Tuesday, March 14, 2006
ประวัติย่นย่อของทุนนิยม A Very Brief History of Capitalism
ไมเคิล ไรท
ทุนนิยมคืออะไร?
ท ุนนิยมไม่ใช่เรื่อง "บุญ" หรือ "บาป," หากเป็นระบบแบ่งปัน (หรือแย่งชิง) อำนาจในสังคมโดยอาศัย ทรัพย์ เป็นหลักแทนพละกำลังกายและอาวุธ
สังคมดึกดำบรรพ์ล้วนเป็นเผ่าขนาดเล็กที่เป็นญาติๆ กันจึงไม่มีชนชั้น, มีแต่ผู้เฒ่าและผู้น้อยตามอายุและความรู้ความสามารถ, และแบ่งปันทรัพย์เท่าที่มีอยู่ (ของกิน, ของใช้) อย่างเสมอภาค, ไม่มีใครอดอยาก, หรือหากขัดสนก็อดอยากกันทั้งเผ่า ดังนี้ "ทรัพย์" ไม่มีความหมายและไม่เป็นเครื่องกำหนดว่าใครจะมีอำนาจภายในเผ่า
แต่ในสมัยดึกดำบรรพ์ความสัมพันธ์ ระหว่างเผ่า ไม่มีระเบียบสวยงามเช่นนี้ เผ่าไหนมีชายฉกรรจ์และอาวุธมากกว่า และมีผู้นำเหี้ยมโหดที่สุด, ก็สามารถปล้นเผ่าอื่นได้โดยฆ่าชายทุกคนแล้วลากหญิงไปเป็นเมีย นี่คือระบบ "อำนาจ" สมัยดึกดำบรรพ์
สังคมมนุษย์ (จีน, ฮินดู, พุทธ, มุสลิม, คริสต์ ฯลฯ) ไม่ได้พัฒนาเสมอกันจึงต่างกันมาก, เหลือจะพิจารณาทั้งหมดได้, ผมจึงขอดูเฉพาะยุโรปตะวันตกหลังจักรวรรดิโรมันล้มราวคริสต์ศตวรรษที่ 5-6
ยุโรปก่อนทุนนิยม
ใ นสมัยกลาง (Middle Ages) หรือยุคมืด (Dark Age) ยุโรปตะวันตกแบ่งเป็นนครรัฐต่างๆ แต่ละรัฐจะสะสมพลฉกรรจ์, พลม้า, อาวุธยุทโธปกรณ์แล้วแย่งชิงอำนาจกันด้วยวิธีรุนแรงที่เรียกว่า "สงคราม"
ภายในนครรัฐแต่ละกลุ่ม (แคว้น) ใครๆ ที่ฉลาดกว่ากัน, นักเลงกว่ากัน, หรือเหี้ยมโหดกว่ากัน, สามารถครองที่นาและชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่งก็เป็น "ขุน" เป็น "พระยา" (Earls, Dukes, Barons, Lords ฯลฯ) แล้วส่งพลและเสบียงสมทบทัพหลวง
อย่างนี้เรียกว่า "ระบบศักดินา" (Feudalism), เป็นระบบแบ่งอำนาจกันภายในแคว้นด้วยความรุนแรงเช่นกัน
เริ่มทุนนิยม
ต ่อมายุโรปเริ่มเข้ายุครื้อฟื้นศิลปวิทยา (Renaissance) ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 การค้าระหว่างหัวเมืองและแคว้นต่างๆ มีความสำคัญมากขึ้นรวมทั้งการเงินการธนาคาร, โดยเริ่มตามนครรัฐในอิตาลีเหนือก่อน จะเห็นได้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ตระกูลเมดีจี (Medici) ที่ครองเมือง Florence และแผ่อำนาจทั่วไปนั้นไม่ใช่คนสูงศักดิ์จากยุคเดิม แต่เป็นมหาเศรษฐีนายธนาคารที่มี เงิน ซื้อพลรบ, บำรุงศิลปวิทยา, และซื้อตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาให้หลานๆ ครองกินศาสนา
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 นครรัฐ (City States) ต่างๆ กำลังรวมกันก่อตั้งเป็น ประเทศรัฐ (Nation States) รัฐบาลแต่ละประเทศจะมีนโยบายส่งเสริมการผลิตและการค้า, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าต่างประเทศ ระบบอย่างนี้เรียกว่า Mercantilism, มีผลนำไปสู่การ ล่าเมืองขึ้น (Colonialism), จักรวรรดินิยม (Imperialism), และไม่ต้องสงสัย ความขัดแย้งกันเองว่าใครจะยึดครองทรัพยากรและตลาดในโลกภายนอก
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 (Adam Smith : Wealth of Nations, 1776) นักปราชญ์ผู้ก่อตั้งอุดมการณ์ "เศรษฐศาสตร์เสรีนิยม" (Economic Liberalism) รุ่นแรก ว่า รัฐควรวางเฉย, ปล่อยให้เศรษฐกิจเดินเอง (Laissez Faire) การผลิตและการค้าเสรีจะได้เติบโตขึ้นโดยอัตโนมัติและสร้างความมั่งคั่งผาสุก ให้แก่สังคมโดยทั่วไป
เผอิญปรัชญาใหม่นี้เกิดพร้อมกับการคิดประดิษฐ์เครื่องจักรใหม่ (Technological Revolution) เครื่องจักรเหล่านี้ทำให้นายทุนเจ้าของกิจการสามารถทำลายศิลปหัตถกรรมชาวบ้า นและยึดตลาดทั้งหมดด้วยสินค้าราคาต่ำและคุณภาพสม่ำเสมอ
ทุนนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 19
ใ นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปรัชญาเศรษฐศาสตร์เสรีผนวกกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ต่างสร้างความเหลื่อมล้ำและความอนาถาครั้งยิ่งใหญ่ ที่บ้าน แรงงานหมดศักดิ์ศรี, ไม่มีอำนาจต่อรอง, และมีชีวิตกินอยู่เยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน ในเมืองขึ้น (เช่น อินเดีย) ทรัพยากรทั้งหมดอยู่ในมือของอังกฤษและอุตสาหกรรมพื้นเมือง (ทอผ้า, เครื่องมือ เครื่องใช้) ต่างยกเลิกเพราะสู้ผลิตภัณฑ์ราคาถูกจาก Birmingham ไม่ได้
ดังนี้ "ทุน" ได้จัดแจงแบ่งปันอำนาจระหว่างประเทศได้สำเร็จด้วยความรุนแรงบ้าง, เล่ห์เหลี่ยมบ้าง แต่ภายในประเทศ (เช่น อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน) ระบอบอำนาจไม่มั่นคงเพราะ 1.อำนาจการเมืองโดยมากอยู่ในมือชนชั้นเจ้านายเก่า (เจ้าของที่ดิน), 2.อำนาจเศรษฐกิจอยู่ในมือนายทุนรุ่นใหม่, 3.ชนชั้นกลางมีจำนวนน้อยจึงมีเสียงไม่มาก, และ 4.ชนชั้นกรรมาชีพไม่มีอำนาจต่อรอง คริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงเป็น "ศตวรรษแห่งการปฏิวัติ" ในยุโรป ใครเห็นว่า คาร์ล มาร์กซ์ เป็นยักษ์เป็นมารหรือเพ้อฝันก็ควรกลับไปศึกษาสภาพสังคม-เศรษฐกิจในยุโรปยุคน ั้นให้ดี
ที่สหรัฐไม่ใช่อย่างนั้นเพราะเขามีพลเมืองจำนวนไม่มาก, มีที่ดินและทรัพยากรเหลือเฟือ, คนกรรมาชีพจึงพอหวังกินอยู่ดีได้
มีแต่อินเดียนแดงกับคนผิวดำที่แร้นแค้นไร้อำนาจ
ทุนนิยมในครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 20
ป ลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อุตสาหกรรมสหรัฐ (เช่น น้ำมัน, เหล็ก และรถไฟ) มีลักษณะผูกขาด, รัฐสภาจึงเริ่มออกกฎหมายคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะ ในยุโรปก็เช่นเดียวกัน :- ฝ่ายเสรีนิยมเห็นจำเป็นจะต้องคุ้มครองและให้สิทธิอำนาจแก่ชนที่ถูกเอารัดเอา เปรียบ, และคุมพฤติกรรมของนายทุนให้อยู่ในขอบเขต
ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตะวันตกโดยมากถือระบอบ "ประสม-ประสาน (Mixed Economy), คือเป็น ทุนนิยมเสรี แต่รัฐเข้ามาแทรกแบบ สังคมนิยม ใต้ระบอบประชาธิปไตยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาด, การฮั้ว, การฉ้อราษฎร์บังหลวง, และ "มัจฉาคติ" (ปลาใหญ่กินปลาเล็ก)
ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระบบประสมนี้มีความสำเร็จในระดับหนึ่ง, คือสามารถแบ่งปันอำนาจได้ดีขึ้น เช่น ให้คนส่วนใหญ่ในสังคมมีสิทธิเลือกตั้ง, ทำให้รัฐต้องโปร่งใสและรับผิดชอบมากกว่าเดิม มีการรับรองสิทธิลูกจ้างให้ตั้งสหภาพและต่อรองกับนายจ้าง, และมีความก้าวหน้าด้านสาธารณสุขและการศึกษาสำหรับประชาชน
(ในระยะดังกล่าวมีข้อเว้น, คือประเทศรัสเซียที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงจึงตกเป็นเหยื่อลัทธิ เลนินนิสต์ ที่มีวิธีแบ่งปันอำนาจเฉพาะต่างหากที่ไม่มี "ทุน" เป็นตัวเกณฑ์)
อย่างไรก็ตาม ระบอบประสมนี้ยังมีบกพร่องดังจะเห็นได้จากการที่เศรษฐกิจโลกหดหู่ (ราว ค.ศ.1930) ทำให้คนตกงานเป็นล้านๆ, และเกิดสงครามโลกถึงสองครั้ง (ค.ศ.1914-1918, 1940-1945) ที่ประเทศต่างๆ ใช้อาวุธแบ่งปันอำนาจกันใหม่ ไม่มีใครทราบสาเหตุแท้จริงของสงคราม บางท่านว่าโลภะโทสะโมหะ, บ้างว่าสันดานโหดธรรมดามนุษย์, หรือดาวร้ายแทรก
รัฐเป็นฝ่ายประกาศและดำเนินสงคราม, ไม่ใช่นายทุน อย่างไรก็ตาม สงครามเป็นกิจการแพงมาก, รัฐจึงไม่กล้าเป็นฝ่ายรุก (Aggressor) หากไม่มีทุนสนับสนุน บางทีผู้สนใจเรื่อง "สงครามและสันติภาพ" ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและทุน เป็นไปได้ไหมว่าในบางกรณีสงครามให้กำไรงามกว่าสันติภาพ?
ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระบบทุนนิยมประสม (Mixed Capitalism) มีทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จสร้างสรรค์ ที่สำคัญที่สุดคือมันได้ยกระดับประชาชนจำนวนมากเข้ามาอยู่ใน ชนชั้นกลาง ที่แข็งแกร่ง, มีการศึกษาและอำนาจพอที่จะมีบทบาทรับผิดชอบในการบ้านการเมืองแทนที่จะเป็นฝ่ ายถูกกระทำ, ไม่มีสิทธิรู้เห็นหรือแสดงความคิด
ความสำเร็จนี้ปรากฏในงานของ John Maynard Keynes (นักเศรษฐศาสตร์, ค.ศ.1883-1943) ที่นิยามบทบาทของรัฐในการควบคุมและส่งเสริมกลไกของทุน
ทุนนิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ป ระเทศโลกตะวันตกฟื้นเศรษฐกิจเร็วบ้างช้าบ้าง (สหรัฐไม่ต้องฟื้นเพราะฐานอุตสาหกรรมยังสมบูรณ์อยู่) แต่ทุกประเทศรวมทั้งสหรัฐถือหลักการของ Keynes ว่ารัฐต้องมีบทบาทแทรกแซงเศรษฐกิจไม่ให้ตลาดหัวขวิดก้นคว่ำ มีการตกลงระบบกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ งานสาธารณูปโภค (น้ำ, ไฟ, ไปรษณีย์-โทรคมนาคม ฯลฯ) เป็นหน้าที่ของรัฐ, รวมทั้งการสาธารณสุขและการศึกษาระดับประชาบาล
มีการควบคุมธนาคาร, สถาบันการเงินอื่นๆ, ตลาดหลักทรัพย์และกองทุนต่างๆ ไม่ให้เล่นพิเรนทร์, ไม่ให้เล่นถั่วหาย มีการก่อตั้งเป็นรัฐสวัสดิการ (Welfare State) ที่รับรองว่าไม่มีประชากรผู้ใดจะถูกทอดทิ้งให้อดตาย
ระบบประสม (ทุนนิยม+สังคมนิยม) นี้มีล้มลุกบ้าง, แต่โดยมากมีความสำเร็จหลายอย่าง เช่น 1.เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง, 2.ดึงประชากรส่วนใหญ่เข้ามาเป็นชนชั้นกลาง, 3.ลดความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้ง, 4.แบ่งปันอำนาจในสังคมให้โปร่งใสและยุติธรรม
แต่ถึงต้นทศวรรษที่ 1980 หลักการ "ประสม" ของ Keynes ถูกฉีกทิ้งลงถังขยะและทุนนิยมเปลี่ยนโฉมใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ทุนนิยมปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20
ต ้นทศวรรษ 1980 Ronald Reagan ในสหรัฐ และ Margaret Thatcher ในอังกฤษ ต่างเลิกศรัทธาหลักการ "เศรษฐกิจประสม" ของ Keynes ว่าเป็นนโยบายล้าหลังกีดขวางและขัดขาการดำเนินการของระบบทุน ท่านทั้งสองกลับศรัทธาทฤษฎี "ตลาดเสรี" (Free Markets) ของ Milton Friedman (นักเศรษฐศาสตร์ ค.ศ.1912-?)
ท่านว่าการแทรกแซงของรัฐทำให้ตลาดบิดเบี้ยวไม่สมดุล ดังนั้น รัฐควรวางเฉย, ปล่อยให้ตลาดเสรีเป็นตัวคุมเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ
เคยได้ยินอะไรคล้ายๆ กันมาก่อนไหม? ใช่แล้ว! มันคือคำสอน Laissez Faire ของ Adam Smith เจ้าเก่า กลับคืนชีพอีกครั้ง, ทั้งๆ ที่ประสบการณ์ 300 ปีแสดงว่า "ตลาดเสรี" ไม่มีตัวจริงแต่เป็นเรื่องหลอกตัวเอง (หรือหลอกชาวบ้าน?) ทั้งนี้ เป็นเพราะตลาดย่อมผูกขาดและปิดบัง (ในระดับหนึ่งระดับใด) โดยนิยาม, มิเช่นนั้นพ่อค้าจะทำกำไรสม่ำเสมอไม่ได้
โดยนิยามแล้ว "ตลาดเสรี" คือการพนันบริสุทธิ์แท้ที่ทั้งเจ้ามือและลูกมือโกงกันไม่ได้เลย เกม "ตลาดเสรีจริงๆ" นี้อาจจะเล่นกันสนุกวันยังค่ำ แต่ไม่มีใครรวยครับ, เพราะในตลาดเสรีจริงๆ โกงกันไม่ได้ และไม่มีทางที่ใครจะเป็นมหาเศรษฐี
น่าชวนพวกมหาเศรษฐี (และสหาย) ที่อ้างว่าตนเป็น "อนุรักษนิยมใหม่" (Neo-cons) และ "เสรีนิยมใหม่" (Neo-libs) มาเล่นใน ตลาดที่เสรีจริงๆ แต่ท่านคงไม่เอาเงินมาเล่นในบ่อนนี้แน่ๆ เพราะกลัวหมดตูด
ในขณะที่โลกตะวันตกกำลังรื้อฟื้นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ล้าสมัย, นักคิดในโลกสังคมนิยม (เช่น เติ้ง เสี่ยว ผิง และ มิคาอิล กอร์บาช็อฟ) กำลังคิดการใหม่ว่าทฤษฎีมาร์กซ์-เลนิน-เหมา เจ๋อ ตุง บกพร่องเป็นที่น่าเสียดายว่า ความเปลี่ยนแปลงในโลกสังคมนิยมเกิดในขณะนั้นพอดี, เพราะชวนให้เข้าใจผิดว่า
สังคมนิยมตกถังขยะประวัติศาสตร์แล้วทุนนิยมมีชัยชนะและเป็นเจ้าของบรมสัจจะทางทางเศรษฐกิจ, สังคมและการเมืองอย่างเถียงไม่ได้
ทุนนิยมในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21
ผ ู้มีอำนาจทางการเมืองปัจจุบันบางคน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายโทนี่ แบลร์, นายบุช ผู้ลูก, และ นายทักษิณ ชินวัตร) ดูเหมือนต่างสืบทอด มรดกความคิด ทางการเมือง-เศรษฐกิจ จากผู้นำรุ่นก่อน, คือ นายเรแกน (ดาราหนังชั้น B), นางแทตเชอร์ (วิศวกรเคมี) และนายบุชผู้พ่อ (พ่อค้านักเก็งกำไรผูกขาด)
มรดกความคิดดังกล่าวเรียกว่า "ระบบเศรษฐกิจใหม่" (The New Economy), ประกอบด้วย
1. "ตลาดเสรี" ที่ไม่เสรีเพราะบรรษัทของประเทศมหาอำนาจเป็นเจ้ามือแจกไพ่ซ่อนถั่ว
2. "โลกาภิวัตน์" ซึ่งก็น่าจะเป็น "จักรวรรดินิยมใหม่" (Neo-Colonialism) คือการเสนอลูกปัดสวยๆ กับน้ำเมาแลกเปลี่ยนกับสิทธิที่จะเข้ามาครอบครองเศรษฐกิจของประเทศ
ขบวนการใหม่นี้ (This New Regime) คืออะไรกันแน่?
1. ความสำเร็จสุดยอดและสมบูรณ์แบบของทุนนิยม (Triumph of Perfect Capitalism)?
2. การบิดเบือนบ่อนทำลายทุนนิยม (Distortion and Perversion of Capitalism)?
3. ความคิดใหม่เอี่ยม (New Theory) ที่จะนำโลกไปสู่ความมั่งคั่งยุติธรรมเสมอภาคเยี่ยงยุคพระศรีอาริย์?
ท่านผู้อ่านช่วยกันคิด, เพราะผมจนใจจริงๆ
ที่มา: คอลัมน์ฝรั่งมองไทย มติชนออนไลน์
ทุนนิยมคืออะไร?
ท ุนนิยมไม่ใช่เรื่อง "บุญ" หรือ "บาป," หากเป็นระบบแบ่งปัน (หรือแย่งชิง) อำนาจในสังคมโดยอาศัย ทรัพย์ เป็นหลักแทนพละกำลังกายและอาวุธ
สังคมดึกดำบรรพ์ล้วนเป็นเผ่าขนาดเล็กที่เป็นญาติๆ กันจึงไม่มีชนชั้น, มีแต่ผู้เฒ่าและผู้น้อยตามอายุและความรู้ความสามารถ, และแบ่งปันทรัพย์เท่าที่มีอยู่ (ของกิน, ของใช้) อย่างเสมอภาค, ไม่มีใครอดอยาก, หรือหากขัดสนก็อดอยากกันทั้งเผ่า ดังนี้ "ทรัพย์" ไม่มีความหมายและไม่เป็นเครื่องกำหนดว่าใครจะมีอำนาจภายในเผ่า
แต่ในสมัยดึกดำบรรพ์ความสัมพันธ์ ระหว่างเผ่า ไม่มีระเบียบสวยงามเช่นนี้ เผ่าไหนมีชายฉกรรจ์และอาวุธมากกว่า และมีผู้นำเหี้ยมโหดที่สุด, ก็สามารถปล้นเผ่าอื่นได้โดยฆ่าชายทุกคนแล้วลากหญิงไปเป็นเมีย นี่คือระบบ "อำนาจ" สมัยดึกดำบรรพ์
สังคมมนุษย์ (จีน, ฮินดู, พุทธ, มุสลิม, คริสต์ ฯลฯ) ไม่ได้พัฒนาเสมอกันจึงต่างกันมาก, เหลือจะพิจารณาทั้งหมดได้, ผมจึงขอดูเฉพาะยุโรปตะวันตกหลังจักรวรรดิโรมันล้มราวคริสต์ศตวรรษที่ 5-6
ยุโรปก่อนทุนนิยม
ใ นสมัยกลาง (Middle Ages) หรือยุคมืด (Dark Age) ยุโรปตะวันตกแบ่งเป็นนครรัฐต่างๆ แต่ละรัฐจะสะสมพลฉกรรจ์, พลม้า, อาวุธยุทโธปกรณ์แล้วแย่งชิงอำนาจกันด้วยวิธีรุนแรงที่เรียกว่า "สงคราม"
ภายในนครรัฐแต่ละกลุ่ม (แคว้น) ใครๆ ที่ฉลาดกว่ากัน, นักเลงกว่ากัน, หรือเหี้ยมโหดกว่ากัน, สามารถครองที่นาและชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่งก็เป็น "ขุน" เป็น "พระยา" (Earls, Dukes, Barons, Lords ฯลฯ) แล้วส่งพลและเสบียงสมทบทัพหลวง
อย่างนี้เรียกว่า "ระบบศักดินา" (Feudalism), เป็นระบบแบ่งอำนาจกันภายในแคว้นด้วยความรุนแรงเช่นกัน
เริ่มทุนนิยม
ต ่อมายุโรปเริ่มเข้ายุครื้อฟื้นศิลปวิทยา (Renaissance) ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 การค้าระหว่างหัวเมืองและแคว้นต่างๆ มีความสำคัญมากขึ้นรวมทั้งการเงินการธนาคาร, โดยเริ่มตามนครรัฐในอิตาลีเหนือก่อน จะเห็นได้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ตระกูลเมดีจี (Medici) ที่ครองเมือง Florence และแผ่อำนาจทั่วไปนั้นไม่ใช่คนสูงศักดิ์จากยุคเดิม แต่เป็นมหาเศรษฐีนายธนาคารที่มี เงิน ซื้อพลรบ, บำรุงศิลปวิทยา, และซื้อตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาให้หลานๆ ครองกินศาสนา
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 นครรัฐ (City States) ต่างๆ กำลังรวมกันก่อตั้งเป็น ประเทศรัฐ (Nation States) รัฐบาลแต่ละประเทศจะมีนโยบายส่งเสริมการผลิตและการค้า, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าต่างประเทศ ระบบอย่างนี้เรียกว่า Mercantilism, มีผลนำไปสู่การ ล่าเมืองขึ้น (Colonialism), จักรวรรดินิยม (Imperialism), และไม่ต้องสงสัย ความขัดแย้งกันเองว่าใครจะยึดครองทรัพยากรและตลาดในโลกภายนอก
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 (Adam Smith : Wealth of Nations, 1776) นักปราชญ์ผู้ก่อตั้งอุดมการณ์ "เศรษฐศาสตร์เสรีนิยม" (Economic Liberalism) รุ่นแรก ว่า รัฐควรวางเฉย, ปล่อยให้เศรษฐกิจเดินเอง (Laissez Faire) การผลิตและการค้าเสรีจะได้เติบโตขึ้นโดยอัตโนมัติและสร้างความมั่งคั่งผาสุก ให้แก่สังคมโดยทั่วไป
เผอิญปรัชญาใหม่นี้เกิดพร้อมกับการคิดประดิษฐ์เครื่องจักรใหม่ (Technological Revolution) เครื่องจักรเหล่านี้ทำให้นายทุนเจ้าของกิจการสามารถทำลายศิลปหัตถกรรมชาวบ้า นและยึดตลาดทั้งหมดด้วยสินค้าราคาต่ำและคุณภาพสม่ำเสมอ
ทุนนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 19
ใ นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปรัชญาเศรษฐศาสตร์เสรีผนวกกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ต่างสร้างความเหลื่อมล้ำและความอนาถาครั้งยิ่งใหญ่ ที่บ้าน แรงงานหมดศักดิ์ศรี, ไม่มีอำนาจต่อรอง, และมีชีวิตกินอยู่เยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน ในเมืองขึ้น (เช่น อินเดีย) ทรัพยากรทั้งหมดอยู่ในมือของอังกฤษและอุตสาหกรรมพื้นเมือง (ทอผ้า, เครื่องมือ เครื่องใช้) ต่างยกเลิกเพราะสู้ผลิตภัณฑ์ราคาถูกจาก Birmingham ไม่ได้
ดังนี้ "ทุน" ได้จัดแจงแบ่งปันอำนาจระหว่างประเทศได้สำเร็จด้วยความรุนแรงบ้าง, เล่ห์เหลี่ยมบ้าง แต่ภายในประเทศ (เช่น อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน) ระบอบอำนาจไม่มั่นคงเพราะ 1.อำนาจการเมืองโดยมากอยู่ในมือชนชั้นเจ้านายเก่า (เจ้าของที่ดิน), 2.อำนาจเศรษฐกิจอยู่ในมือนายทุนรุ่นใหม่, 3.ชนชั้นกลางมีจำนวนน้อยจึงมีเสียงไม่มาก, และ 4.ชนชั้นกรรมาชีพไม่มีอำนาจต่อรอง คริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงเป็น "ศตวรรษแห่งการปฏิวัติ" ในยุโรป ใครเห็นว่า คาร์ล มาร์กซ์ เป็นยักษ์เป็นมารหรือเพ้อฝันก็ควรกลับไปศึกษาสภาพสังคม-เศรษฐกิจในยุโรปยุคน ั้นให้ดี
ที่สหรัฐไม่ใช่อย่างนั้นเพราะเขามีพลเมืองจำนวนไม่มาก, มีที่ดินและทรัพยากรเหลือเฟือ, คนกรรมาชีพจึงพอหวังกินอยู่ดีได้
มีแต่อินเดียนแดงกับคนผิวดำที่แร้นแค้นไร้อำนาจ
ทุนนิยมในครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 20
ป ลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อุตสาหกรรมสหรัฐ (เช่น น้ำมัน, เหล็ก และรถไฟ) มีลักษณะผูกขาด, รัฐสภาจึงเริ่มออกกฎหมายคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะ ในยุโรปก็เช่นเดียวกัน :- ฝ่ายเสรีนิยมเห็นจำเป็นจะต้องคุ้มครองและให้สิทธิอำนาจแก่ชนที่ถูกเอารัดเอา เปรียบ, และคุมพฤติกรรมของนายทุนให้อยู่ในขอบเขต
ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตะวันตกโดยมากถือระบอบ "ประสม-ประสาน (Mixed Economy), คือเป็น ทุนนิยมเสรี แต่รัฐเข้ามาแทรกแบบ สังคมนิยม ใต้ระบอบประชาธิปไตยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาด, การฮั้ว, การฉ้อราษฎร์บังหลวง, และ "มัจฉาคติ" (ปลาใหญ่กินปลาเล็ก)
ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระบบประสมนี้มีความสำเร็จในระดับหนึ่ง, คือสามารถแบ่งปันอำนาจได้ดีขึ้น เช่น ให้คนส่วนใหญ่ในสังคมมีสิทธิเลือกตั้ง, ทำให้รัฐต้องโปร่งใสและรับผิดชอบมากกว่าเดิม มีการรับรองสิทธิลูกจ้างให้ตั้งสหภาพและต่อรองกับนายจ้าง, และมีความก้าวหน้าด้านสาธารณสุขและการศึกษาสำหรับประชาชน
(ในระยะดังกล่าวมีข้อเว้น, คือประเทศรัสเซียที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงจึงตกเป็นเหยื่อลัทธิ เลนินนิสต์ ที่มีวิธีแบ่งปันอำนาจเฉพาะต่างหากที่ไม่มี "ทุน" เป็นตัวเกณฑ์)
อย่างไรก็ตาม ระบอบประสมนี้ยังมีบกพร่องดังจะเห็นได้จากการที่เศรษฐกิจโลกหดหู่ (ราว ค.ศ.1930) ทำให้คนตกงานเป็นล้านๆ, และเกิดสงครามโลกถึงสองครั้ง (ค.ศ.1914-1918, 1940-1945) ที่ประเทศต่างๆ ใช้อาวุธแบ่งปันอำนาจกันใหม่ ไม่มีใครทราบสาเหตุแท้จริงของสงคราม บางท่านว่าโลภะโทสะโมหะ, บ้างว่าสันดานโหดธรรมดามนุษย์, หรือดาวร้ายแทรก
รัฐเป็นฝ่ายประกาศและดำเนินสงคราม, ไม่ใช่นายทุน อย่างไรก็ตาม สงครามเป็นกิจการแพงมาก, รัฐจึงไม่กล้าเป็นฝ่ายรุก (Aggressor) หากไม่มีทุนสนับสนุน บางทีผู้สนใจเรื่อง "สงครามและสันติภาพ" ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและทุน เป็นไปได้ไหมว่าในบางกรณีสงครามให้กำไรงามกว่าสันติภาพ?
ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระบบทุนนิยมประสม (Mixed Capitalism) มีทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จสร้างสรรค์ ที่สำคัญที่สุดคือมันได้ยกระดับประชาชนจำนวนมากเข้ามาอยู่ใน ชนชั้นกลาง ที่แข็งแกร่ง, มีการศึกษาและอำนาจพอที่จะมีบทบาทรับผิดชอบในการบ้านการเมืองแทนที่จะเป็นฝ่ ายถูกกระทำ, ไม่มีสิทธิรู้เห็นหรือแสดงความคิด
ความสำเร็จนี้ปรากฏในงานของ John Maynard Keynes (นักเศรษฐศาสตร์, ค.ศ.1883-1943) ที่นิยามบทบาทของรัฐในการควบคุมและส่งเสริมกลไกของทุน
ทุนนิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ป ระเทศโลกตะวันตกฟื้นเศรษฐกิจเร็วบ้างช้าบ้าง (สหรัฐไม่ต้องฟื้นเพราะฐานอุตสาหกรรมยังสมบูรณ์อยู่) แต่ทุกประเทศรวมทั้งสหรัฐถือหลักการของ Keynes ว่ารัฐต้องมีบทบาทแทรกแซงเศรษฐกิจไม่ให้ตลาดหัวขวิดก้นคว่ำ มีการตกลงระบบกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ งานสาธารณูปโภค (น้ำ, ไฟ, ไปรษณีย์-โทรคมนาคม ฯลฯ) เป็นหน้าที่ของรัฐ, รวมทั้งการสาธารณสุขและการศึกษาระดับประชาบาล
มีการควบคุมธนาคาร, สถาบันการเงินอื่นๆ, ตลาดหลักทรัพย์และกองทุนต่างๆ ไม่ให้เล่นพิเรนทร์, ไม่ให้เล่นถั่วหาย มีการก่อตั้งเป็นรัฐสวัสดิการ (Welfare State) ที่รับรองว่าไม่มีประชากรผู้ใดจะถูกทอดทิ้งให้อดตาย
ระบบประสม (ทุนนิยม+สังคมนิยม) นี้มีล้มลุกบ้าง, แต่โดยมากมีความสำเร็จหลายอย่าง เช่น 1.เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง, 2.ดึงประชากรส่วนใหญ่เข้ามาเป็นชนชั้นกลาง, 3.ลดความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้ง, 4.แบ่งปันอำนาจในสังคมให้โปร่งใสและยุติธรรม
แต่ถึงต้นทศวรรษที่ 1980 หลักการ "ประสม" ของ Keynes ถูกฉีกทิ้งลงถังขยะและทุนนิยมเปลี่ยนโฉมใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ทุนนิยมปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20
ต ้นทศวรรษ 1980 Ronald Reagan ในสหรัฐ และ Margaret Thatcher ในอังกฤษ ต่างเลิกศรัทธาหลักการ "เศรษฐกิจประสม" ของ Keynes ว่าเป็นนโยบายล้าหลังกีดขวางและขัดขาการดำเนินการของระบบทุน ท่านทั้งสองกลับศรัทธาทฤษฎี "ตลาดเสรี" (Free Markets) ของ Milton Friedman (นักเศรษฐศาสตร์ ค.ศ.1912-?)
ท่านว่าการแทรกแซงของรัฐทำให้ตลาดบิดเบี้ยวไม่สมดุล ดังนั้น รัฐควรวางเฉย, ปล่อยให้ตลาดเสรีเป็นตัวคุมเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ
เคยได้ยินอะไรคล้ายๆ กันมาก่อนไหม? ใช่แล้ว! มันคือคำสอน Laissez Faire ของ Adam Smith เจ้าเก่า กลับคืนชีพอีกครั้ง, ทั้งๆ ที่ประสบการณ์ 300 ปีแสดงว่า "ตลาดเสรี" ไม่มีตัวจริงแต่เป็นเรื่องหลอกตัวเอง (หรือหลอกชาวบ้าน?) ทั้งนี้ เป็นเพราะตลาดย่อมผูกขาดและปิดบัง (ในระดับหนึ่งระดับใด) โดยนิยาม, มิเช่นนั้นพ่อค้าจะทำกำไรสม่ำเสมอไม่ได้
โดยนิยามแล้ว "ตลาดเสรี" คือการพนันบริสุทธิ์แท้ที่ทั้งเจ้ามือและลูกมือโกงกันไม่ได้เลย เกม "ตลาดเสรีจริงๆ" นี้อาจจะเล่นกันสนุกวันยังค่ำ แต่ไม่มีใครรวยครับ, เพราะในตลาดเสรีจริงๆ โกงกันไม่ได้ และไม่มีทางที่ใครจะเป็นมหาเศรษฐี
น่าชวนพวกมหาเศรษฐี (และสหาย) ที่อ้างว่าตนเป็น "อนุรักษนิยมใหม่" (Neo-cons) และ "เสรีนิยมใหม่" (Neo-libs) มาเล่นใน ตลาดที่เสรีจริงๆ แต่ท่านคงไม่เอาเงินมาเล่นในบ่อนนี้แน่ๆ เพราะกลัวหมดตูด
ในขณะที่โลกตะวันตกกำลังรื้อฟื้นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ล้าสมัย, นักคิดในโลกสังคมนิยม (เช่น เติ้ง เสี่ยว ผิง และ มิคาอิล กอร์บาช็อฟ) กำลังคิดการใหม่ว่าทฤษฎีมาร์กซ์-เลนิน-เหมา เจ๋อ ตุง บกพร่องเป็นที่น่าเสียดายว่า ความเปลี่ยนแปลงในโลกสังคมนิยมเกิดในขณะนั้นพอดี, เพราะชวนให้เข้าใจผิดว่า
สังคมนิยมตกถังขยะประวัติศาสตร์แล้วทุนนิยมมีชัยชนะและเป็นเจ้าของบรมสัจจะทางทางเศรษฐกิจ, สังคมและการเมืองอย่างเถียงไม่ได้
ทุนนิยมในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21
ผ ู้มีอำนาจทางการเมืองปัจจุบันบางคน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายโทนี่ แบลร์, นายบุช ผู้ลูก, และ นายทักษิณ ชินวัตร) ดูเหมือนต่างสืบทอด มรดกความคิด ทางการเมือง-เศรษฐกิจ จากผู้นำรุ่นก่อน, คือ นายเรแกน (ดาราหนังชั้น B), นางแทตเชอร์ (วิศวกรเคมี) และนายบุชผู้พ่อ (พ่อค้านักเก็งกำไรผูกขาด)
มรดกความคิดดังกล่าวเรียกว่า "ระบบเศรษฐกิจใหม่" (The New Economy), ประกอบด้วย
1. "ตลาดเสรี" ที่ไม่เสรีเพราะบรรษัทของประเทศมหาอำนาจเป็นเจ้ามือแจกไพ่ซ่อนถั่ว
2. "โลกาภิวัตน์" ซึ่งก็น่าจะเป็น "จักรวรรดินิยมใหม่" (Neo-Colonialism) คือการเสนอลูกปัดสวยๆ กับน้ำเมาแลกเปลี่ยนกับสิทธิที่จะเข้ามาครอบครองเศรษฐกิจของประเทศ
ขบวนการใหม่นี้ (This New Regime) คืออะไรกันแน่?
1. ความสำเร็จสุดยอดและสมบูรณ์แบบของทุนนิยม (Triumph of Perfect Capitalism)?
2. การบิดเบือนบ่อนทำลายทุนนิยม (Distortion and Perversion of Capitalism)?
3. ความคิดใหม่เอี่ยม (New Theory) ที่จะนำโลกไปสู่ความมั่งคั่งยุติธรรมเสมอภาคเยี่ยงยุคพระศรีอาริย์?
ท่านผู้อ่านช่วยกันคิด, เพราะผมจนใจจริงๆ
ที่มา: คอลัมน์ฝรั่งมองไทย มติชนออนไลน์