”
ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้ว capital gain กรรมแรกมันหายไปไหน อธิบดีกรมสรรพากรตอบว่า ส่วนต่างราคาหุ้นมันไม่มีเพราะเป็นการซื้อของราคาถูกและมันขาดตอน มันไม่ได้ขาย จึงไม่มีการรับรู้รายได้” (มติชนรายวัน 27 ม.ค. 49)
สรุปว่า ไม่มีกรณีที่ต้องเสียภาษีเลย สำหรับในประเด็นการขายหุ้นที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการขายเพราะเป็นการขายหลักทรัพย์ (หุ้น) ในตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่มีใครติดใจ แต่ภาษีเงินได้ที่เกิดจาการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาดและมาขายในครั้งนี้ถือว่าไม่ต้องเสียภาษีด้วยมีคนกังขาจำนวนมาก ?
ข้อโต้แย้ง เมื่อพิจารณาการวินิจฉัยตีความของผู้บริหารกรมสรรพากรขณะนี้ที่มีความเห็นว่า การได้หุ้นมาและขายหุ้นออกไปตามข้อเท็จจริงกรณีที่ 2, 3 และ 4 ไม่ต้องเสียภาษี จะอยู่ใน 3 ประเด็นที่กรมสรรพากรกล่าวอ้างดังนี้
ประเด็นที่กรมสรรพากรกล่าวอ้างดังนี้
ประเด็นที่ 1 เป็นการซื้อของราคาถูก ส่วนต่างราคาหุ้นที่ซื้อมาในราคาต่ำนี้ไม่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ? (จากข้อเท็จจริงการซื้อหุ้นตามกรณีที่ 3)
ประเด็นที่ 2 ถึงซื้อหุ้นได้มาในราคาต่ำ แต่ก็ไม่ถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นขณะนั้น จนกว่าจะได้ขายออกไปจึงจะเกิดเงินได้ที่ต้องเสียภาษี (จากข้อเท็จจริงการซื้อหุ้นตามกรณีที่ 2)
ประเด็นที่ 3 หุ้นที่ซื้อได้มาในราคาต่ำ เมื่อนำมาขายในตลาดหลักทรัพย์ถือว่าไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีทั้งหมด (จากข้อเท็จจริงกรณีที่ 4)
ใน 3 ประเด็นของกรมสรรพากรนี้ มีความเห็นของนักวิชาการกฎหมายภาษีอากร ที่โต้แย้งข้อสรุปของกรมสรรพากรอย่างชัดแจ้งในทุกประเด็น ได้แก่ ความเห็นของ ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้แสดงความเห็นไว้ในการอภิปรายเรื่อง “บทวิเคราะห์เชิงวิชาการต่อภาวะวิกฤตผู้นำ : ปัญหาและทางออก” เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 โดยสรุปความเห็นที่โต้แย้งดังนี้
ประเด็นที่ 1 ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย มีความเห็นว่า โดยปกติการซื้อสินค้าราคาถูกในทางการค้าตามกลไกตลาดปกติที่บางครั้งมีการลดราคาแก่ลูกค้าทั่วไป ย่อมไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของผู้ซื้อหรือผู้บริโภค แต่ถ้าการขายทรัพย์สินนั้นในราคาถูกลงอย่างมากจนเห็นได้ชัด ย่อมมีนัยของการให้โดยเสน่หาแฝงอยู่ด้วย ซึ่งต้องถือว่ามีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้น เช่น หุ้นราคาตลาด 47 บาท แต่ขายให้ในราคา 1 บาท ย่อมมีการให้โดยเสน่หาแฝงอยู่ กล่าวคือ นอกจากมีธุรกรรมซื้อขายแล้วยังมีธุรกรรมการให้โดยเสน่หา ซึ่งถือว่ามีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้น และต้องเสียภาษีเพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 39 บัญญัติว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้นี้ให้รวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินด้วย จะเห็นได้ว่า “เงินได้พึงประเมิน” เป็นไปตามหลักวิชาการที่หมายถึง ส่วนที่เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ของบุคคล อะไรก็ตามที่ทำให้เรามั่งคั่งขึ้น ส่วนที่มั่งคั่งขึ้นเป็นเงินได้พึงประเมิน
ดังนั้น การซื้อหุ้นราคาถูก ย่อมเกิดส่วนต่างของราคาที่ได้รับเมื่อเทียบกับราคาตลาด ส่วนต่างที่ได้รับนี้คือมูลค่าที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็น “เงินได้พึงประเมิน” ผศ.ธิติพันธุ์ ยกตัวอย่างให้เห็นจากในตัวกฎหมาย เช่น ในมาตรา 42 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ยกเว้นเงินได้พึงประเมินไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีใน “(6)ฯ ส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล ฯลฯ” และ “(18)ฯ ส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย” แสดงให้เห็นว่า ปกติแล้วส่วนลดหรือส่วนต่างจากการซื้อทรัพย์สินเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น ดังนั้นเรื่องใดที่จะยกเว้นประมวลรัษฎากรจึงต้องนำมาบัญญัติยกเว้นไว้ในมาตรา 42 มิฉะนั้นต้องเสียภาษี
ผศ.ธิติพันธุ์ กล่าวว่า ความเห็นของท่านเหมือนดังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 28/2538 ที่ลงนามโดยนายอรัญ ธรรมโน ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่วินิจฉัยว่า “... กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำหุ้นไปแจกให้พนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกันหรือนำหุ้นไปขายให้กับบุคคลดังกล่าวตามข้อตกลงพิเศษในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด กรณีนี้ย่อมถือได้ว่า บุคคลดังกล่าวได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษีที่ได้รับกรรมสิทธิในหุ้น...” เขากล่าวว่า คำวินิจฉัยนี้ยืนยันว่า ส่วนต่างจากการซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดเป็นเงินได้พึงประเมินที่พนักงานต้องนำไปเสียภาษีในปีภาษีนั้น (ไม่ต้องรอให้ไปขายก่อน)
ในประเด็นที่ 2 ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กล่าวว่า โดยช้อเท็จจริงแล้วเมื่อผู้ซื้อหุ้นได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นที่ซื้อมาในราคาต่ำ ส่วนต่างของราคาระหว่างราคาตลาดในวันนั้นและราคาที่ซื้อมาเป็นมูลค่าที่เกิดขึ้นในวันนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตามที่บัญญัติไว้ในคำนิยาม “เงินได้พึงประเมิน” นั่นเอง ดังนั้นต้องถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว จะเห็นได้ว่าคำวินิจฉัยที่ 28/2538 จึงให้ผู้ได้รับหุ้นนั้นต้องไปเสียภาษีในปีภาษีนั้น โดยไม่ต้องรอให้ไปขายก่อน
ในประเด็นที่ 3 ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัน โต้แย้งว่า ผู้บริหารกรมสรรพากรตีความ รวมธุรกรรมสองธุรกรรมกลืนเป็นอันเดียวกันโดยไปสรุปว่า ธุรกรรมทั้งสองธุรกรรมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามกฎกระทรวงที่ 126 ข้อ 2 (23) เพราะเป็นการที่บุคคลขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ไม่ถูกต้อง
ผศ.ธิติพันธุ์ กล่าวว่า ถ้าตีความยอมรับตามความเห็นของกรมสรรพากรตามประเด็นที่ 2 ว่า ในวันที่ซื้อหุ้นมาในราคาต่ำกว่าตลาดยังไม่เกิดเงินได้พึงประเมิน ต่อเมื่อนำหุ้นไปขายแล้วจึงจะถือว่าเกิดรายได้และเกิดความรับผิดตามธุรกรรมนี้ที่จะต้องเสียภาษีนั้น เขากล่าวว่า ในวันที่มีการโอนหุ้นทั้งหมดในวันที่ 23 มกราคม 2549 (ตามกรณีที่ 4) มีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกันอยู่สองธุรกรรมคือ (1) ธุรกรรมซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าตลาด กับ (2) ธุรกรรมขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ โดยธุรกรรมทั้งสองเป็นธุรกรรมที่แยกต่างหากจากกัน และความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้แต่ละธุรกรรมก็แยกต่างหากจากกันด้วยเช่นกัน ดังนี้
ก. ความรับผิดในการเสียภาษีของธุรกรรมซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาดตาม (1) จะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้ซื้อหุ้นได้ขายหุ้นนั้นออกไป เช่น ในวันที่ 20 มกราคม 2549 ซื้อหุ้นมาราคา 1 บาท ขณะที่ราคาตลาด 47 บาท และเมื่อถึงวันที่ 23 มกราคม 2549 ได้ขายหุ้นนั้นไปราคา 49 บาท ธุรกรรม (1) นี้ (ตามการตีความของสรรพากร) เกิดความรับผิดที่จะต้องเสียภาษี โดยจำนวนที่จะต้องเสียภาษีคือส่วนต่าง 47-1 เท่ากับ 46 บาท ที่จะต้องไปคำนวณภาษี ดังนั้นภาษีที่จะต้องเสียในวันที่เทขายหุ้นทั้งหมดคือส่วนนี้
ข. ส่วนความรับผิดในการเสียภาษีจากธุรกรรมขายหลักทรัพย์ออกไป ย่อมเกิดขึ้นเมื่อได้ขายหุ้นที่ซื้อมานั้นออกไป ซึ่งตามธุรกรรม (2) นี้ ส่วนที่จะต้องนำไปเสียภาษี คือ ส่วนต่างหรือประโยชน์ที่ได้จาการโอนหุ้น ได้แก่ 49-47 เท่ากับ 2 (ต้นทุนเท่ากับ 47 บาท ในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น) สำหรับกรณีนี้เนื่องจากเป็นกรณีบุคคลขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งส่วนที่ได้รับยกเว้นคือ เงินได้ที่เกิดขึ้นจำนวน 2 บาท เท่านั้นเอง
สรุปแล้วในวันที่เทขายหุ้นทั้งหมด ผศ. ธิติพันธุ์ กล่าวว่า ยังมีภาระภาษีจากธุรกรรมที่ซื้อหุ้นมาในราคาที่ต่ำกว่าตลาด แม้จะคำนวณตามการตีความแบบผู้บริหารกรมสรรพากรก็ตาม
------------------------------------------------------------------------------
1ดูรายละเอียดได้จาก “นิติกรรมอำพราง ?” ในหนังสือ “ทักษิณกับพวก และความเฉไฉของนักการเมืองไทยจากปัจจุบันยันอดีต” โดยคุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ สำนักพิมพ์ open books
2มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ (10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในวันพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
3มาตรา 39 ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
เงินได้พึงประเมิน หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย
4มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงิน หรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด
(4) เงินได้ที่เป็น
................
(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
5มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
...........................
(17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง
6กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509)
ข้อ 2 ให้กำหนดเงินได้ดังต่อไปนี้ เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร... (หมายถึง เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี-กอง บก.)
(23) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมเงินได้จาการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร
ตีพิมพ์ในวารสาร "กฎหมายใหม่" ฉบับที่ 69 มีนาคม 2549
การขายหุ้นชินคอร์ปของครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ให้แก่กลุ่มเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 จำนวน 1,487 ล้านหุ้น หรือ 49.595% ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 73,300 ล้านบาท โดยไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว !
ยังเป็นที่กังขาของนักวิชาการโดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนกฎหมายภาษีอากรในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก ?
เพราะเป็นปัญหาด้านการตีความกฎหมายที่จะเป็นบรรทัดฐานต่อไป และจะกลายเป็นแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งมีผลกระทบต่อการเก็บรายได้ของชาติอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ
ดังจะเห็นได้จากการเสนอความเห็นด้วยความห่วงใยของ ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอาจารย์ผู้สอนกฎหมายภาษีอากรให้แก่นิสิตจุฬาฯ ที่ได้แสดงไว้ในบทความเรื่อง “ความเห็นต่างกรณีภาระภาษี “ชินคอร์ป” ซึ่งได้โต้แย้งคำชี้แจงของอธิบดีกรมสรรพากร โดยกลัวว่าจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชน ที่เราจะได้กล่าวถึงในรายงานนี้ หรือการเสนอความเห็นของอาจารย์ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม อาจารย์พิเศษที่สอนกฎหมายภาษีอากรให้แก่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์ โดยสอนคู่กับท่านชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษีอากร ในบทความเรื่อง “การขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีจริงหรือ ?” ซึ่งเราได้นำมาลงในคอลัมน์ “มองคดีพิจารณากฎหมาย” ในวารสารข่าวกฎหมายใหม่ฉบับนี้
สิ่งหนึ่งที่จะพบเห็นเมื่อสาวลึกลงไปถึงการวินิจฉัยของกรมสรรพากรต่อขั้นตอนของการโอนหุ้นของคนในครอบครัวท่านนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ดำเนินต่อเนื่องมาจนมาสู่การขายหุ้นทีเดียวทั้งหมดล็อตครั้งนี้คือ “ความสับสน” ในการตีความแต่ละครั้ง แต่ที่ไม่สับสนคือ คำตอบสุดท้ายทุกขั้นตอนจะเป็นว่า “ไม่ต้องเสียภาษี” ?
เพื่อเป็นกรณีศึกษาจะได้ยกการโอนหุ้นบางครั้งที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับความเห็นของกรมสรรพากรในการตีความกฎหมายก่อนมาถึงครั้งสุดท้ายที่โอนขายหุ้นทั้งหมดเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 มีข้อเท็จจริง ดังนี้
กรณีที่ 1 การโอนหุ้นชินคอร์ปของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้แก่นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่บุญธรรมของคุณหญิงพจมานเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 4.5 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 164 บาท มูลค่ารวม 738 ล้านบาท (ราคาพาร์หรือราคาที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ต่อมาได้แตกพาร์เป็นหุ้นละ 1 บาท จึงเป็นจำนวนหุ้น 45 ล้านหุ้นในปัจจุบัน) ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่าผู้รับโอนไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะเป็นการโอนให้ตามธรรมเนียมประเพณีและเป็นการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา
กรณีที่ 2 การขายหุ้นชินคอร์ปของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้แก่นายพานทองแท้ ชินวัตร 73.395 ล้านหุ้น (24.99% ของทุนจดทะเบียน) นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ 26.825 ล้านหุ้น และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 โดยขายให้ในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาดขณะนั้นหุ้นละ 150 บาท ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่าผู้ซื้อหุ้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะได้รับหุ้นมา (แม้ราคาต่ำกว่าราคาตลาดขณะนั้น) ยังไม่ถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นจนกว่าจะได้ขายไปจึงจะถือว่ามีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี
กรณีที่ 3 การขายหุ้นชินคอร์ปของบริษัท แอมเพิล ริช (Ample Rich) ให้แก่นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร คนละ 164.6 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 (ก่อนที่จะเทขายให้กลุ่มเทมาเส็ก 3 วัน) โดยขายในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ในขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 47.25 บาท ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่า ผู้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดเหมือนการซื้อสินค้าราคาถูกไม่ถือว่ามีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้
กรณีที่ 4 การขายหุ้นชินคอร์ปทั้งหมดของนายพานทองแท้, น.ส.พิณทองทา, น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ให้แก่กลุ่มเทมาเส็กในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่าไม่ต้องเสียภาษีทั้งหมดเพราะเป็นการขายโดยบุคคลธรรมดาในตลาดหลักทรัพย์ (รวมถึงหุ้นที่ได้มาจาการซื้อตามข้อเท็จจริง กรณีที่ 2 ที่เคยบอกว่าจะถือมีเงินได้เมื่อขาย นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากรให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ถือว่า Capital gain (ส่วนต่างราคาหุ้น) ไม่มีเพราะเป็นการซื้อราคาถูกและมันขาดตอน มันไม่ได้ขายจึงไม่มีการรับรู้รายได้ (มติชนรายวัน 27 ม.ค. 49))
1ตามกรณีที่ 1 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏพบครั้งแรกเป็นการที่นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ซื้อหุ้นชินคอร์ป จำนวน 4.5 ล้านหุ้น เป็นเงิน 738 ล้านบาท ดังกล่าวจากนางดวงตา วงศ์ภักดี (คนรับใช้ของคุณหญิงพจมาน) ผ่านโบรกเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์ แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขณะนั้นจับได้ว่าเป็นนิติกรรมอำพราง (ขณะนั้นมีการสอบสวนเรื่องซุกหุ้น) โดยคุณหญิงพจมานเป็นผู้สั่งให้ขายหุ้นนั้นในชื่อของนางดวงตา แก่นายบรรณพจน์ เช็คที่จ่ายให้แก่นางดวงตาผ่านโบรกเกอร์เป็นค่าซื้อหุ้นเป็นเช็คของคุณหญิงพจมาน ซึ่งย้อนกลับนำมาเข้าบัญชีของคุณหญิงพจมานในที่สุด คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและสรุปสำนวนว่า เป็นการให้โดยเสน่หา (อำพรางว่าซื้อขายเพื่อเลี่ยงภาษี) ซึ่งผู้รับโอนหุ้น (นายบรรณพจน์) ต้องนำราคาหุ้นที่รับโอน (738 ล้านบาท) มาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
แต่เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้กรมสรรพากรดำเนินการ กรมสรรพากรอ้างว่า เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ปรากฎข้อเท็จจริงว่าเป็นการโอนหุ้นให้ระหว่างบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์ในครอบครัวและเป็นการให้ในโอกาสที่แต่งงาน มีครอบครัวและมีบุตร ซึ่งมูลค่าที่โอนให้ก็เป็นไปตามฐานะของผู้ให้ สำหรับผู้รับนั้นถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 2มาตรา 42 (10) เนื่องจากได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีและก็เข้าลักษณะเป็นการรับอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาด้วย
การที่กรมสรรพากรตีความโดยยอมรับว่าที่คุณหญิงพจมานโอนหุ้นให้แก่นายบรรณพจน์พี่บุญธรรมในมูลค่า 738 ล้านบาทนี้ เป็นการให้ตามประเพณีในโอกาสที่คุณบรรณพจน์แต่งงานมีครอบครัวและมีบุตร และถือเป็นการอุปการะแก่พี่บุญธรรมตามหน้าที่ธรรมจรรยาของน้องสาวที่แสนดีนี้ เป็นการขัดกับแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2517 ที่พิพากษาว่า โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรที่มีอาชีพและครอบครัวเป็นหลักฐานแล้วไม่อยู่ในสภาพที่โจทก์ผู้เป็นมารดามีหน้าที่ธรรมจรรยาที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลย อีกทั้งที่ดินที่ยกให้ก็เป็นจำนวนมากราคาสูง จึงมิใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ดังนั้นจำเลยต้องเสียภาษีเงินได้จากการที่ได้ที่ดินที่รับมา และในคำพิพากษาฎีกาที่ 1262/2520 วินิจฉัยว่า เงินได้ที่ผู้ให้ให้คราวละมาก ๆ เพื่อหวังผลประโยชน์ ไม่ถือเป็นการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
ดังนั้นกรณีนี้น่าจะอนุมานได้ว่าการที่คุณหญิงพจมานยกหุ้นให้แก่พี่บุญธรรมเป็นการให้โดยเสน่หา เพื่อให้พี่ชายดูแลหุ้นแทน เพราะไม่ปรากฏว่าพี่บุญธรรมมีฐานะยากจน และหุ้นที่โอนให้ก็มีมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ไม่ใช่การให้ตามธรรมเนียมปกติที่จะให้กันมากขนาดนี้จึงไม่น่าจะเข้าข้อยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (10) ดังที่กรมสรรพากรกล่าวอ้างตีความ การไม่ยอมประเมินภาษีดังกล่าวอาจเข้าข่ายเลือกปฏิบัติ ละเว้นหน้าที่ซึ่งผิดกฎหมายอาญาได้
ทั้งนี้เพราะแนวทางปกติของกรมสรรพากร ถ้าได้รับโอนหุ้นมาโดยเสน่หาต้องถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ดังคำชี้แจงของอธิบดีกรมสรรพากรต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเรื่องการรับโอนหุ้นโดยเสน่หา ตามหนังสือ “ลับ” ที่ กค. 0811/632 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 อธิบดีกรมสรรพากรชี้แจงว่า “กรมสรรพากรขอเรียนว่า.... 5.กรณีบุคคลธรรมดาได้รับโอนหุ้นมาโดยเสน่หา ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งการคำนวณเงินได้พึงประเมินให้ถือตามราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับโอนหุ้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
อย่างไรก็ดี บุคคลธรรมดาที่ได้รับโอนหุ้นมาโดยเสน่หา ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินนั้น หากเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ตามกรณีที่ 2 กรณีที่ 3 และกรณีที่ 4 เป็นประเด็นว่า “ได้รับหุ้นมาในราคาต่ำกว่าตลาดต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่ ?” กรมสรรพากรมีแนวทางปฏิบัติแตกต่างเป็น 2 ทาง
แนวแรก ตีความว่า ได้รับหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาด ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตาม 3มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ตามตัวอย่างในกรณีของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นักบัญชี บริษัททางด่วนกรุงเทพ ซึ่งซื้อหุ้นจากบิดา จำนวน 5,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาด 21 บาท มีส่วนต่างประมาณ 55,000 บาท ปรากกว่าถูกกรมสรรพากรประเมินภาษี (แต่ต่อมาเมื่อมีการเปิดเผยว่า กรมสรรพากรปฏิบัติแตกต่างกับกรณีของครอบครัวชินวัตร เขาจึงได้รับคืนเงินโดยบอกว่าคิดผิดไป)
การตีความว่าผู้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าตลาดถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้น น่าจะเป็นการตีความที่ใช้เป็นหลักในกรณีทั่วไป แต่เดิมของกรมสรรพากร ดังตัวอย่างเมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยมีหนังสือไปสอบถามกรมสรรพากรถึงกรณีดังกล่าว และนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้นทำหนังสือ “ลับ” ที่ ก.ค. 0811/632 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ตอบข้อซักถามของ ป.ป.ช. ในกรณีดังกล่าวดังนี้
“กรมสรรพากรเรียนว่า
1. กรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้นของบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ขายจะต้องนำกำไรจากการขายหุ้นไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมิน เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่หากราคาขายเท่ากับหรือต่ำกว่าราคาซื้อถือว่าไม่มีเงินได้พึงประเมิน และไม่สามารถนำผลขาดทุนจากการขายในแต่ละคราวไปหักจากส่วนที่เป็นกำไรจากการขายหุ้นชนิดและคราวอื่นได้
กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นของบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ซื้อหุ้นไม่มีเงินได้พึงประเมิน จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เว้นแต่เป็นการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาหรือค่าอันพึงมีกับราคาซื้อ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อื่นที่ได้รับ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ซื้อหุ้นต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย (กรณีซื้อขายหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ ภาระภาษีของผู้ขายและผู้ซื้อจะเป็นเช่นเดียวกับ ข้อ 1)”
แนวทางที่สอง ตีความว่าไม่ต้องเสียภาษีขณะนั้น ทั้งนี้ตามแนวปฏิบัติที่กรมสรรพากรใช้กับกรณีการโอนหุ้นของคนในตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ โดยกรมสรรพากรอธิบายเหตุผลในการไม่เก็บภาษีสับสน 3 กรณีไม่เหมือนกัน กล่าวคือ
1. ตามกรณีที่ 2 นายวิชัย จึงรักเกียรติ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ทำหนังสือลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2545 (ที่ กค. 0811/6312) ระบุว่า การซื้อขายหุ้นดังกล่าวถือไม่ได้ว่า ผู้ซื้อได้รับประโยชน์จากการโอนหุ้นซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม 4มาตรา 40 (4) (ช) ตามประมวลรัษฎากร เนื่องจากยังมิได้ก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้ซื้อแต่ประการใดจนว่าผู้ซื้อจะได้ขายหุ้นดังกล่าวไปโดยได้รับผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
คือ ตีความว่าหุ้นชินคอร์ปที่นายพานทองแท้, น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายบรรณพจน์ ซื้อต่ำกว่าราคาตลาดจาก พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตรนั้น ถือว่ายังไม่ได้รับประโยชน์เกิดขึ้นตามมาตรา 40 (4) (ช) แม้จะรับหุ้นไปแล้ว เพราะยังไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้ซื้อ ต่อเมื่อเอาหุ้นนั้นไปขายจึงจะถือว่ามีรายได้เกิดขึ้นแล้ว หากราคาขายเกินกว่าราคาทุนที่ซื้อมาจึงจะต้องเสียภาษี
ซึ่งการตีความดังกล่าวแตกต่างจากกรณีของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เมื่อนายเรืองไกรพบว่า กรณีของครอบครัวชินวัตรไม่เสียภาษีทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงเหมือนกัน จึงได้ร้องเรียนต่อสื่อมวลชน จนมีการนำไปพูดในวุฒิสภาและที่สุดนายวราเทพ รัตนากร รมช.กระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า กรมสรรพากรเข้าใจผิดและขอคืนภาษีให้
โดยมีการให้เหตุผลต่อมาโดย นายพิชเยนทร์ กองทอง นิติกร 8 กรมสรรพากร ทำบันทึกลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 แก่นายเรืองไกรว่า “สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นผลประโยชน์จากการซื้อหุ้น ยังคงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี เพราะเงินได้ในส่วนนี้ยังมิได้มีการก่อให้เกิดรายได้ต่อท่าน (นายเรืองไกร) ท่านจะเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้ก็ต่อเมื่อท่านได้ขายหุ้นดังกล่าวไปโดยได้รับผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินที่ลงทุน ทั้งนี้ตามมาตรา 40 (4) (ช)
และในครั้งต่อมา นายสุเทพ พงษ์พิทักษ์ สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 ทำหนังสือลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2548 (ที่ กค. 0709.03 (ภค.12123) ถึงนายเรืองไกร เรื่องแจ้งคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2546 โดยระบุว่า “ในกรณีดังกล่าว ยังไม่อาจถือได้ว่าท่านมีเงินได้พึงประเมินเพราะเป็นเพียงขั้นลงทุน หาใช่ผลประโยชน์ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินลงทุน ตามมาตรา 40 (4) (ช) ท่าน (นายเรืองไกร) จึงยังคงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับตัวเลขผลประโยชน์จากการซื้อหุ้นจนกว่าท่านจะได้ขายหุ้นดังกล่าวไปโดยได้รับประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินลงทุน”
2. ตามกรณีที่ 3 เมื่อใกล้จะมีการนำหุ้นของครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ไปขายให้กับกลุ่มเทมาเส็ก เหตุผลในการไม่เก็บภาษีจากผู้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาดแตกต่างออกไป ตามกรณีที่ 3 เมื่อนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ซื้อหุ้นชินคอร์ปจากบริษัทแอมเพิล ริช ในราคาต่ำกว่าตลาดเมื่อ 20 มกราคม 2549 ก่อนนำไปขายอีก 3 วันต่อมา
นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร แถลงข่าวเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ว่า “บริษัทชินคอร์ป ได้หารือกรมสรรพากรมา ซึ่งกรมฯ ได้มีหนังสือตามไปเมื่อ 21 กันยายน 2548 ว่า กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาด เป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ส่วนต่างจากราคาซื้อกับราคาตลาด จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร... และกรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้น หากขายออกไปในราคาที่สูงกว่าที่ซื้อมา (เงินได้เกินกว่าที่ลงทุน) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร อย่างไรก็ดีหากบุคคลธรรมดาขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดา” (มติชนรายวัน 3 ก.พ. 49)
ซึ่ง น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “บุคคลธรรมดาซื้นหุ้นราคาต่ำกว่าตลาดมีกำไรไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน เพราะการวินิจฉัยรายได้พึงประเมินเสียภาษีต้องดูประมวลรัษฎากรมาตรา 39 และมาตรา 40 ควบคู่กันไป โดยในมาตรา 40 ระบุว่า เงินได้พึงประเมินต้องเสียภาษี ซึ่งให้รวมถึงทรัพย์สินและประโยชน์อื่นที่จะได้รับ ซึ่งอาจคำนวณเป็นเงินได้ ซึ่งการซื้อหุ้นราคาถูกถือเป็นประโยชน์อื่นที่ได้รับ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรา 39 จากนั้นก็ต้องไปดูมาตรา 40 ประกอบ ซึ่งในมาตรา 40 นี้มี (4) (ช) ระบุผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น ซึ่งเป็นการพูดถึงการขาย ไม่ได้พูดถึงการซื้อหุ้นราคาถูก ทำให้กำไรจาการซื้อหุ้นราคาถูกไม่ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 39” (โพสต์ทูเดย์ 3 ก.พ. 49)
สรุปว่า กรมสรรพากรอธิบายใหม่ว่า การซื้อหุ้นราคาถูกกว่าราคาตลาดไม่ต้องเสียภาษีเลย ?
การกลับลำตีความใหม่ของกรมสรรพากรนี้ นับจากหลักฐานที่ปรากฏ คือ เมื่อกรมสรรพากรทำหนังสือตอบบริษัทชินคอร์ป เมื่อเดือนกันยายน 2548 ต่อมาปลายปี 2548 ก่อนที่จะมีการขายหุ้นล็อตใหญ่ 23 มกราคม 2549 คุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้เสียภาษีที่เคยร้องเรียนสื่อว่ากรมสรรพากรใช้สองมาตรฐานในการเก็บภาษีก็ได้รับหนังสืออีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2548 (ที่ กค. 0709.31/18325) ลงนายโดย นางจิตรมณี สุวรรณพูล สรรพากร ภาค 1 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ชี้แจงเรื่องการซื้อหุ้นราคาถูกของเขาโดยเป็นการพลิกคำวินิจฉัยเดิมทั้งหมดที่เคยแจ้งเหตุผลแก่เขาว่า การซื้อขายทรัพย์สิน (หุ้น) ราคาต่ำกว่าราคาตลาด “ส่วนต่าง” ดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ของประมวลรัษฎากรตั้งแต่ต้น โดยหนังสือดังกล่าวว่า “การซื้อทรัพย์สินในลักษณะดังกล่าวจะเป็นเรื่องของทุนซึ่งกระทบต่อจำนวนเงินที่เหลืออยู่และที่ได้จ่ายไป ดังนั้นไม่ว่าการซื้อทรัพย์สินผู้ซื้อจะซื้อตามราคาตลาดหรือซื้อในราคาถูกกว่าตลาด ผู้ซื้อต้องเสียเงินสำหรับการซื้อตามจำนวนมากน้อยตามราคาที่ตกลงกัน... การที่ซื้อทรัพย์สินราคาถูกจะทำให้เหลือเงินมากกว่าซื้อทรัพย์สินในราคาปกติ เงินที่เหลือดังกล่าวไม่ว่าจะเหลือมากน้อยเท่าใดก็เป็นเงินของผู้ซื้อเอง เป็นเรื่องของทุน มิใช่เงินที่ผู้ซื้อได้รับหรือเข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับจากผู้อื่นแต่อย่างใด ด้วยเหตุผลข้างต้น การซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับอันเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 เช่นเดียวกับส่วนลดปกติและส่วนลดพิเศษที่จะลดให้ทันทีเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าตามเกณฑ์ที่กำหนด”
...ดังนั้น กรณีที่ท่าน (นายเรืองไกร) ซึ่งเป็นผู้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาตลาดไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ อันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39”
3. ตามกรณีที่ 4 ดังนั้นเมื่อมีการขายหุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ทั้งหมดไปตามข้อเท็จจริงกรณีที่ 4 โดยขายในตลาดหลักทรัพย์ กรมสรรพากรจึงตีความว่าไม่ต้องเสียภาษีทั้งหมด
โดยนายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร แถลงข่าวเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2549 ว่า เป็นการขายหุ้นโดบบุคคลธรรมดาในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีตาม 5มาตรา 42 (17) ประกอบ 6กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (23) ดังนั้นจึงได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงการซื้อหุ้นมาในราคาถูกที่นำมารวมขายในล็อตนี้ (ข้อเท็จจริงตามกรณีที่ 2) ซึ่งรองอธิบดีกรมสรรพากร นายวิชัย จึงรักเกียรติ เคยชี้แจงว่า จะถือว่ามีรายได้ซึ่งต้องเสียภาษีเมื่อมีการขายเกิดขึ้น อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวว่า “อย่าไปย้อนถึงของที่มันจบไปแล้ว ผมบอกแล้วว่ากรรมแรก (การซื้อหุ้นมาในราคาถูก) ไม่ถือว่าเกิด capital gain (ส่วนต่างราคาหุ้น) แต่กรรมสองเกิดแล้ว แต่เป็นการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์”
ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้ว capital gain กรรมแรกมันหายไปไหน อธิบดีกรมสรรพากรตอบว่า ส่วนต่างราคาหุ้นมันไม่มีเพราะเป็นการซื้อของราคาถูกและมันขาดตอน มันไม่ได้ขาย จึงไม่มีการรับรู้รายได้” (มติชนรายวัน 27 ม.ค. 49)
สรุปว่า ไม่มีกรณีที่ต้องเสียภาษีเลย สำหรับในประเด็นการขายหุ้นที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการขายเพราะเป็นการขายหลักทรัพย์ (หุ้น) ในตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่มีใครติดใจ แต่ภาษีเงินได้ที่เกิดจาการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาดและมาขายในครั้งนี้ถือว่าไม่ต้องเสียภาษีด้วยมีคนกังขาจำนวนมาก ?
ข้อโต้แย้ง เมื่อพิจารณาการวินิจฉัยตีความของผู้บริหารกรมสรรพากรขณะนี้ที่มีความเห็นว่า การได้หุ้นมาและขายหุ้นออกไปตามข้อเท็จจริงกรณีที่ 2, 3 และ 4 ไม่ต้องเสียภาษี จะอยู่ใน 3 ประเด็นที่กรมสรรพากรกล่าวอ้างดังนี้
ประเด็นที่กรมสรรพากรกล่าวอ้างดังนี้
ประเด็นที่ 1 เป็นการซื้อของราคาถูก ส่วนต่างราคาหุ้นที่ซื้อมาในราคาต่ำนี้ไม่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ? (จากข้อเท็จจริงการซื้อหุ้นตามกรณีที่ 3)
ประเด็นที่ 2 ถึงซื้อหุ้นได้มาในราคาต่ำ แต่ก็ไม่ถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นขณะนั้น จนกว่าจะได้ขายออกไปจึงจะเกิดเงินได้ที่ต้องเสียภาษี (จากข้อเท็จจริงการซื้อหุ้นตามกรณีที่ 2)
ประเด็นที่ 3 หุ้นที่ซื้อได้มาในราคาต่ำ เมื่อนำมาขายในตลาดหลักทรัพย์ถือว่าไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีทั้งหมด (จากข้อเท็จจริงกรณีที่ 4)
ใน 3 ประเด็นของกรมสรรพากรนี้ มีความเห็นของนักวิชาการกฎหมายภาษีอากร ที่โต้แย้งข้อสรุปของกรมสรรพากรอย่างชัดแจ้งในทุกประเด็น ได้แก่ ความเห็นของ ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้แสดงความเห็นไว้ในการอภิปรายเรื่อง “บทวิเคราะห์เชิงวิชาการต่อภาวะวิกฤตผู้นำ : ปัญหาและทางออก” เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 โดยสรุปความเห็นที่โต้แย้งดังนี้
ประเด็นที่ 1 ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย มีความเห็นว่า โดยปกติการซื้อสินค้าราคาถูกในทางการค้าตามกลไกตลาดปกติที่บางครั้งมีการลดราคาแก่ลูกค้าทั่วไป ย่อมไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของผู้ซื้อหรือผู้บริโภค แต่ถ้าการขายทรัพย์สินนั้นในราคาถูกลงอย่างมากจนเห็นได้ชัด ย่อมมีนัยของการให้โดยเสน่หาแฝงอยู่ด้วย ซึ่งต้องถือว่ามีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้น เช่น หุ้นราคาตลาด 47 บาท แต่ขายให้ในราคา 1 บาท ย่อมมีการให้โดยเสน่หาแฝงอยู่ กล่าวคือ นอกจากมีธุรกรรมซื้อขายแล้วยังมีธุรกรรมการให้โดยเสน่หา ซึ่งถือว่ามีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้น และต้องเสียภาษีเพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 39 บัญญัติว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้นี้ให้รวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินด้วย จะเห็นได้ว่า “เงินได้พึงประเมิน” เป็นไปตามหลักวิชาการที่หมายถึง ส่วนที่เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ของบุคคล อะไรก็ตามที่ทำให้เรามั่งคั่งขึ้น ส่วนที่มั่งคั่งขึ้นเป็นเงินได้พึงประเมิน
ดังนั้น การซื้อหุ้นราคาถูก ย่อมเกิดส่วนต่างของราคาที่ได้รับเมื่อเทียบกับราคาตลาด ส่วนต่างที่ได้รับนี้คือมูลค่าที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็น “เงินได้พึงประเมิน” ผศ.ธิติพันธุ์ ยกตัวอย่างให้เห็นจากในตัวกฎหมาย เช่น ในมาตรา 42 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ยกเว้นเงินได้พึงประเมินไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีใน “(6)ฯ ส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล ฯลฯ” และ “(18)ฯ ส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย” แสดงให้เห็นว่า ปกติแล้วส่วนลดหรือส่วนต่างจากการซื้อทรัพย์สินเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น ดังนั้นเรื่องใดที่จะยกเว้นประมวลรัษฎากรจึงต้องนำมาบัญญัติยกเว้นไว้ในมาตรา 42 มิฉะนั้นต้องเสียภาษี
ผศ.ธิติพันธุ์ กล่าวว่า ความเห็นของท่านเหมือนดังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 28/2538 ที่ลงนามโดยนายอรัญ ธรรมโน ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่วินิจฉัยว่า “... กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำหุ้นไปแจกให้พนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกันหรือนำหุ้นไปขายให้กับบุคคลดังกล่าวตามข้อตกลงพิเศษในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด กรณีนี้ย่อมถือได้ว่า บุคคลดังกล่าวได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษีที่ได้รับกรรมสิทธิในหุ้น...” เขากล่าวว่า คำวินิจฉัยนี้ยืนยันว่า ส่วนต่างจากการซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดเป็นเงินได้พึงประเมินที่พนักงานต้องนำไปเสียภาษีในปีภาษีนั้น (ไม่ต้องรอให้ไปขายก่อน)
ในประเด็นที่ 2 ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กล่าวว่า โดยช้อเท็จจริงแล้วเมื่อผู้ซื้อหุ้นได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นที่ซื้อมาในราคาต่ำ ส่วนต่างของราคาระหว่างราคาตลาดในวันนั้นและราคาที่ซื้อมาเป็นมูลค่าที่เกิดขึ้นในวันนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตามที่บัญญัติไว้ในคำนิยาม “เงินได้พึงประเมิน” นั่นเอง ดังนั้นต้องถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว จะเห็นได้ว่าคำวินิจฉัยที่ 28/2538 จึงให้ผู้ได้รับหุ้นนั้นต้องไปเสียภาษีในปีภาษีนั้น โดยไม่ต้องรอให้ไปขายก่อน
ในประเด็นที่ 3 ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัน โต้แย้งว่า ผู้บริหารกรมสรรพากรตีความ รวมธุรกรรมสองธุรกรรมกลืนเป็นอันเดียวกันโดยไปสรุปว่า ธุรกรรมทั้งสองธุรกรรมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามกฎกระทรวงที่ 126 ข้อ 2 (23) เพราะเป็นการที่บุคคลขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ไม่ถูกต้อง
ผศ.ธิติพันธุ์ กล่าวว่า ถ้าตีความยอมรับตามความเห็นของกรมสรรพากรตามประเด็นที่ 2 ว่า ในวันที่ซื้อหุ้นมาในราคาต่ำกว่าตลาดยังไม่เกิดเงินได้พึงประเมิน ต่อเมื่อนำหุ้นไปขายแล้วจึงจะถือว่าเกิดรายได้และเกิดความรับผิดตามธุรกรรมนี้ที่จะต้องเสียภาษีนั้น เขากล่าวว่า ในวันที่มีการโอนหุ้นทั้งหมดในวันที่ 23 มกราคม 2549 (ตามกรณีที่ 4) มีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกันอยู่สองธุรกรรมคือ (1) ธุรกรรมซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าตลาด กับ (2) ธุรกรรมขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ โดยธุรกรรมทั้งสองเป็นธุรกรรมที่แยกต่างหากจากกัน และความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้แต่ละธุรกรรมก็แยกต่างหากจากกันด้วยเช่นกัน ดังนี้
ก. ความรับผิดในการเสียภาษีของธุรกรรมซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาดตาม (1) จะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้ซื้อหุ้นได้ขายหุ้นนั้นออกไป เช่น ในวันที่ 20 มกราคม 2549 ซื้อหุ้นมาราคา 1 บาท ขณะที่ราคาตลาด 47 บาท และเมื่อถึงวันที่ 23 มกราคม 2549 ได้ขายหุ้นนั้นไปราคา 49 บาท ธุรกรรม (1) นี้ (ตามการตีความของสรรพากร) เกิดความรับผิดที่จะต้องเสียภาษี โดยจำนวนที่จะต้องเสียภาษีคือส่วนต่าง 47-1 เท่ากับ 46 บาท ที่จะต้องไปคำนวณภาษี ดังนั้นภาษีที่จะต้องเสียในวันที่เทขายหุ้นทั้งหมดคือส่วนนี้
ข. ส่วนความรับผิดในการเสียภาษีจากธุรกรรมขายหลักทรัพย์ออกไป ย่อมเกิดขึ้นเมื่อได้ขายหุ้นที่ซื้อมานั้นออกไป ซึ่งตามธุรกรรม (2) นี้ ส่วนที่จะต้องนำไปเสียภาษี คือ ส่วนต่างหรือประโยชน์ที่ได้จาการโอนหุ้น ได้แก่ 49-47 เท่ากับ 2 (ต้นทุนเท่ากับ 47 บาท ในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น) สำหรับกรณีนี้เนื่องจากเป็นกรณีบุคคลขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งส่วนที่ได้รับยกเว้นคือ เงินได้ที่เกิดขึ้นจำนวน 2 บาท เท่านั้นเอง
สรุปแล้วในวันที่เทขายหุ้นทั้งหมด ผศ. ธิติพันธุ์ กล่าวว่า ยังมีภาระภาษีจากธุรกรรมที่ซื้อหุ้นมาในราคาที่ต่ำกว่าตลาด แม้จะคำนวณตามการตีความแบบผู้บริหารกรมสรรพากรก็ตาม
------------------------------------------------------------------------------
1ดูรายละเอียดได้จาก “นิติกรรมอำพราง ?” ในหนังสือ “ทักษิณกับพวก และความเฉไฉของนักการเมืองไทยจากปัจจุบันยันอดีต” โดยคุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ สำนักพิมพ์ open books
2มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ (10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในวันพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
3มาตรา 39 ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
เงินได้พึงประเมิน หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย
4มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงิน หรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด
(4) เงินได้ที่เป็น
................
(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
5มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
...........................
(17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง
6กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509)
ข้อ 2 ให้กำหนดเงินได้ดังต่อไปนี้ เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร... (หมายถึง เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี-กอง บก.)
(23) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมเงินได้จาการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร