Friday, March 31, 2006

 

Vote No! กา [x] งดออกเสียง


ด้วยความเป็นห่วงการเลือกตั้งครั้งนี้ที่รัฐบาล "ทักษิณ" พยายามจะนำมาฟอกตัว ทั้งได้รับฟังข่าวคราวเกี่ยวกับการฮั้ว การเตรียมการโกงการเลือกตั้ง ซึ่งจะเกิด "สภาโจ๊ก" ขึ้นมาในบ้านในเมือง ในที่สุดทักษิณ ก็จะกลับมาอ้างความชอบทำเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีอีก

ซึ่งน่าจะเกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย เพราะประชาชนเป็นจำนวนมากจะไม่ยอมรับการเลือกตั้ง และ ไทยรักไทย ก็จะต้องเดินเกมยุยงให้ประชาชนที่สนับสนุนเขาออกมากดดันฝ่ายต่อต้าน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะไม่เกิดการกระทบกระทั่งกัน อันอาจจะนำไปสู่ความรุนแรงได้

ถ้าเราไม่อยากให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการฟอกตัวของ "ทักษิณ" คงต้องช่วยกันรณรงค์ให้ไปเลือกตั้งโดยการงดออกเสียง ขอเชิญชวนทุกท่านที่เห็นว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้ถูกบิดเบือนช่วยกันนำโลโก้ไปเผยแพร่ ตามเว็บไซต์ของท่านด้วยครับคลิกขวาแล้ว Save as ไปได้เลยครับ "ไม่สงวนสิทธิ์ในการปรับแต่งย่อขยายครับ" รวมทั้งได้รับอนุญาตให้ลิ้งค์ไปที่เว็บ http://www.tuthaprajan.org ด้วยครับ

VoteNO large   VoteNo small


เพิ่มเติม:
วันนี้ได้อ่านข่าวม็อบคนจนปิดล้อมอาคารตึกสำนักงานเครือเนชั่น ถ.บางนา-ตราด และเจ้าหน้าที่ของรัฐเหมือนกับจะจงใจเข้าไปควบคุมสถานการณ์ช้ากว่าที่ควรจะเป็น ชี้ให้เห็นว่าเป็นการอาศัยเหตุการณ์นี้ข่มขู่คุกคามสื่อมวลชน

เหตุการณ์ล่าสุดที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นคือกลุ่มคนเชียงใหม่ (บางกลุ่ม) ประมาณเกือบพันคน ที่ได้รับการสนับสนุนโดยนักการเมืองท้องถิ่นเข้าไปโจมตี และทำร้ายแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ถึงหน้าเวทีปราศัยภายในอาคารหอศิลป์ มช. จนทำให้ต้องยกเลิกการปราศัย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรามาก่อน ทำให้เกิดความตึงเครียดในสังคมขึ้นเป็นอย่างมาก และถ้าคนของรัฐบาลรู้เห็นเป็นใจ หรือ หยิบเอาอารมณ์ของประชาชนมาใช้เพื่อข่มขู่คุกคามฝ่ายพันธมิตรแล้วล่ะก็ ก็น่าเป็นห่วงสถานการณ์เป็นอย่างยิ่ง

vmlinix

ข้อมูลน่าสนใจ:
โครงการ Vote for NO VOTE (www.tuthaprajan.org)
ประชาไท (http://www.prachatai.com)
Fringer | คนชายขอบ (http://www.fringer.org)

Sunday, March 26, 2006

 

จากใจคนจนถึงคนจน: จากราชดำเนินถึงสวนจตุจักร


สมัยก่อนมีความรู้สึกไม่ค่อยดีกับพวกสมัชชาคนจน รู้สึกว่าจะออกมาประท้วงเรียกร้องได้ทั้งปีทั้งชาติ รวมทั้งพวกผู้นำสมัชชาน่าจะอาศัยคนจนและความเดือดร้อนของคนจนเป็นเครื่องมือและแสวงหาประโยชน์ใส่ตัว...แต่เมื่ออ่านจดหมายฉบับนี้แล้วกลับรู้สึกเห็นใจพวกเขาเหล่านั้นมากขึ้น...

vmlinix

- - - o o O o o - - -

บรรทัดจากนี้ไป เป็นจดหมายจากคนจนบนถนนราชดำเนิน ฝากผ่านประชาไทถึงคนจนในสวนจตุจักร เป็นจดหมายจากคนจนถึงคนจน ซึ่งคนจนกลุ่มหนึ่งกำลังขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะประสบการณ์บอกว่าไม่ควรเชื่อแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนของบุคคลผู้นี้ ขณะที่คนจนอีกกลุ่มหนึ่งยืนยันความเชื่อที่ต่างออกไป

.......................................................................


พวกเราก็เป็นคนจนเหมือนกัน ยากจนจากการพัฒนาที่ผิดพลาดมาโดยตลอดของรัฐบาลหลายสมัย รวมทั้งโครงสร้างของสังคมเศรษฐกิจอันเหลื่อมล้ำ ที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข มีแต่ทำให้กลายเป็นโครงสร้างของความรุนแรงในการเอารัดเอาเปรียบมากขึ้น

เราก็เกิดและเติบโตบนแผ่นดินเดียวกับท่าน บนที่ราบสูงที่มีแม่น้ำสีครามไหลผ่าน ยังจำได้เมื่อตอนท่านกับเราพบกันในการชุมนุมของสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสา น ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีการแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า เราต่อสู้ร่วมกันเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจาการสร้างเขื่อน (พวก Ngo ม องว่าเขื่อนในประเทศไทย หลายพันแห่งทั้งเล็กทั้งใหญ่ ไม่มีเขื่อนไหนที่จ่ายค่าชดเชยให้ผู้เสียสละได้อยู่ดีกินดีเหมือนตอนก่อนสร้ างเขื่อน ดูกรณีแม่ไฮ ขันจันทาก็ได้)

เราชุมนุมร่วมกันท่ามกลางแดดร้อนเปรี้ยง เป็นเวลาหลายเดือน เดินเท้าทางไกลหลายร้อยกิโลเมตร ทั่วภาคอีสานเพื่อแสดงความเดือดร้อนของเรา แต่ก็ไม่ได้รับความเห็นใจจากรัฐบาลเลย ทุกรัฐบาลพูดเหมือนกันหมดว่าพวกเราเป็นม็อบรับจ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงการยอมรับปัญหาของพวกเรา ยังพี่น้องที่อยู่ในเขตที่ทางการประกาศทับ ไม่ว่าจะเป็นป้ายยี่ห้ออะไร ก็ตาม เช่น เขตอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณประโยชน์ แต่ไม่เคยทับที่นายทุน พวกเราถูกขับไล่อพยพออกเป็นว่าเล่น ไม่ว่าจะอยู่บนดอย ที่ราบ หรือเกาะกลางทะเล

พวกเราไม่ได้ยากจนเพราะไม่มีเงิน แต่ยากจนเพราะถูกขับไล่ออกจากบ้าน และแหล่งทำมาหากินของพวกเราเอง พวกนายทุนขนไม้ออกจากป่าเป็นคันรถ พวกเราได้แต่ยืนดูตาปริบๆ แต่ถ้าพวกเราจะไปหาฟืน หน่อไม้ ผักบ้านต่างๆ จะถูกจับกุมราวกับเป็นอาชญากรทันที

พี่น้องบนดอยถางไร่เพื่อปลูกข้าวพอเลี้ยงครอบครัว เจ้าหน้าที่ป่าไม้ใส่ชุดพรางก็ไล่จับไล่ยิงเหมือนพรานล่าเหยื่อ แต่พวกนายทุนโดยเฉพาะคนที่ใกล้ชิดนักการเมือง สามารถมีที่ดินบนดอยได้เป็นหมื่นๆไร่ สร้างรีสอร์ทหรูหรา อ้างว่าส่งเสริมการท่องเที่ยว

พวกเราไม่มีจะกิน ส่งลูกหลานเข้าเมืองไปขายแรงงาน รัฐบาลก็มักจะยอมให้นายทุนหน้าเลือดทั้งหลายขูดรีดอย่างแสนสาหัส ในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ร่างกายของพวกเรารับสารพิษเข้าไปมากมาย เราอายุ ๓๐ ปี เหมือนอายุ ๕๐ ปี ร่างกายทรุดโทรมถูกนายจ้างไล่ออก ไม่มีการจ่ายค่าทดแทนใดๆ เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องทำอย่างนั้น แรงงาน ๑ ในล้านของพวกเราเท่านั้นที่เจอนายจ้างที่ดีเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม

สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราในโรงงานจำนวนมากหรือแหล่งก่อสร้างต่างๆ ไม่ต่างอะไรกับนรกบนดิน นายจ้างเบี้ยวค่าแรง พวกเราถูกโยนออกจากห้องเช่า เสื้อวินมอเตอร์ไซด์ตัวหนึ่งหลายหมื่นบาท ค่าไฟฟ้า น้ำประปาในที่อยู่อาศัยแบบชุมชนแออัดของพวกเรา แพงกว่าพวกที่อยู่บ้านจัดสรร ถ้ามีลูกออกมา เราก็ไม่รู้ว่าจะเลี้ยงดูเขาเองหรือจะส่งไปอยู่กับปู่ย่าตายาย ที่ก็ดูแลตัวเองไม่ค่อยไหวแล้ว

รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย บอกว่าส่งเสริมเกษตรกรให้อยู่ดีกินดี แต่เราเห็นแต่บริษัทซีพีใหญ่ขึ้นแตกสาขาไปทั่ว ปู ปลา กุ้ง หอย ในแม่น้ำหมดไป เพราะการสร้างเขื่อนปิดกั้น และให้โรงงานปล่อยน้ำเสียลงไป เหลือแต่กะชังของบริษัทซีพีอยู่ได้ คนหาปลาหลายหมื่นครอบครัว ในลำน้ำ ต้องอพยพเปลี่ยนอาชีพ เหลือเจ้าของปลากะชังไม่เกินร้อยราย เป็นอย่างนี้ทั่วประเทศ ที่เรารู้ก็เพราะเวลาชุมนุมผู้เดือดร้อนจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมาเจอกัน ก็พูดอย่างนี้เหมือนกันหมด

พี่น้องหลายจังหวัดทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ เลิกปลูกหอม กระเทียม เลิกทำไร่ ทำสวนผลไม้ ไปเป็นจำนวนมากเพราะเจ๊งหมด ราคาพืชผลคนปลูกไม่ได้กำหนด พ่อค้าแม่ค้าเป็นคนกำหนด การต่อรองที่เสียเปรียบแบบนี้มีมานานหลายสิบปี ไม่เคยเห็นรัฐบาลไหนแก้ได้ อ้างราคาตลาดโลก อ้างกระทบการลงทุน อ้างการค้าเสรี กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ สำรองไฟมหาศาล จนเป็นหนี้ท่วมแล้วไปโยนไว้ในค่า FT พวกเราจ่ายจนอ่วม

พี่น้องที่เป็นผู้เสียสละให้เขาสร้างเขื่อน สร้างโรงไฟฟ้า ผลิตไฟ ไม่มีปัญญาใช้ไฟ เพราะถูกอพยพไปเป็นขอทานในที่ดินคนอื่น แต่พนักงานกฟผ.ใ ช้ไฟฟ้าฟรีตลอดชีวิต โบนัสเงินเดือนกินกันจนอิ่มหมีพีมัน แล้วยังจะขายกิจการให้ต่างชาติผ่านการแปรรูป เพื่อหวังเพิ่มมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ ทรัพย์สินพวกเราแท้ๆ พวกโจรเสื้อนอกปล้นไปขายกินอย่างหน้าด้าน

ยังอีกหลายเรื่องที่เราคนจนรู้ทันพวกนักการเมือง แต่เราไม่มีอำนาจพอที่จะไปบังคับให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัวมารับใช้พวกเราที ่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ทั้งนี้เพราะพวกเรามักจะถูกทำให้ต้องแบ่งแยกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย เพื่อง่ายแก่การปกครอง ทั้งการมอมเมาจากสื่อต่างๆ ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งในความฝัน ว่าความยากจนของพวกเราเกิดมาจากกรรมเก่า ชาติก่อน เกิดจากความเกียจคร้านของพวกเรา พวกเราไม่มีทางช่วยเหลือตัวเองได้ นอกจากรอให้มีเทวดามาช่วยเป็นครั้งคราวไป หรือไม่ก็ก้มหน้ารับกรรมไป ชดใช้กรรมให้หมดสิ้น ทำบุญเข้าไว้เผื่อว่าชาติหน้าจะได้ไม่เกิดมาจน

มีบางคนบอกว่าท่านนายกทักษิณ เป็นอัศวินควายดำ จะมาจัดการปัญหาความยากจนให้หมดไป พวกเราก็รอแล้วรอเล่า ทะเบียนคนจนก็ลงไว้ตั้งนานแล้ว ค่าชดเชยเขื่อนที่รอมา ๓๐ ปี บ้าง ๒๐ ปีบ้าง ก็ไม่เห็นจ่ายให้ ปัญหาที่ดินทำกินจะแก้ให้ พวกเราก็ไปชี้บอกว่าที่ตรงนี้เป็นของนายทุนต่างชาติมาเช่าไว้ผิดกฎหมาย หมดสัญญาเช่านานแล้ว ก็กลับเอาตำรวจมาจับพวกเราว่าก่อความวุ่นวาย จับพี่น้องเราที่ลำพูน ตัดต้นลำไยที่เขาปลูกไว้ ตั้งข้อหาบุกรุก และข้อหาอื่นๆ ๕๐ ข้อหา กะว่าจะขังจนตาย

พี่น้องภาคใต้หาข้อมูลเรื่องที่ดินนายทุนหมดสัญญาเช่าเป็นแสนๆไร่ แทนที่จะยึดที่กลับคืนมาจัดสรรให้คนยากไร้ กลับสลายการชุมนุมจับถอดเสื้อ ไขว้หลังให้นอนราบกับพื้น บางคนถูกท็อบบู๊ตกระทืบปางตาย แกนนำถูกจับดำเนินคดีนับสิบข้อหา พี่น้องบ้านกรูด บ่อนอกต่อต้านโรงไฟฟ้ามหาภัย ถูกไล่ยิงไล่ฆ่า ท่อก๊าซมาเลเซียพลังไทยเพื่อใคร เพื่อความร่ำรวยไม่รู้จักพอของใคร

มาบัดนี้ เราคนจนถูกแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายที่อยู่สวนจตุจักร กับฝ่ายที่อยู่ถนนราชดำเนิน แม้เราจะจนเงิน ก็ไม่ควรจนปัญญา ขอให้ท่านวิเคราะห์ให้ดี นโยบายและคำสั่งอะไรบ้างของรัฐบาลที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานของเราได้ ให้พวกเราคนจนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีตลอดไป ไม่ใช่เป็นทาสในระบบอุปถัมภ์ ที่จะต้องรอคอยเศษเงินที่จะหล่นลงมาบ้างเป็นบางคราว และชีวิตที่เหลืออยู่ก็ต้องทุกข์ทรมานด้วยโซ่ตรวนของนายทาส ที่จะปลดแอกเมื่อวันสิ้นลมเท่านั้น

พี่น้องคนจนที่สวนจตุจักรที่รัก เราไม่โทษพวกท่านส่วนใหญ่ ที่ถูกความเชื่อผิดๆ และระบบพรรคพวกพากันมา แต่เราขอเตือนบรรดาแกนนำที่เราก็รู้จักกันดี เพราะท่านรู้ดีว่ากำลังทำอะไรอยู่

ถ้าท่านจะยังคงสนับสนุนระบอบทักษิณูปถัมภ์ ก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าท่านจะก้าวล้ำเส้น ถึงขั้นพาพี่น้องมาเข่นฆ่ากันเอง ด้วยวิธีการของท่าน ก็จงจำไว้ว่า จะไม่มีคืนไหนเลยที่ท่านจะนอนหลับสบาย โดยไม่มีภาพแห่งความทารุณโหดร้ายที่ท่านก่อขึ้นเองตามมาหลอกหลอนทุกคืน นายทักษิณ ชินวัตร หมดความชอบธรรมที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยหนี้เลือด หนี้ชีวิตที่ก่อขึ้นไว้ กับคนจนอันมหาศาลทั่วประเทศ

ไล่นายกฯยังไม่หนักเท่าพวกเราคนจนทั้งมวลจะตื่นตัวรู้ทัน เกิดปัญญาที่จะรวมตัว ปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมอันยุติธรรมนี้ได้อย่างไร ทำอย่างไรคนจนอันไพศาล จะกลายเป็นคลื่นยักษ์โถมซัดชายฝั่ง ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองใหม่ ที่เราผู้ยากไร้ทั้งมวลจะสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองได้


คนจนที่ถนนราชดำเนิน
สมัชชาคนจน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาไทย

Friday, March 24, 2006

 

ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาด ล้มกระดานแปรรูป กฟผ.


หมายเหตุ - นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด พร้อมองค์คณะได้นั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.5/2549 ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวกยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรีกับพวกต่อศาลปกครองสูงส ุด ว่า พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2548 และ พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2548 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 23 มีนาคม ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 2

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ได้กำหนดกระบวนการเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่กฎหม ายจัดตั้งขึ้น ให้เป็นรูปแบบบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด โดยมีบทบัญญัติที่กำหนดขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญไว้ คือ มาตรา 4 กำหนดว่า ในกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจใดมาเปล ี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท ให้กระทำได้ตาม พ.ร.บ.นี้ โดยมีคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท และคณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจหน ้าที่ในการดำเนินการตามกระบวนการในแต่ละขั้นตอน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน

และเมื่อได้ดำเนินก ารในแต่ละขั้นตอนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงจะดำเนินการในขั้นตอนสุดท้ายต่อไปได้ คือ การตรา พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการกำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทตามมาตรา 26 และ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการกำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 28 และเมื่อดำเนินการตรา พ.ร.ฎ.ทั้งสองฉบับเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงจะทำให้การเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจจากองค์การของรัฐมาเป็นรูปแบบบริษั ทเสร็จสมบูรณ์ และโดยที่การดำเนินการเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่ฝ่ายนิติบัญญัติมอบให้ฝ่ายบริหารดำเนินการได้โดยไม่ต ้องเสนอกฎหมายต่อฝ่ายนิติบัญญัติอีก ดังนั้น การดำเนินการในทุกขั้นตอนจึงมีความสำคัญ และต้องเป็นไปเพื่อการปกป้องการดำเนินการที่รัฐธรรมนูญถือว่าอยู่ในอำนาจหน้ าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ให้เป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติของกฎหมายโดยเคร่งครัด

ปัญหาของ พ.ร.ฎ.ทั้งสองฉบับชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่ามาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 กำหนดให้มีคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ประกอบด้วย ผู้ดำรงตำแหน่งในทางราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17(5) ประกอบกับมาตรา 5 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว

และโดยที่คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ งบริษัท ถือเป็นคณะกรรมการที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการดำเนินการเปลี่ยนทุนของรัฐวิส าหกิจเป็นหุ้นของบริษัท โดยมีหน้าที่กำหนดกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจส่วนที่จะโอนให้แก่บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นและส่ว นที่จะให้ตกเป็นของกระทรวงการคลัง กำหนดพนักงานที่จะให้เป็นลูกจ้างของบริษัท กำหนดทุนเรือนหุ้นหรือทุนจดทะเบียนสำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำนวนหุ้ น และมูลค่าของหุ้นแต่ละหุ้น ตลอดจนรายการต่างๆ ที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น กำหนดชื่อบริษัทโครงสร้างการบริหารงานของบริษัท รายชื่อกรรมการบริษัท และผู้สอบบัญชี จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท จัดทำร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทที่จัดตั้งใหม่ จัดทำร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกรัฐวิสาหกิจในกรณีที่มีการโอนกิจการของรัฐวิสาห กิจทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว และเมื่อดำเนินการแล้วต้องเสนอผลการดำเนินการให้คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสา หกิจพิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนทุนของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นหุ้นของบริษัทและการจัดตั้งบริษัท

ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะที่นายโอฬาร ไชยประวัติ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท นั้น นายโอฬารเป็นกรรมการในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการสื่อสารและโทรคมนาคม จึงเป็นนิติบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ กฟผ. ซึ่งมีระบบรับส่งข้อมูลประกอบด้วยเส้นใยแก้วนำแสง และต่อมาบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งบริษัท กฟผ.โทรคมนาคม จำกัด เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมและการสื่อสารทุกชนิด บริษัท ชินคอร์ป จึงมีประโยชน์ได้เสียกับกิจการของ กฟผ. และบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)

นอกจากนั้น นายโอฬารยังเป็นกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ กฟผ.ซื้อก๊าซธรรมชาติจากบริษัท ปตท. อีกด้วย นายโอฬารจึงเป็นกรรมการในนิติบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการ ของ กฟผ.และบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) และมีลักษณะต้องห้ามเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบ ริษัท และตามหลักฐานประวัติของนายโอฬารที่ใช้ประกอบการพิจารณาออกคำสั่งแต่งตั้งก็ ระบุการเป็นกรรมการดังกล่าวไว้ชัดเจน นายโอฬารจึงเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ในค ณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท อันเป็นการขัดต่อหลักความเป็นกลางซึ่งผู้มีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งได้รู้หรื อควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแล้ว คำสั่งแต่งตั้งนายโอฬารเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั ้งบริษัทจึงขัดต่อกฎหมาย และถือได้ว่าเป็นเหตุอันมีสภาพร้ายแรง

และไม่อาจนำหลักการพ้นจากตำแหน่งที่ว่าไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏ ิบัติไปตามอำนาจหน้าที่เพราะเหตุการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และตามหลักกฎหมายทั่วไป มาใช้กับกรณีนี้ จึงมีผลทำให้การกระทำใดๆ ของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทเสียไปทั้งหมด หรือไม่มีผลทางกฎหมาย

นอกจากนั้น นายปริญญา นุตาลัย ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก็ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในทางกฎหมายถือว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงมีลักษณะต้องห้ามเป็นกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามข้อ 5(3) ของระเบียบคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2543

และข้อเท็จจริงยังป รากฏต่อไปว่า ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง (9) ประกอบกับข้อ 6 และข้อ 9 ของระเบียบเดียวกัน อันเป็นขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญก่อนการตรา พ.ร.ฎ.ทั้งสองฉบับประกาศในหนังสือพิมพ์ และไม่ได้จัดให้มีการประกาศในหนังสือรายวันฉบับภาษาไทยฉบับเดียวกันติดต่อกั นสามวัน แต่กลับประกาศในหนังสือพิมพ์แยกเป็นสามฉบับ โดยประกาศฉบับละหนึ่งวัน ซึ่งไม่ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าว อันเป็นการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของบทบ ัญญัติในมาตรา 59 ของรัฐธรรมนูญ และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง (9) แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2543

ในส่วนของบทบัญญัติใน พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2548 มิได้มีบทบัญญัติใดที่จำกัดอำนาจการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นอำนาจมหาช น และเป็นอำนาจเฉพาะของรัฐ และบทบัญญัติในมาตรา 8 ที่ให้อำนาจบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) กระทำได้โดยมีเงื่อนไขว่าต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกิจการผลิตไฟฟ้ า คือการประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้า เดินสายส่งไฟฟ้า หรือสายจำหน่ายไฟฟ้าไปใต้ เหนือ ตาม หรือข้ามพื้นดินของบุคคลใด ปักหรือตั้งเสาสถานีไฟฟ้าย่อยหรืออุปกรณ์อื่นลงในหรือบนพื้นดินของบุคคล และอำนาจรื้อถอนโรงเรือนหรือทำลายสิ่งอื่นที่สร้างขึ้นหรือทำขึ้น หรือทำลาย หรือตัดฟัน ตัดต้น กิ่ง หรือรากของต้นไม้ หรือพืชผลในเขตเดินสายไฟ้ฟ้า อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน ก็ไม่อาจกระทำได้ตามมาตรา 48 และมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ ประกอบกับมาตรา 26 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542

สำหรับในส่วนที่เกี่ยวก ับทรัพย์สินของ กฟผ.ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ทรัพย์สินดังกล่าวได้มาจากการเวนคืนเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซและโรงไ ฟฟ้าพลังน้ำในท้องที่ตำบลบางปะกง เนื้อที่ประมาณ 176 ไร่ และสิทธิเหนือพื้นดินเกี่ยวกับระบบส่งไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าทั้งหมดซึ่งเป็นทร ัพย์สินอันติดอยู่กับที่ดินและเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 139 ประกอบกับมาตรา 1298 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นสิทธิที่ก่อตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะตามมาตรา 1304 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นที่ราชพัสดุตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 ซึ่งไม่อาจโอนไปให้บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ได้เช่นกัน

ด้วยเหตุผล ที่วินิจฉัยข้างต้น ศาลปกครองสูงสุดจึงเห็นว่า การดำเนินการในขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญในการเปลี่ยนทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแ ห่งประเทศไทยเป็นหุ้นของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทได้เสียไปทั้ งหมดหรือไม่มีผลตามกฎหมาย ย่อมมีผลทำให้การดำเนินการต่อมา รวมทั้งมติของคณะรัฐมนตรีที่มีมติอนุมัติเปลี่ยนทุนของ กฟผ.เป็นหุ้นและจัดตั้งบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) รวมทั้งการออก พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2548 และ พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2548 เสียไปด้วยเช่นกัน

พิพากษาเพิกถอน พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2548 และ พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2548 ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2548 ซึ่งเป็นวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์
24 มีนาคม 2549

Tuesday, March 21, 2006

 

หลังทักษิณ : เศรษฐกิจตลาดพอเพียง (Post Thaksin : Sufficient Market Economy)


โดย เสรี พงศ์พิศ www.phongphit.com โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

สิ่งที่ผู้คนต่อต้านและต้องการโค่นล้มวันนี้ไม่ใช่คนที่ชื่อทักษิณ ชินวัตร เท่านั้น แต่เป็น "ระบอบทักษิณ" หรือ "ทักษิณพาราไดม์" (Thaksin Paradigm) กระบวนทัศน์แบบทักษิณ ซึ่งแปลว่า "วิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า ซึ่งตั้งอยู่บนฐานการมองโลกความเป็นจริงแบบหนึ่ง"

ทักษิณมองโลกความเ ป็นจริงแบบปฏิบัตินิยมสุดโต่ง (Extreme Pragmatism) ใช้เสรีนิยมสุดขั้วเพื่อก่อให้เกิดทุนนิยมสุดลิ่มทิ่มประตู ใช้ทุกวิถีทาง (เงินและอำนาจ) เพื่อให้มันเกิดให้ได้ โดยไม่สนใจว่า เครื่องมือและเป้าหมายจะ "ไปด้วยกัน" ได้หรือไม่ เป็นอันเดียวกันได้หรือไม่ เพราะเขาถือว่า ผลลัพธ์สำคัญที่สำคัญ วิธีใดไม่สำคัญ ขอให้ได้ผลที่ต้องการก็พอ

เพื่อแก้ปัญหายาเสพติด คนจำนวน 2,500 คน จึงตายไปโดยหาคำอธิบายให้โลกศิวิไลซ์เข้าใจไม่ได้ ความรุนแรงในภาคใต้ ตากใบ และกรือเซะ และกรณีความฉ้อฉลการโกงชาติที่พิสูจน์สัจธรรมที่ว่า ยิ่งมีอำนาจมาก ยิ่งฉ้อฉลมาก (absolute power.corrupt absolutely...)

คงเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกกระมังที่ถูกกล่าวหาว่า "ขายชาติ" ถูกไล่และประณามอย่างรุนแรงเช่นนี้

สำหรับทักษิณพาราไดม์ ประชาธิปไตยไม่ใช่เป้าหมาย เป็นเพียงเครื่องมือไปสู่อำนาจ ไปสู่ทุนนิยม ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์สูงสุด จึงเป็นที่มาของการทำทุกวิถีทางที่จะได้ ส.ส.ให้มากที่สุด การครอบงำสื่อ การครอบงำองค์กรอิสระ จนไม่มีการตรวจสอบ จนต้องตรวจสอบโดยประชาชนนอกสภาและในทุกรูปแบบอย่างที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งดุเดือดเลือดพล่านและรุนแรงมากกว่าในสภา

เขาทำได้ทุกอย่างโดยไม่ สนใจ "จริยธรรม" แล้วก็ต้องตกม้าตายเพราะ "ขาดจริยธรรม" เพราะแยก "ถูกต้อง" ออกจาก "ดี-งาม" นึกว่าจะแยกได้ อ้างตลอดเวลาว่าถูกต้องตามกฎหมายแต่บ่ายเบี่ยงที่จะตอบคำถามเรื่อง "จริยธรรม"

เขาทำทุกอย่างในนามของการพัฒนาประเทศ เป็นวิถีทุนนิยมที่เขาอ้างเสมอว่า "คุณต้องอยู่กับมัน ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม" ซึ่งเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว เพราะเขาไม่ได้บอกว่าจะอยู่กับมันอย่างไร แบบไหนจึงจะ "สมดุลและยั่งยืน" กว่าที่กำลังเกิดขึ้นวันนี้ที่ประเทศไทย

ถ้าจะอยู่กับมันจำเป็นต้องข าย "สมบัติชาติ" ขายรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องทำเอฟทีเอไปทั่วแบบมีผลประโยชน์แอบแฝง และอื่นๆ อีกร้อยแปดที่ปูดออกมาทั้งในสภา นอกสภา ทั้งลานพระบรมรูปและสนามหลวง ทั้งในอินเตอร์เน็ต ในสถาบันการศึกษา (ข้อสอบ มธ. และศาลจำลอง มธ.เป็นตัวอย่าง) ในการประชุมสัมมนา สภากาแฟ และที่บ้าน

อีกด้านหนึ่ งอาจจะเข้าใจว่า คนที่เห็นด้วยและสนับสนุนระบอบทักษิณก็ยังมีอยู่ไม่น้อย เงินและอำนาจสามารถสร้างระบบอุปถัมภ์เอื้ออาทร แต่ทำให้คนอ่อนแอลง กลายเป็นไม้ในกระถางที่เขารดก็สดชื่น เขาไม่รดก็เหี่ยวเฉา

ระบอบ ทักษิณก่อให้เกิดมาตรการต่างๆ ที่เรียกกันว่า ประชานิยม ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นการสร้าง "สวัสดิการ" ให้ประชาชนโดยเฉพาะคนรากหญ้า คนระดับล่าง ซึ่งหลักของประชานิยมกับระบบอุปถัมภ์ตามแบบทฤษฎีพึ่งพา (dependency theory) นั้นอันเดียวกัน

เป็นอะไรที่เกี่ยวโยงกับระบอบท ักษิณ ทักษิโณมิกส์ ภายใต้ทักษิณพาราไดม์ คือ ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนของทุนให้มากที่สุด ให้คนบริโภคมากที่สุด การพัฒนาประเทศวัดกันที่จีดีพี อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง

กองทุนหมู่บ้ านหนึ่งล้านก็ดี SML ก็ดี การพักชำระหนี้ก็ดี ได้ก่อให้เกิดหนี้สินในครัวเรือนของคนรากหญ้าแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เนื่องมาจากการส่งเสริมการบริโภคแบบสุดขั้วด้านหนึ่ง และยื่นเงินมาให้ใช้อีกด้านหนึ่ง

ขนาดชุมชนที่เรียกได้ว่าเข้มแข็ง เป็นแหล่งดูงานอย่างบ้านนาอีสาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ยัง "เป๋" เลย เคยมีกองทุนข้าวที่ชาวบ้านเอามารวมกันเพื่อแก้ปัญหาข้าวไปพอกิน ก่อนหนี้ได้ปีละ 50-60 เกวียน ปีกลายได้เพียง 10 เกวียน

นายเลี่ยม บุตรจันทา ผู้นำชุมชนบอกว่า ชาวบ้านซึ่งกำลังปลดหนี้ตัวเองตามวิถีแบบ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ที่เน้นการพึ่งตนเอง และกำลังไปได้ดี วันนี้ชาวบ้านจำนวนหนึ่งกลับไปเป็นหนี้ในวงจรอุบาทว์เดิมๆ อีกแล้ว และเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแทนที่จะเอาข้าวมารวมกัน ก็เอาไปขายเพื่อหาเงินไปใช้หนี้กองทุนหมู่บ้านหนึ่งล้าน

นายเลี่ยมถามคุณทักษิณว่า ทำไมต้องแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนในเมื่อมันเป็นทุนอยู่แล้ว แปลงให้มันเป็นหนี้ทำไม

นายเลี่ยมและชุมชนแบบบ้านนาอีสานได้พยายามมานานหลายปีที่จะหาทางแก้ปัญหาหนี้ สินและการทำมาหากินแบบเดิมๆ ด้วยการจัดระเบียบชีวิตใหม่ ค้นหา "ทุน" ให้ท้องถิ่น ทั้งทรัพยากร ความรู้ภูมิปัญญา และทุนทางสังคม และเริ่มจัดการชีวิตของตนเองในอีกแบบหนึ่ง

แบบที่ได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม จากไม้เรียง จากอินแปง จากชุมชนที่พบทางออกแบบนี้มาก่อน แบบ "พึ่งตนเอง" แบบ "พอเพียง"

แต่เนื่องเพราะต้องอยู่ในสังคม "ทุนนิยม" แบบทักษิโณมิกส์ ชุมชนบ้านนาอีสานจึงเหมือนคนที่กำลังฟื้นไข้ กำลังดีวันดีคืน วันหนึ่งก็เจอเชื้อโรคตัวใหม่ที่รุนแรง ทำให้ภูมิคุ้มกันที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก รับไม่ไหว อาจถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่ออีกไม่นาน

นี่ขนาดชุมชนที่คนไปเรียนรู้ดูงาน ไปดูตัวอย่างชุมชนเข้มแข็งยัง "เป๋" แล้วชุมชนอื่นๆ ทั่วไปจะปานไหน

สถานการณ์ถึงขั้นนี้ คงไม่ต้องพูดอะไรอีกแล้ววันนี้ มีอย่างเดียวเท่านั้น คือต้องช่วยกันปลุกคนให้ตื่นจากความฝัน ฝันที่ทักษิณได้กระหน่ำวาดไว้ให้สวยงาม ฝันประเภท "พรุ่งนี้รวย"

"เมื่อความฝันสิ้นสุดลง คนก็เริ่มค้นหาความจริงกันใหม่" อมาตยา เซน รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดียบอกไว้ และกล่าวต่อว่า "เพื่อก้าวพ้นนิยายของการพัฒนา เราจะต้องมีระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง"

สังคมไทยหลังทักษิณจะต้องก้าวข้ามระบอบทักษิณและทักษิณพาราไดม์ และต้องสร้างกระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ขึ้นมา (development paradigm)

กระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ของสังคมไทย ต้องมีรากฐาน รากเหง้าในสังคมไทย สืบทอดภูมิปัญญาไทย ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นของไทย ให้สามารถพึ่งพาตนเองและอยู่ในโลกได้อย่างเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ไปขึ้นต่อและยอมทุกอย่างเพียงเพื่อให้ได้ "ทุน" อย่างที่กำลังเป็นอยู่

โลกวันนี้กำลังเปลี่ยน จีดีพีไม่ใช่ตัวชี้วัดการพัฒนาอีกต่อไป เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นและต้องเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวมแบบบูรณาการ ไม่ใช่แกนนำ แกนหลักอีกต่อไป

คำว่า "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ไม่ใช่วาทกรรมเพื่อให้ดูดี แต่เป็นปรัชญาที่ทั่วโลกกำลังหาแนวทาง เครื่องมือ กลไก เพื่อทำให้เป็นจริง อาจจะไม่ได้อย่างภูฏาน ประเทศเล็กๆ และด้อยพัฒนาในสายตาแบบเก่าๆ แต่ก้าวหน้าอย่างยิ่งในกระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ เพราะภูฏานโมเดล ใช้ "ความสุข" เป็นตัวชี้วัดการพัฒนาประเทศ

ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) แต่เป็นความสุขมวลรวมประชาชาติ (GDH) ซึ่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ก็เริ่มใช้โดยการพัฒนากรอบ เกณฑ์และตัวชี้วดัการพัฒนายั่งยืนขึ้นมาใหม่ ให้สอดคล้องกับ GDH

ประเทศภูฏานยังปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระราชาธิบดีเป็นประมุข พระองค์ทรงให้แนวทางการพัฒนาประเทศแบบนี้มากกว่า 30 ปีแล้ว และค่อยๆ พัฒนาเรื่อยมา

ประเทศไทยโชคดีมีพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่มาก ทรงครองราชย์มาถึง 60 ปี ทรงให้แนวทางการพัฒนาคล้ายกับของภูฏานมานานกว่า 30 ปี เช่นเดียวกัน แต่โชคร้ายที่ประเทศไทยไม่ได้รับเอาพระราชดำริและพระปรีชาญาณของพระองค์ท่าน มาปฏิบัติอย่างจริงจัง

พระองค์ท่านทรงสอนให้ค่อยๆ พัฒนาเป็นขั้นเป็นตอน ให้มีรากฐานที่มั่นคง ทรงใช้คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2540 พร้อมกับแนะนำทฤษฎีใหม่ในการพัฒนา

ในปีมหามงคลของการเฉลิมฉลองการครอ งราชย์ 60 ปี ของพระองค์ท่าน สังคมไทยต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เปลี่ยนให้ถึงรากฐาน ประกาศเป้าหมายแห่งชาติร่วมกัน (national goal) ว่า สังคมไทยจะต้องใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ

ปัจจุบันเราไม่ได้ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา เป็นเป้าหมาย รัฐบาลนี้ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้ตนเองเท่านั้น เป็นเพียงดอกไม้ในแจกันที่ตั้งไว้ประดับโต๊ะทำงาน

จำเป็นต้องศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงใหม่ เพื่อให้เป็นรากฐานสำหรับกระบวนทัศน์ใหม่ให้เป็น "วิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า" ซึ่งตั้งอยู่บนฐานการมองโลกแบบหนึ่ง แบบที่ต้องแตกต่างไปจากทักษิณพาราไดม์

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ มีหลักสำคัญสามประการคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ซึ่งหากมองจากมุมของชุมชนคนรากหญ้า อยากตีความว่า

ก) ความพอประมาณ คือ "มาตรฐานชีวิต" ของผู้คน ไม่ใช่เพียงรายได้ขั้นต่ำกว่าขีดความยากจน แต่เป็นอะไรที่ทำให้คน "อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีกินตลอดชีวิต" มีสิ่งตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐาน พึ่งตนเองได้ พึ่งพาอาศัยกันได้

ข) ความมีเหตุมีผล คือการพัฒนาแบบนี้ทำให้เราอยู่ได้ คนอื่นอยู่ได้ ลูกหลานในอนาคตก็อยู่ได้โดยไม่ขาดแคลนไม่ใช่พ่อแม่ใช้วันนี้จนหมด แม้กระทั่งรายได้ในอนาคตและทรัพยากรในอนาคต ไม่เหลืออะไรไว้ให้ลูกหลาน เหลือไว้แต่หนี้

การพัฒนาแบบนี้ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยี ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพื่อขายในตลาด หรือการส่งออก แต่ทำอย่างมีเหตุมีผล คือทำเพื่อการบริโภคในท้องถิ่นอย่างพอเพียง และผลิตเพื่อขายในตลาดอย่างสมเหตุสมผล คือแข่งขันได้จึงเอาออกไปไม่ลงทุนโดยเสี่ยงมากเกินไป หากล้มเหลวขาดทุนจะเกิดผลเสียหายกับตนเอง ชุมชนและท้องถิ่นได้

ค) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว คือการสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง เป็นระบบที่เกิดจากการเรียนรู้ จากข้อมูลท้องถิ่น ข้อมูลภายนอก มีแผนแม่บทชุมชน แผนยุทธศาสตร์และแผนการทำงานที่สร้างระบบ และเชื่อมระบบเล็กๆ ต่างๆ เข้าด้วยกัน ระบบการผลิต ระบบการบริโภค ระบบการออม ระบบสวัสดิการ ระบบสุขภาพ ระบบสิ่งแวดล้อม ระบบวิสาหกิจชุมชน

ระบบดังกล่าวเป็นหลักประกันให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตนเองไม่ "ขึ้นต่อ" หน่วยงานราชการนักการเมือง พ่อค้า นักวิชาการ เอ็นจีโอ พวกเขาเป็นตัวของตัวเอง อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อย่างภาคีพันธมิตร (partnership) ไม่ใช่อย่างผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ถูกอุปถัมภ์เอื้ออาทร

ระบบดีคือภูมิคุ้มกันที่ดีของชุมชน เกิดชุมชนเข้มแข็ง เป็นระบบเล็ก ทั่วแผ่นดินที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบใหญ่ เป็นองคาพยพเหมือนร่างกายของคน ซึ่งสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม

นี่เป็นการมองมาจากชุมชน แต่เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องชุมชนหรือคนรากหญ้า คนยากจนเท่านั้น แต่เป็นปรัชญาการพัฒนาประเทศ ปรัชญาที่ต้องใช้กับทุกภาคส่วนทั้งอุตสาหกรรม ทั้งภาคบริการ การบริหารจัดการประเทศโดยรวม ซึ่งต้องคงได้รูปแบบที่เหมาะสมที่แตกต่างไปจากรูปแบบที่กำลังเกิดขึ้นในชุมชนหลายแห่งที่ได้กล่าวถึงก่อนนี้

กระบวนทัศน์พัฒนาใหม่นี้จะต้องมีเศร ษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ในเวลาเดียวกันก็ยังใช้ทุนนิยมต่อไปได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ ไม่ใช่วิธีคิดแบบปฏิบัตินิยม-เสรีนิยมสุดขั้วแต่เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ต้องใหญ่กว่าทุนนิยม เป็นวิธีคิดที่กำหนดวิธีปฏิบัติและวิธีให้คุณค่า รวมทั้งหารูปแบบที่เหมาะสม ให้ทุนนิยมและสังคมโดยรวม

เศรษฐกิจพอเพียงกับทุนนิยมอาจจะฟังดูขัดแย้งกัน เป็นความจริงที่ประหลาด (paradox) แต่ก็เป็นไปได้ที่เราจะพัฒนา "เศรษฐกิจตลาดแบบพอเพียง" (Sufficient Market Economy) เช่นเดียวกับที่จีนใช้ "เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม" (Socialist Market Economy) ซึ่งเป็นความจริงที่ประหลาดมากกว่าอีก

จีนยังมีอุดมการณ์และระบอบสังคมนิยม แต่ปรับกลไกและการดำเนินงานที่ยืดหยุ่นให้เป็น "ทุนนิยม" เพื่อให้เกิด "ประสิทธิภาพ" และให้สามารถอยู่ในโลกที่เป็นโลกาภิวัตน์ที่เชื่อมโยงกันหมดและแข่งขันกันสูงนี้ได้

แต่จีนก็ยังหนักแน่นในอุดมการณ์สังคมนิยม ซึ่งเป็นตัวกำกับทุนนิยม ยังมีพรรค ยังมีสภาประชาชน ยังมีกลไกของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์อยู่เต็มรูปแบบ

สังคมไทยต้องการอุด มการณ์และระบอบใหม่ ซึ่งความจริงก็มีรากฐานเดิมเป็นทุนอยู่แล้วไม่น้อย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 8 จนถึงฉบับที่ 10 ที่กำลังจะออกมาเป็น "นวัตกรรม" ระดับโลก ซึ่งเน้นการพัฒนาคน คุณภาพชีวิต ความสุข โดยไม่ได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่แผนเหล่านี้ไม่มีความหมายในสายตาของระบอบทักษิณ

ถึงเวลาต้องมารวม กันคิดว่า ในทุกภาคส่วนจะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นได้ต้องตั้งคำถามกันใหม่ และทำความเข้าใจใหม่ว่า "เศรษฐ" ไม่ได้ว่าเงินทองเท่านั้น แต่หมายถึงความเจริญ ซึ่งจะมาจากความพอเพียงทางจิตใจ ทางปัญญา ทางสิ่งแวดล้อม ทางสังคม

เลิกตั้งคำถามว่า "ทำอย่างไรจะรวย" ต้องตั้งคำถามว่า "ทำอย่างไรจะมีความสุข" และเลิกคิดว่า คนที่ตั้งคำถามเรื่องความสุขเป็นคนเพ้อฝัน เพราะคนเพ้อฝันจริงคือคนที่ตั้งคำถามเรื่องจะรวยต่างหาก

ถ้าไม่อยากให้เกิดระบอบทักษิณขึ้นมาอีก เราต้องสร้างระบอบใหม่ ระบอบที่เกิดจากกระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ ซึ่งอาจจะเรียกเศรษฐกิจตลาดแบบพอเพียง (Sufficient Market Economy) ที่ทำให้เกิดการพัฒนายั่งยืน ซึ่งแปลว่าพัฒนาแล้วดีขึ้น และผู้คนอยู่เย็นสุขจริง

ที่มา: มติชนออนไลน์
21 มีนาคม 2549

Monday, March 20, 2006

 

"หยุดระบบทักษิณ!" - แก้วสรร อติโพธิ


หนังสือ "หยุดระบอบทักษิณ" ของอาจารย์แก้วสรร อติโพธิ ที่ถูกตำรวจสันติบาลยึดไป ดาวน์โหลด pdf ได้ที่ http://files.thaiday.com/download/stop.pdf

Saturday, March 18, 2006

 

การเผชิญความขัดแย้ง (อารยวิวาทะ) อย่างสันติ


โดย ว.วชิรเมธี อาจารย์พิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มจร.

ต้องจับประเด็นให้ชัดว่า สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในขณะนี้ไม่ใช่เรื่องของคนสองคน หรือของคนสองกลุ่มกำลัง "ทะเลาะกัน" ด้วยเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัว

หากแต่เป็นเรื่องของการพยายามเรียกร้องให้มีการ "บริหารราชการแผ่นดินโดยธรรม" (ธรรมาภิบาล) ซึ่งเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศจากทุกภาค ทุกส่วน และทุกหมู่เหล่า ที่เรียกร้องต่อผู้นำประเทศของตน คือ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้มีการบริหารการปกครองโดยชอบธรรม และการเรียกร้องต้องการให้มีการเมืองการปกครองที่กอปรด้วยจริยธรรม รวมทั้งการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของผู้นำประเทศ เช่นที่กำลังเป็นอยู่อย่างเข้มข้นนี้ เป็นสิทธิอันชอบธรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

เมื่อประเด็นหลักเ ป็นเช่นนี้แล้ว สิ่งที่เราคนไทยต้องทำจึงไม่ใช่การเรียกร้องให้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านมา "รอมชอมกัน" เพียงเพื่อให้เรื่อง "จบๆ ไปเสียที"

เพราะการทำเช่น นี้ก็เท่ากับว่าเรายอม "ปรองดองกับความชั่วความเสื่อม" ที่กำลังคุกคามแผ่นดินไทย สังคมไทย และจะกลายเป็นการเปิดโอกาสให้มีการสถาปนาระบอบการเมืองการปกครอง ที่ไม่ชอบธรรม ทำลายธรรม

และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมไทยให้กลายเป็นสังคมที่ไม่มีบรรทัดฐานทางจริยธรรมไปในที่สุด อ่านต่อ>>

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์
วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549

 

"ความจริง" ที่ "ทักษิณ " ยังไม่ตอบ


สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์ฯ-นักข่าววิทยุฯสรุปประ เด็นข้อสงสัย ต่อการบริหารงานของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน หลังจากได้เชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปตอบคำถามสื่อมวลชน ก่อนวันเลือกตั้ง

ตามที่ทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ได้เชิญ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมาให้ข้อมูลและตอบคำถามของผู้สื่อข่าว ณ. อาคารที่ทำการของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ก่อนวันที่ 2 เมษายน เพื่อให้เกิดความกระจ่างในประเด็นที่สาธารณชนสงสัย และยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองให้คลี่คลายไปด้วยสันติ ในระหว่างที่ทางสมาคมทั้งสองกำลังรอคำตอบจากรัฐบาลอยู่นั้น ทางสมาคมนักข่าวฯ ได้ขอให้บรรณาธิการและนักข่าวอาวุโสจัดทำเอกสารขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อเผยแพร่ เป็นการให้ความรู้ ปูความเข้าใจและชี้ประเด็นที่เป็นข้อสงสัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงปมเงื่อนของปัญหาที่เกิดขึ้นและช่วยสร้างความเข้า ใจร่วมกันก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้

หากพิจารณาเนื้อหาโดยละเอียดที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรหัวน้าพรรคไทยรักไทยชี้แจงข้อกล่าวหาในการซุกหุ้นและการขายหุ้นชินคอ ร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)หรือชินคอร์ปในรายการถึงลูกถึงคน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม การชี้แจงที่สนามหลวงและสาบานต่อหน้าวัดพระแก้ว ท่ามกลางชาวบ้านที่ระดมมาให้กำลังใจเรือนแสนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมาแล้ว สาระสำคัญแทบไม่ได้ต่างจากจดหมายเปิดผนึกที่พันตำรวจโททักษิณทำถึงสมาชิกพรร คก่อนหน้านี้แต่อยางใด

เมื่อเอาเข้าจริงปรากฏว่า ในคำชี้แจงดังกล่าวกลับมีข้อสงสัยในหลายประเด็นที่พันตำรวจโททักษิณยังไม่ได ้ตอบหรือเลือกที่จะพูดความจริงเพียงเสี้ยวเดียว โดยเฉพาะกรณีการโอนหุ้นแบบพิสดารพันลึกของครอบครัวและการขายหุ้นของบริษัทชิ นคอร์ปให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดดิ้งของสิงคโปร์

ปริศนารอดคดีซุกหุ้น

เรื่องแรกที่พันตำรวจโททักษิณ ชี้แจงนั้น อ้างว่าวันแรกที่ประกาศลงสนามการเมือง ก็ถูกจ้องเล่นงานด้วยเรื่องหุ้น แต่ในที่สุดก็รอดมาได้เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าตนไม่มีเจตนาปกปิดซุกหุ ้น ในประเด็นนี้จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงในคำพิพากษาและวิธีการตัดสินของศาล รัฐธรรมนูญซึ่งจะพบว่าเป็นอย่างที่พันตำรวจโททักษิณกล่าวอ้างหรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544 พิพากษาว่า พันตำรวจโททักษิณ ไม่มีความผิดตามมาตรา 295 ด้วยเสียง 8 ต่อ 7รอดอย่างหวุดหวิด ทว่าในจำนวน 7 เสียงข้างน้อย ลงมติชัดเจนว่า พันตำรวจโททักษิณ จงใจที่จะปกปิดบัญชีทรัพย์สินหรือจงใจซุกหุ้น มีเพียง 4 เสียงเท่านั้นที่วินิจฉัยว่า พันตำรวจโททักษิณ ไม่จงใจซุกหุ้น ดังนั้นเสียงจงใจย่อมมากกว่าไม่จงใจคือ 7 ต่อ 4

ในขณะที่ตุลาการอีก 4 เสียง ไม่ได้พิจารณาในข้อเท็จจริงว่า พันตำรวจโททักษิณ จงใจหรือไม่ เพียงแต่อ้างว่ามาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถบังคับใช้กับกับพันตำรวจโททักษิณได้ เนื่องจากพ้นจากกตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ก่อนการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน

แต่เมื่อนำเสียงที่พิพากษาว่า มิได้จงใจซุกหุ้น 4 เสียง บวกกับอีก 4 เสียงที่อ้างว่า มาตรา 295 บังคับใช้กับพันตำรวจโททักษิณไม่ได้ จึงกลายเป็น 8 เสียง

วิธีการตัดสินคดีของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

ซุกหุ้นแหกกฎพลังธรรม

ก่อนที่เกิดปัญหาคดีซุกหุ้น พันตำรวจโททักษิณ ลืมไปหรือไม่ว่าในสมัยที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ปี 2537 ครอบครัวชินวัตรนำหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทแอดวานซ์อินโฟเซอร์วิส จำกัด (เอไอเอส.) และบริษัทยูไนเตดคอมมูนิเกชั่น จำกัด (ยูคอม) ไปใส่ไว้ในชื่อคนรับใช้อย่างน้อย 3 คน คือ "บุญชู เหรียญประดับ" "ชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์" "ดวงตา วงศ์ภักดี" มูลค่ารวมกันกว่า 11,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ในหุ้นที่ถืออยู่ในชื่อของ พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตรในขณะนั้น

แม้รัฐธรรมนูญขณะนั้น มิได้กำหนดให้รัฐมนตรีต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน แต่ช่วงเวลาดังกล่าว พันตำรวจโททักษิณ เป็นรัฐมนตรีสังกัดพรรคพลังธรรมที่มี " พล.ต.จำลอง ศรีเมือง " เป็นหัวหน้าพรรค

พล.ต.จำลอง ประกาศว่า แม้รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้แสดงบัญชีทรัพย์สิน แต่เพื่อความโปร่งใสรัฐมนตรีของพรรคต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน โดยมีการติดแจ้งประกาศไว้ที่พรรค ทำให้พันตำรวจโททักษิณต้องยอมรับกฎเกณฑ์ดังกล่าวโดยดุษฎี

เป็นที่ฮือฮาอย่างมาก เมื่อ พันตำรวจโททักษิณแสดงบัญชีว่าตนมีเงินสดและมีหุ้นมูลค่ามหาศาล แต่กลับไม่เคยแจ้งว่ามีหุ้นที่ฝากไว้กับคนรับใช้กว่า 11,000 ล้านบาท การกระทำดังกล่าวเป็นเมินเฉยต่อกฎเกณฑ์ของพรรคพลังธรรมและเป็นดัชนชี้วัดจริ ยธรรมตั้งแต่เข้าสู่สนามการเมืองครั้งแรกของพันตำรวจโททักษิณว่าอยู่ในระดับ ใด

แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ พันตำรวจโททักษิณ ไม่เคยบอกว่าหุ้นที่เอาไปฝากไว้ที่คนรับใช้กว่าหมื่นล้านบาท ทำไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไรและเพื่อประโยชน์อะไร

แม้จะเป็นที่รู้กันว่า หุ้นในชื่อคนรับใช้เหล่านี้สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ครอบครัวชินวัตรได้มาก มายมหาศาล โดยไม่มีใครตรวจสอบหรือรู้ได้ในขณะนั้น (ไม่มีใครตรวจสอบได้) แต่ถ้าหุ้นจำนวนดังกล่าวอยู่ในชื่อของคนในครอบครัวชินวัตรโอกาสที่จะนำไปแสว งหาประโยชน์อย่างเป็นกอบเป็นกำก็ทำได้ยากมากกว่าฝากไว้ในชื่อคนรับใช้ผู้จงร ักภักดีและไม่มีใครรู้จัก

สิ่งสำคัญยังกลายเป็นชนวนเหตุให้คุณหญิงพจมานถูกสำนักงานคณะกรรมการก ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ปรับเป็นเงิน 6.3 ล้านบาทเศษ เมื่อเดือนตุลาคม 2544 ในฐานความผิดที่ว่าไม่รายงานการซื้อขายหุ้นทุกๆ 5 % แต่ก.ล.ต.ได้ละเว้นโทษการใช้ข้อมูลภายในการซื้อขายหุ้น(อินไซด์ เทรดดิ้ง) ในช่วงที่มีมีการเพิ่มทุนบริษัทชินคอร์ปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2536 ทำให้ครอบครัวชินวัตรซื้อหุ้นเพิ่มทุนผ่านคนรับใช้ในราคาถูกได้ประโยชน์มหาศ าล

ข้ออ้างของ ของ ก.ล.ต.คือ เอกสารซื้อหุ้นหายเพราะโบรกเกอร์ถูกปิดไปในช่วงวิกฤติปี 2540

ขายหุ้นให้ลูกชายจริงหรือ

พันตำรวจโททักษิณชี้แจงว่า หลังวันที่ 1 ธันวาคม 2543 ไม่มีหุ้นในมือแม้แต่หุ้นเดียว เนื่องจากได้มีการโอนหุ้นให้แก่ลูกชาย(นายพานทองแท้ ชินวัตร)หมดแล้ว
แต่ในข้อเท็จจริง สิ่งที่พันตำรวจโททักษิณไม่เคยปริปากบอกต่อสาธารณชนก็คือ การโอนหุ้นชินคอร์ปจำนวน 103 ล้านหุ้นให้แก่นายพานทองแท้ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ และนางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 เป็นการขายหุ้นให้แก่บุคคลทั้งสาม (ในราคาหุ้นละ10บาท จากราคาตลาด150 บาท ทำให้มี "ส่วนต่าง "ราคาหุ้นกว่า 1 หมื่นล้านบาท) โดยไม่มีการจ่ายเงินกันแม้สักสลึงเดียว

ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีการรซิ้อขายหุ้นกันจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงเจตนาลวง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรค 1)

เมื่อไม่มีการจ่ายเงินกันจริง แต่จ่ายกันในรูปของ ตั๋วเงินที่ออกกันอย่างง่ายๆ กล่าวคือ พานทองแท้ซื้อหุ้นชินคอร์ปไป 73 ล้านหุ้น มูลค่า 730 ล้านบาท แต่ไม่ได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าว แต่จ่ายในรูปของตั๋วเงินที่ออกโดยนายพานทองแท้ ทำให้นายพานทองแท้เป็นหนี้คุณหญิงพจมานและพันตำรวจโททักษิณอยู่กว่า 730 ล้านบาท(ไม่รวมการขายหุ้นธนาคารทหารไทย ทำให้นายพานทองแท้เป็นหนี้คุณหญิงพจมานอีกกว่า 4,000 ล้านบาท)

เช่นเดียวกับกรณีของนายบรรณพจน์และนางยิ่งลักษณ์ ก็จ่ายเงินในรูปของตั๋วเงินให้แก่คุณหญิงพจมาน และพันตำรวจโททักษิณอยู่ ทำให้เป็นหนี้บุคคลทั้งสองอยู่ 268 ล้านบาทและ 20 ล้านบาทตามลำดับ(ดูบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของพันตำรวจโททักษิณที่แสดงต่อป .ป.ช.เมื่อ 15 มีนาคมและ 7 พฤศจิกายน 2544)

ภายหลังจากที่พันตำรวจโททักษิณและคุณหญิงพจมานขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่ บุคคลทั้งสามแล้ว ได้แจ้งต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ไม่มีหุ้นชินคอร์ปเหลืออยู่ ทั้งๆที่ พันตำรวจโททักษิณ ยังถือหุ้นชินคอร์ปผ่านบริษัท แอมเพิล ริช อินเวสต์เมนต์ อยู่ 32.9 ล้านหุ้น

หลังจากวันที่ 1 ธันวาคม 2543 ได้โอนหุ้นบริษัทแอมเพิลริช (ราคาเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่มีทรัพย์สินเป็นหุ้นชินคอร์ปกว่า 329.2 ล้านบาท) ให้นายพานทองแท้

ดังนั้น บุคคลภายนอก แม้แต่ ก.ล.ต.ก็ไม่เคยรู้ก็คือหุ้นชินคอร์ป 32.9 ล้านหุ้น ที่แอมเพิล ริชถืออยู่ ถูกโอนจาก พันตำรวจโททักษิณอย่างเงียบๆ จนกระทั่ง ก.ล.ต.ตรวจพบในปี 2544 จึงได้มีการแจ้งย้อนหลังกลับไป ในลักษณะดังกล่าว จะเป็นเจตนาปกปิดด้วยหรือไม่ ? ทำไม ก.ล.ต.จึงอ้างว่า ไม่มีเจตนาและให้ยุติเรื่อง

บทบาท"คนสนิท"พจมาน

พันตำรวจโททักษิณ ชี้แจงว่าการโอนหุ้นให้ลูกชายเป็นการโอนจริงเพราะลูกชายก็บรรลุนิติภาวะแล้ว อยู่ในวิสัยที่จะรับผิดชอบธุรกิจต่อไปได้หลังจากโอนหุ้นไปแล้ว โดยมีลุง(นายบรรณพจน์)เป็นประธานกรรมการบริษัทชินคอร์ปเป็นผู้ดูแลและให้คำป รึกษา รวมทั้งการว่าจ้างที่ปรึกษาให้เป็นผู้ดูแลด้วย

แต่จากข้อมูลที่ตรวจสอบพบปรากฏว่าคนที่เข้าไปจัดการหุ้นทั้งหมดล้วนแ ต่เป็นลูกน้องคนสนิทของคุณหญิงพจมานทั้งสิ้น อย่างน้อย 2 คน

คนแรกคือ นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน โดยมีบทบาทตั้งแต่การเอาหุ้นไปใส่ชื่อคนรับใช้ นำเอกสารไปให้คนรับใช้เซ็นในคดี "ซุกหุ้น ภาคคนรับใช้"

นอกจากนั้น นางกาญจนภายังเป็นผู้ที่ติดต่อให้นายวันชัย หงษ์เหิน เจ้าหน้าที่ห้องค้าหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจเป็นผู้ซื้อขายหุ้นของครอบครัวชินวัตรในคน รับใช้อีกด้วย

นางกาญจนภา หงษ์เหินให้การต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีใจความสรุปว่า ในช่วงปี 2535 บงล.ภัทรธนกิจ มีนโยบายให้ฝ่ายค้าหลักทรัพย์หาลูกค้าใหม่ เพื่อเป็นผลงานประกอบการพิจารณาเลื่อนชั้นและเลื่อนตำแหน่ง ในฐานะที่ตนทำงานส่วนตัวช่วยคุณหญิงพจมานมาเป็นเวลาหลายปี และคุณหญิงพจมานก็มีความเมตตาต่อตนโดยให้ความช่วยเหลือสม่ำเสมอ จึงขอให้คุณหญิงพจมานช่วยเป็นส่วนตัว โดยให้ช่วยเหลือนายวันชัย สามีที่ทำงานอยู่ บงล.ภัทรฯ ในการหาลูกค้าใหม่ โดยขอให้คุณหญิงเข้าไปเป็นลูกค้าซื้อขายหุ้นเงินสดเพื่อเป็นผลงานให้กับสามี

เช่นเดียวกันการนำหุ้นชินคอร์ปกว่า 1,400 ล้านหุ้นของครอบครัวชินวัตรขายต่อให้เทมาเส็ก เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 และบริษัท แอมเพิล ริช ขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่พานทองแท้ละพิณทองทา เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ปรากฎว่าในแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการซื้อขายหุ้นที่ต้องแจ้งต่อ ก.ล.ต.(แบบ 246-2) เขียนชัดเจนว่าบุคคลที่ติดต่อได้คือ นางกาญจนาภา

หลักฐานดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่านางกาญจนภาเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากใน การจัดการหุ้นให้แก่นายพานทอง น.ส.พิณทองทานายบรรณพจน์ และนางยิ่งลักษณ์ ถามว่าใครคือผู้บงการหรืออยู่เบื้องหลังนางกาญ

คนถัดมาคือ นางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ มีบทบาทในการจัดการภาษีให้กับคุณหญิงพจมาน โดยเฉพาะกรณีที่คุณหญิงโอนหุ้นให้กับคนรับใช้มูลค่ากว่า 11,000 ล้านบาท หลังจากกรมสรรพากรเข้าไปตรวจสอบในปี 2544

คุณหญิงพจมานได้มอบอำนาจให้นางสาวปราณีผู้นี้เป็นตัวแทนไปติดต่อจัดก ารในเดือน พฤษภาคม 2544 ปรากฎเป็นหลักฐานในหนังสือของกรมสรรพากร ที่ทำโต้ตอบกับนางสาวปราณีไว้อย่างชัดเจน

ผลงานของนางสาวปราณี อีกกรณีหนึ่งก็คือ ก่อนที่บริษัทแอมเพิล ริช จะขายหุ้นชินคอร์ปในราคา 1บาท ให้แก่นายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทา ปรากฎว่าในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 น.ส.ปราณีในฐานะตัวแทนของบริษัทแอมเพิล ริชได้ทำหนงสือหารือสรรพากรว่า การที่แอมเพิล ริช จะขายหุ้นชินคอร์ปให้กับพานทองแท้และพิณทองทาหุ้นละ 1 บาท ต้องเสียภาษีหรือไม่

หลักฐานดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่านงสาวปราณีเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากใน การจัดการด้านภาษีหุ้นให้แก่คุณหญิงพจมาน นายพานทอง น.ส.พิณทองทาและบริษัท แอมเพิล ริชมาตลอด ถามว่า ใครคือผู้บงการหรืออยู่เบื้องหลังน.ส.ปราณี

พันตำรวจโททักษิณอ้างในรายการถึงลูกถึงคนว่า ลุง(นายบรรณพจน์)เป็นที่ปรึกษาในการดูแลเรื่องหุ้นให้แก่ลูกๆ แต่จากข้อเท็จจริงยังพบว่า นอกจากการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปที่นายบรรณพจน์จ่ายในรูปของตั๋วเงินให้แก่คุณห ญิงพจมานแล้ว ในการซื้อหุ้นบริษัทเอสซี แอสเซท จำกัดของครอบครัวชินวัตร เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และ 27 เมษายน 2543 2543 ของนายบรรณพจน์และนางบุษบา ดามาพงศ์ ภรรยาอีกเกือบ 20 ล้านหุ้น นายบรรพจน์และภรรยาก็มิได้จ่ายเงินสักสลึกเดียว แต่จ่ายในรูปของตั๋วเงินให้แก่คูหญิงพจมาน ทำให้สองสามีภรรยาเป็นหนี้คุณหญิงพจมานจากการซื้อหุ้นรวม 659.3 ล้านบาท

จากข้อเท็จจริงและพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นได้หรือไม่ว่านายพาน ทองแท้ นางสาวพิณทองทา นายบรรพจน์และนางยิ่งลักษณ์ อาจมีสถานะไม่แตกต่างจากคนรับใช้ที่เป็นเพียง "นอมินี"ให้แก่คุณหญิงพจมานและ พันตำรวจโททักษิณ

ผิดกกฎหมาย-ติ๊กผิดซ้ำซาก

นอกจากนี้ พันตำรวจโททักษิณยังยืนยันว่าการโอนและขายหุ้นชินคอร์ปได้ทำถูกต้องตามกฏหมา ยและโปร่งใส แต่ปรากฎว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา ก.ล.ต.ได้แถลงว่า นายพานทองแท้ได้กระทำผิดพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ถูกปรับเป็นเงิน 5.9 ล้านบาท เช่นเดียวกับคุณหญิงพจมานที่เคยถูกปรับจำนวน 6.3 ล้านบาท

นอกจากทำผิดกฎหมายแล้ว ยังพบว่าในแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้น (แบบ246-2) ต่อ ก.ล.ต.ของครอบครัวชินวัตรและผู้เกี่ยวข้อง มีการ กาเครื่องหมายผิด หรือ ติ๊กผิด มาตั้งแต่ปี 2542 –2549 กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่พันตำรวจโททักษิณ โอนหุ้นชินคอร์ปจำนวน 32.92 ล้านหุ้นให้แก่ บริษัทแอมเพิลริช อินเวสต์เมนท์ โดยระบุ " ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย " ในราคา 10 บาท แต่จากข้อเท็จจริงพบว่า เป็นการซื้อขายนอกตลอด

ต่อมา พันตำรวจโททักษิณและคุณหญิงพจมานขายหุ้นชินคอร์ป 103 ล้านหุ้นให้แก่นายพานทองแท้ นายบรรณพจน์และ นางยิ่งลักษณ์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 กว่า 100 ล้านหุ้น รวมถึงกรณีที่บริษัท แอมเพิล ริช ขายหุ้นชินคอร์ปในราคา 1 บาท/หุ้น ให้แก่นายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทา เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ก็อ้างว่า ที่ระบุว่าเป็นการ " ซื้อ/ขายผ่าน ตลาดหลักทรัพย์ " ทั้งๆ ที่เป็นการซื้อขายกันนอกตลาดหลักทรัพย์ หรือแม้แต่ธนาคารยูบีเอสซึ่งอ้างว่าเป็นธนาคารระดับโลกยังอ้างว่ารายงานผิดโ ดยแจ้งว่าได้ซื้อหุ้นชินคอร์ป 10 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 176 บาท จากแอมเพิลริช เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2544 แต่ความจริงเป็นการนำไปฝากไว้เฉยๆ

พฤกติกรรมดังกล่าวทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าเป็นการจงใจแจ้งเท็จซ้ำซากหร ือได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษาที่ว่าจ้างรายใด ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังทำให้เห็นว่า ครอบครัวชินวัตรกระทำผิดกฎหมายอย่างซ้ำซากและโยนบาปให้ ไอ้ติ๊กมาตลอด โดยที่ ก.ล.ต.ได้แต่ทำตาปริบๆ

ทำไมจึงหลีกเลี่ยงมาตรา 209

ในรายการถึงลูกถึงคน พิธีกรถามว่า ถ้าย้อนกลับไปได้จะโอนหุ้นทั้งหมดให้แก่นิติบุคคลที่จัดการหลักทรัพย์ (ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 209ที่ห้าม) แทนที่จะโอนให้ลูกหรือไม่ พันตำรวจโททักษิณ แสดงอาการอึกอักก่อนที่จะตอบว่า ขณะนั้นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวยังไม่มี จึงต้องโอนให้ ลูกชาย ซึ่งขณะนั้นบรรลุนิติภาวะแล้ว เพื่อจะได้แบ่งให้กับน้องๆเป็นมรดกต่อไป

คำตอบของพันตำรวจโททักษิณจึงเป็นการบิดเบือนอย่างชัดเจน!

เพราะพระราชบัญญัติจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยมาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 และได้ประกาศลงในราชกิจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2543 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2543

ขณะที่พันตำรวจโททักษิณและคุณหญิงพจมานขายหุ้นชินคอร์ปจำนวน 103 หุ้นให้แก่นายพานทองแท้ นายบรรณพจน์และนางยิ่งลักษณ์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 หลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ไปแล้วเกือบ 2เดือน

แม้ว่าในขณะนั้น พันตำรวจโททักษิณยังมิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จนกว่าจะเข้ามาดำรงตำแหน่ง ยังมีเวลาอีก 30 วันในการแจ้งต่อประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช .)และมีเวลาในการโอนอีก 90 วัน รวมแล้วมีเวลาในการโอนหลังจากเข้ารับตำแหน่งถึง 120 วัน

แต่ พันตำรวจโททักษิณไม่เลือกที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ แต่เลือกวิธีการที่จะทำเป็นขายให้ลูกและญาติพี่น้องแทนในราคาต่ำกว่าตลาด โดยไม่ต้องเสียภาษีตามการตีความของกรมสรรพากรซึ่งการตีความดังกล่าวเป็นการท ำลายกลไกตรวจสอบของรัฐธรรมนูญตามมาตรา 209 อย่างสิ้นเชิง

หลีกเลี่ยงการเสียภาษี

พันตำรวจโททักษิณอ้างว่าการโอนหุ้นให้นายพานทองแท้ เป็นการโอนแบบ "พ่อให้ลูก" ซึ่งกฎหมายให้ทำได้โดยธรรมจรรยา ซึ่งกฎหมายยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการโอน

แต่จากข้อเท็จจริง พันตำรวจโททักษิณ "ขาย" หุ้นให้กับพานทองแท้ ในราคาต่ำกว่าท้องตลาดถึงหุ้นละ 140 บาท ซึ่งบรรดานักวิชาการด้านกฎหมายภาษีเห็นว่า ต้องเสียภาษี "ส่วนต่าง" ราคาดังกล่าวหลายพันล้านบาท

นอกจากนั้น พันตำรวจโททักษิณยังอ้างว่า การขายหุ้นชินคอร์ปของครอบครัวชินวัตรให้แก่บริษัท เทมาเส็กเป็นการขายผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 187 กำหนดไว้ว่าเงินที่ได้จากการขายหลักทรัพย์หรือขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นภาษี

ข้ออ้างดังกล่าวเป็นการพูดตัดตอนเฉพาะช่วงตอนจบที่การขายหุ้นมูลค่า 73,00 ล้านบาทให้แก่บริษัทเทมาเส็กเท่านั้น แต่หลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงกระบวนการขายหุ้นซึ่งไม่น่าจะชอบมาตั้งแต่ต้น และเต็มไปด้วยความสลับซับซ้อนโดยมีกรมสรรพากรเปลี่ยนคำวินิจฉัยไปมาเพื่อสนอ งผู้มีอำนาจ

การขายหุ้นในลักษณะดังกล่าวมี 2 ช่วง ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงในกลุ่มนักวิชาการว่ากรมสรรพากรใช้ดุลพินิจแ ละอำนาจโดยมิชอบ เป็นการทำลายระบบภาษีของประเทศอย่างรุนแรง

กรณีแรก พันตำรวจโททักษิณและคุณหญิงพจมาน ขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่นายพานทองแท้ นายบรรณพจน์และนางยิ่งลักษณ์ เมื่อ 1 กันยาน 2543 ในราคา 10 บาท ขณะที่ราคาตลาด 150 บาท ทำให้เกิด "ส่วนต่าง" กว่าหมื่นล้านบาท ถ้าคิดภาษีเต็มจำนวน จะมีมูลค่ามหาศาลกว่า 7 พันล้านบาท หากเก็บจนถึงวันนี้ก็ทะลุเป็นหมื่นล้านบาท

กรณีที่สอง คือบริษัท แอมเพิล ริช ขายหุ้นชินคอร์ปในราคา 1 บาท ให้กับพานทองแท้และพิณทองทา ขณะที่ราคาตลาดกว่า 40 บาท ลูกของพันตำรวจโททักษิณได้กำไร "ส่วนต่าง" กว่า 15,000 ล้านบาท

เพื่อให้ครอบครัวชินวัตรไม่ต้องเสียภาษี "ส่วนต่าง"เป็นเงินนับหมื่นล้านบาท กรมสรรพากรได้เปลี่ยนแนวคำวินิจฉัยกลับไปกลับมา ถึง 3 ครั้ง

ครั้งแรก เกิดขึ้นช่วงที่ป.ป.ช.กำลังไต่สวนคดีซุกหุ้นของพันตำรวจโททักษิณ ปลายปี 2543 นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุลอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น(ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงการ คลัง) ได้ทำหนังสือลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ตอบ ป.ป.ช.ชัดเจนว่า "ส่วนต่าง" ของราคาหุ้นที่ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาด เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

ครั้งที่สอง เมื่อพรรคไทยรักไทยขึ้นครองอำนาจ มีการเปลี่ยนแนวคำวินิจฉัยว่าผู้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าตลาด ไม่ต้องเสียภาษี "ส่วนต่าง"ราคาหุ้น เนื่องจากยังไม่มีเงินได้เกินกว่าเงินลงทุนเงิน จนกว่าจะขายหุ้นจำนวนดังกล่าวในราคาสูงกว่าที่ซื้อมาและมีกำไร

กระทั่งเกิดกรณี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เข้าไปซื้อหุ้นบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด ในราคาต่ำกว่าตลาดจากบิดาตนเอง ปรากฏว่าเมื่อมีการยื่นแบบเงินได้บุคคลธรรมดาภาษี กรมสรรพากรได้คิดเป็นภาษีจาก
"ส่วนต่าง" ราคาหุ้นที่นายเรืองไกรได้รับ

เมื่อนายเรืองไกรอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ ยืนยันความถูกต้องในการคำนวณภาษีดังกล่าว แต่ในเวลาต่อมานายวราเทพ รัตนกากรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้อ้างว่าเป็นการเข้าใจผิดของเจ้าหน้ าที่กรมสรรพากร จึงได้สั่งให้รีบคืนเงินที่เก็บภาษีคืนให้แก่นายเรืองไกร โดยอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับการขายหุ้นของว่า นายเรืองไกรยังไม่มีเงินได้เกินกว่าเงินลงทุน

ครั้งที่สาม เมื่อ 29 ธันวาคม 2548 สรรพากร มีหนังสือถึงนายเรืองไกรฉบับหนึ่ง อ้างเหตุผลว่าการซื้อสินค้าราคาต่ำกว่าราคาตลาด เป็นไปตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 453 เป็นเรื่องการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย"ส่วนต่าง"ของราคาซื้อกับราคาต ลาด ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

แนวคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าว นักวิชาการด้านกฎหมายภาษีเห็นว่า จะทำให้เกิดการเลียนแบบเพื่อเลี่ยงภาษีอย่างมหศาล เป็นการทำลายระบบภาษีของประเทศ (ดูบทความของธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหนังสือ อัครดีลชินคอร์ป 7หมื่นล้าน ซุกหุ้น"โคตรานุวัฒน์")

จากการตรวจสอบพบว่า แนวคำวินิจฉัยครั้งที่สามนั้น กรมสรรพากรได้ตอบข้อหารือแก่บริษัท แอมเพิล ริชตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2548 ทำให้เห็นชัดว่าการหยิบยกมาตอบนายเรืองไกรอีกครั้งหนึ่งเพื่อสร้างความชอบธร รมให้แก่การขายหุ้นชินคอร์ปในราคา 1 บาทให้แก่นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทาซึ่งเป็นกรรมการบริษัท แอมเพิล ริช ด้วย

กรณีข้อกล่าวหาเรื่องหลีกเลี่ยงภาษีนี้ยังไม่รวมกรณีคุณหญิงพจมานขาย หุ้นชินคอร์ปในนามดวงตา วงศ์ภักดีให้แก่นายบรรณพจน์ 4.5 ล้านหุ้น มูลค่า 738 ล้านบาท ผ่านตลาดหลักทรัพย์ โดยยอมเสียค่าโบรกเกอร์ 7.38 ล้านบาท แต่เป็นเงินที่คุณหญิงพจมานจ่ายแทนนายบรรณพจน์ ในลักษณะอัฐยายซื้อขนมยาย

แต่เมื่อถูกจับได้ก็อ้างว่า เป็นการยกหุ้นให้โดยเสน่หาและอุปการะโดยธรรมจรรยาซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงขอ งกรมสรรพากรเชื่อด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดี

ตั้งบริษัท บนเกาะบริติสเวอร์จิ้น รักชาติหรือไม่

พันตำรวจโททักษิณอ้างว่าการตั้งบริษัทบนเกาะบริติชเวอร์จิ้น (BVI) ซึ่งได้รับฉายาว่าสวรรค์ของนักเลี่ยงภาษี เป็นเรื่องปกติทางธุรกิจ มีบริษัทไทยหลายบริษัทก็ไปเปิดบริษัทที่เกาะดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ เมื่อ 20 พฤษภาคม 2545 พันตำรวจโททักษิณปาฐกถาในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง"ยุทธศาสตร์เพื่อการ แข่งขันของเศรษฐกิจไทยภายใต้สถานการณ์ใหม่ของเศรษฐกิจโลก" ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลว่า

"..วันนี้เราต้องสามัคคีกัน อย่าขัดแย้งกันให้มาก เอาประเทศเป็นหลักโดยประชาชนควรจะมีความรักชาติ เมื่อวานผมได้ดูข่าวจากซีเอ็นเอ็น ทราบว่า ขณะนี้สภาของสหรัฐกำลังแก้ไขกฎหมายใหม่ เพราะบริษัทต่างๆ แม้มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐ แต่ไปจดทะเบียนในประเทศอื่นๆ เช่น ในปานามาหรือบริติช เวอร์จิ้น ไอส์แลนด์ ซึ่งถือว่า เป็นบริษัทที่ไม่รักชาติ เพราะถือว่า เป็นการเลี่ยงภาษีซึ่งเห็นได้ว่า แม้สหรัฐจะเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสูงยังมีการดำเนินการเช่นนี้ ก็อยากฝากให้คนไทยและบริษัทต่างมีความรักชาติด้วย..."

เมื่อพิธีกรในรายการถึงลูกถึงคน ได้ถามประเด็นนี้ พันตำรวจโททักษิณกลับแสดงท่าทีอึกอักแล้วตอบว่า ผมไม่แน่ใจว่า ผมพุดขนาดนั้นเลยเหรอ ผมว่า ผมไม่ได้พูดขนาดนั้นหรอก…”

จากคำพูดดังกล่าวเห็นได้ชัดว่า พันตำรวจโททักษิณได้บิดเบือนคำพุดที่คนเองได้พูดไว้ถึง 2 ครั้ง

หนีตอบวินมาร์คสุดชีวิต

ประเด็นที่พันตำรวจโททักษิณหลีกเลี่ยงที่จะตอบมากที่สุดแบบสุดชีวิตค ือ กรณีบริษัทวิน มาร์ค ลิมิเต็ด ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะบริติช เวอร์จิ้นที่พันตำรวจโททักษิณและคุณหญิงพจนมานโอนหุ้น 5 บริษัทของตนเองให้แก่บริษัทดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2543 เป็นมูลค่าเกือบ 1,500 ล้านบาท

บริษัททั้ง 5 ประกอบด้วย บริษัท โอเอไอ พร็อพเพอร์ตี้ บริษัท เอสซี ออฟฟิช ปาร์ค บริษัท เวิร์ธ ซัพพลายส์ บริษัท เอสซีเค เอสเตท และบริษัท พีที คอร์ปอเรชั่น

หลังปรากฏเป็นข่าว พันตำรวจโททักษิณ อ้างว่าบริษัทวินมาร์คเป็นของนักลงทุนต่างประเทศ ที่ต้องการซื้อหุ้น 5 บริษัทดังกล่าวที่จะนำเข้าตลาดหลักทรัพย์โดยต้องการผลประโยชน์จากการหุ้นที่ ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ คนที่ยืนยันอีกคนก็คือ สุรเธียร จักธรานนท์ กรรมการผู้อำนวยการเอสซี แอสเสทของครอบครัวชินวัตร

นอกจากนี้ พันตำรวจโททักษิณ ยังทำหนังสือชี้แจงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.). ในคดีซุกหุ้นในยืนยันว่าบริษัทวินมาร์คเป็นของนักลงทุนต่างประเทศ

ทว่าในข้อเท็จจริงกลับมีการค้นพบว่า บริษัทวินมาร์ค ลิมิเต็ด มีที่ตั้งที่เดียวกับบริษัท แอมเพิล ริช คือ P.O.BOX 3151,Road Town,Tortola บนเกาะบริติช เวอร์จิน

หลักฐานดังกล่าวทำให้เชื่อได้ว่า บริษัทแอมเพิล ริช และบริษัทวินมาร์ค มีเจ้าของเดียวกันหรือไม่ ถ้าใช่ บริษัทวินมาร์คก็ต้องเป็นของครอบครัวชินวัตรเช่นกัน

ถ้ามิใช่ เหตุใดนักลงทุนต่างประเทศรายนี้จึงมีใจตรงกับครอบครัวชินวัตรโดยบังเอิญที่ม ีที่ตั้งของบริษัทอยู่ที่เดียวกับบริษัทแอมเพิล ริช

ต่อบริษัทวินมาร์คซึ่งถือหุ้นในบริษัทเอสซี แอสเซท คอร์ปอเรชั่น(เปลี่ยนชื่อจากบริษัทโอเอไอ พร็อพเพอร์ตี้) กว่า 61 ล้านหุ้น ได้โอนหุ้นจำนวนดังกล่าวให้แก่ กองทุน แวลู แอสเสท ฟันด์ ที่จัดตั้งในประเทศมาเลเซีย เมื่อสิงหาคม 2546 ก่อนนำบริษัทเอสซีแอสเซทเข้ามายื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในไม่กี่วัน

มีปรากฎหลักฐานว่า การเพิ่มทุนบริษัท จาก 1,850 ล้านบาทเป็น 25,000 ล้านบาทหรืออีก 710 ล้านบาท กองทุนแวลู แอสเสท กลับสละสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมดให้แก่นางสาวพิณทองทาและนงสาวแพทองธ าร ทำให้กองทุนแวลู แอสเซทขาดผลประโยชน์จากส่วนต่างราคาหุ้นที่จะขายให่แก่ประชาชนทั่วไปหุ้นละ 5 บาทเป็นกว่า 100 ล้านบาท

ต่อมาก่อนที่จะมีการยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหุ้น 5 วัน กองทุนแวลู แอสเสทได้โอนหุ้นกว่า 61 ล้านหุ้นให้แก่กองทุนออฟชอว์ ฟันด์อิงค์และโอเวอร์ซี ฟันดอิงค์ ซึ่งตั้งอยู่ที่เดียวกับกองทุน แวลู แอสเสท ฟันด์ เช่นกัน คือเกาะบาบัวในมาเลเซีย

จากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ดังกกล่าวทำให้เชื่อได้ว่า กองทุนทั้ง 2 เป็นของครอบครัวชินวัตร การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในการเสนอขายหลักทรัพย์(ไฟลิ่ง)ของบริษัทเอสซี แอสเซท ต่อก.ล.ต.ในวันที่ 5 กันยายน เป็นการแจ้งข้อมูลเท็จหรือไม่ เพราะเป็นการปกปิดข้อมูลของผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งน่าจะเข้าข่ายกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

เพราะในการยื่นไฟลิ่ง บริษัทแจ้งว่า ครอบครัวชินวัตรแจ้งว่าถือหุ้นเพียง 60 % มิได้พูดถึง 2 กองทุนดังกล่าวที่ถือหุ้นอยู่ 20%ซึ่งเท่ากับว่า ครอบครัวชินวัตรถือหุ้นอยู่เกือบ 80%

หากก.ล.ต.มีความกล้าหาญที่จะพิสูจน์ว่ากองทุนดังกล่าวเป็นของครอบครั วชินวัตรจริง และตรวจสอบได้ว่ามีการแจ้งเท็จในการยื่นไฟลิ่งก็จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 2 เท่า ของหุ้นที่นำเสนอขายต่อประชาชน อาจทำให้ถูกปรับเป็นเงินกว่า 1,900 ล้านบาท

สิ่งสำคัญ อาจทำให้ได้เป็นคำตอบว่อาจมีการซุกซ่อนทรัพย์สินไว้ในต่างประเทศเป็นจำนวนมห าศาล กองทุนที่ถือหุ้นบริษัทเอสซี แอสเซทเป็นเพียงส่วนเล็กๆที่จับได้เท่านั้น

ทั้งหมดนี้เป็น "ความจริง" ที่ พนตำรวจโททักษิณ ชินวัตรยังไม่ได้ตอบ.

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 13 มีนาคม 2549 17:58 น.

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9490000034370


 

แก้ปัญหาไม่ตรงประเด็น - ประเวศ วะสี


แก้ปัญหาไม่ตรงประเด็น
ประเด็นคือการพิสูจน์ว่านายกรัฐมนตรีโกงชาติโกงแผ่นดินจริงหรือเปล่า ?


ประเวศ วะสี
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙


๑. นายกรัฐมนตรีกับพวกโกงชาติแผ่นดินจริงหรือเปล่า
เดี๋ยวนี้ไปทางไหนทุกซอกทุกมุมทุกหนทุกแห่งคุยกันอยู่แต่เรื่องเดียว คือ เรื่องคำเล่าลือเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นของนายกรัฐมนตรี ครอบครัว และกลุ่มของเขา มีผู้เพิ่มเติมเรื่องนั้นเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น คอร์รัปชั่นเชิงนโยบายเกี่ยวกับโทรคมนาคม ทำให้รัฐเสียประโยชน์ ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท การซื้อเครื่องบิน ๔ ลำโดยมิชอบเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท ข้าราชการผู้ใหญ่เล่าว่าญาติของผู้มีอำนาจไปรีดไถจากงบประมาณของกระทรวงต่าง ๆ และใช้คำว่าเมื่อก่อนมันโคตรโกง เดี๋ยวนี้มันโกงทั้งโคตร
บางคนเล่าว่า ในการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิมูลค่าเป็นแสนล้าน มีหัวหน้าโจรกุมการกินอยู่เพียงผู้เดียว มีข่าวลือว่าครอบครัวของผู้มีอำนาจไปกว้านซื้อที่รอบ ๆ สนามบินสุวรรณภูมิไว้ ๖๐๐ ไร่ จะมีการใช้งบประมาณของรัฐลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานและเรียกว่าเป็นนครสุวร รณภูมิ ทำให้ที่ ๖๐๐ ไร่ นั้นขายได้กำไรประมาณไร่ละ ๑๒ ล้านบาท รวมแล้วจะกำไรกว่า ๗๐,๐๐๐ ล้านบาท ฯลฯ
เรื่องการขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้เทมาเสกของสิงคโปร์ ๗๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยไม่เสียภาษีสักบาทเดียว เป็นเรื่องช็อคความรู้สึกของคนอย่างขนานใหญ่ ประดุจเครื่องบินจัมโบ้เจตตกแล้วมีคนตาย ๔๐๐ คน มีการตื่นเต้นตกใจกันไปทั้งแผ่นดิน แต่จริง ๆ มีคนตายเพราะความไม่ถูกต้องในแต่ละวันมากกว่านั้นมาก
ถ้าการคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่าง ๆ ที่ขณะนี้กำลังเล่าลือกันขยายวงออกไปทุกที่เป็นความจริง มูลค่ารวมของการคอรัปชั่นมากกว่า ๗๓,๐๐๐ ล้านบาทมาก คงจะหลายแสนล้านบาททีเดียว
บางคนว่า คำว่า เทมาเสกนั้นมาจากคำว่า ธรรมสิข ซึ่งเป็นชื่อรัฐโบราณบนเกาะสิงคโปร์ ซึ่งเคยรบชนะ เสียนหรือ สยาม เขาเอาชื่อธรรมสิขหรือเทมาเสกไปตั้งชื่อกองทุนเพื่อตัดไม้ข่มนามว่าเพื่อมาย ึดสยามใช่หรือเปล่า แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ สิงคโปร์มีทุนขนาดมหึมา ทั้งทุนของตัวเองและที่เป็นเอเยนต์ของอเมริกา และกำลังเข้ามายึดกิจการธนาคาร โรงแรม และกิจการอื่น ๆ ของไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ และล่าสุดโดยการซื้อชินคอร์ปก็ยึดการสื่อสาร ดาวเทียม สายการบินไปด้วย แน่นอนที่เดียวว่าสิงคโปร์เกาะเล็ก ๆ นี้กำลังใช้ทุนขนาดใหญ่เข้ายึดกิจการต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อใช้ให้คนไทยและกลไกของรัฐไทยทำงานหนักส่งผลประโยชน์ไปเลี้ยงสิงคโปร์
ผู้คนสงสัยว่าทุนไทยที่ยึดอำนาจทางการเมืองอยู่นี้จะร่วมมือกับทุนสิ งคโปร์ จึงเกิดประเด็นข้อกล่าวหาเรื่องการขายชาติขึ้นมา รวมเป็นโกงชาติโกงแผ่นดินและขายชาติ
แม้จะกล่าวกันว่าในทางสังคม ความเชื่อคือความจริง ก็ยังอยากตั้งคำถามเพื่อความเป็นธรรมว่า คำร่ำลือที่กำลังขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ ที่ว่านายกรัฐมนตรีกับพวกโกงชาติโกงแผ่นดินและขายชาตินั้น จริงหรือเปล่า ควรจะมีการพิสูจน์กัน

๒. ถ้าจริง โทษเพียงยุบสภาหรือลาออกแค่นั้นหรือ
ผมไม่ใช่นักการเมือง แต่ไม่เข้าใจตรรกะทางการเมือง เพราะถ้านายกรัฐมนตรีโกงชาติโกงแผ่นดินและขายชาติจริง ทำไมทางออกจะเป็นยุบสภาหรือลาออกแค่นั้นละหรือ ดูไม่สมเหตุสมผลและแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะข้อกล่าวหานั้นยังอยู่
โทษขนาดนี้ ถ้าเป็นครั้งโบราณก็ตัดหัวเจ็ดชั่วโคตร
เอาละสมัยนี้ อย่างน้อยน่าจะติดคุกและริบทรัพย์ !
ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ว่า การพิสูจน์ว่าข้อกล่าวหานั้นจริงหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องอื่น

๓. นายกรัฐมนตรีคือผู้ที่รู้ดีที่สุดว่าจริงหรือไม่จริง
นายกรัฐมนตรีคือคนที่รู้ดีที่สุดว่าข้อกล่าวหานั้นจริงหรือไม่จริง เพราะฉะนั้นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรทำจึงมีดังนี้
(๑) ถ้าจริง ยอมรับสารภาพ ขอโทษ ยอมรับการลงโทษ กลับเนื้อกลับตัวทำความดี
(๒) ถ้าไม่จริง ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาสอบสวนนายกรัฐมนตรี ในเมื่อมันไม่จริง สอบสวนอย่างไร ๆ ก็จะพบว่ามันไม่จริง และถ้าคณะกรรมการอิสระประกอบด้วยคนที่ผู้คนเคารพนับถือว่ามีความยุติธรรมและ มีอิสระจริง ๆ รายงานของคณะกรรมการอิสระก็จะยุติข่าวลืออันไม่เป็นมงคลต่อนายกรัฐมนตรีลงได ้ ถ้าใช้กลไกเท่าที่มี เขาไม่เชื่อถือกันแล้ว เขาเชื่อว่าถูกแทรกแซงและครอบงำหมดแล้ว ไม่สามารถยุติคำร่ำลือได้แล้ว

๔. เป็นหน้าที่ของการเมืองภาคประชาชน
นายกรัฐมนตรีคงจะไม่ยอมทำอย่างหนึ่งอย่างใดในสองข้อข้างต้น จึงเป็นหน้าที่ของการเมืองภาคประชาชน ลำพังการเมืองของนักการเมืองมีข้อจำกัดมาก คงจะพาบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัยได้ยาก รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงบัญญัติการเมืองภาคประชาชนไว้เป็นอันมาก
มาตรา ๗๖ ตามรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๔๐ บัญญัติว่า รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการ การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ
ผมยกมาให้ดูเพียงมาตราเดียวเพื่อจะแสดงให้เห็นว่าการเมืองภาคประชาชน นั้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ การชุมนุมหรือเดินขบวนเรียกร้องด้วยสันติวิธีสามารถทำได้ภายในกรอบของรัฐธรร มนูญ
มักจะมีการบิดเบือนความจริงว่าการชุมนุมเรียกร้องเป็นกระบวนการนอกกฎหมาย
เพราะรัฐบาลไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ จึงมีการชุมนุม การชุมนุมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

๕. ศีลธรรมอยู่เหนือการเมืองอยู่เหนือกฎหมาย
คนไทยถูกครอบงำให้เข้าใจผิดว่า อำนาจทางการเมืองเป็นอำนาจสูงสุดหรือกฎหมายคืออำนาจสูงสุด เราก็เห็นกันแล้วว่า การเมืองมากำหนดศีลธรรมไม่ได้ กลับมาทำปู้ยี่ปู้ยำให้ศีลธรรมตกต่ำจนปั่นป่วนไปทั้งประเทศ ผู้มีอำนาจจะเรียกร้องให้ทำตามกฎหมาย แต่ถามว่าใครเขียนกฎหมาย
เขาแก้กฎหมายหรือเขียนกฎหมายใหม่ให้เอื้อประโยชน์ต่อพวกเขาได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้เขาก็แก้กฎหมายจากให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน ๒๕% เป็น ๔๙% แล้วขายพรวดทันทีทันใดเลยได้กำไรก้อนโต
เพราะฉะนั้นจะถือว่ากฎหมายคือความถูกต้องสูงสุดไม่ได้ เพราะเกได้โกงได้ โบราณก็บอกว่าธรรมศาสตร์อยู่เหนือนิติศาสตร์ หรือธรรมอยู่เหนือกฎหมาย
ศีลธรรมจะอยู่ใต้การเมืองและใต้กฎหมายไม่ได้ การเมืองของพลเมืองจะต้องเคลื่อนไหวให้ศีลธรรมอยู่เหนือการเมืองและเหนือกฎห มาย ประชาชนจะต้องเป็นเจ้าของศีลธรรม และเป็นผู้กำหนดให้การเมืองทำตามศีลธรรม ต้องปรับและกำกับให้ความถูกต้องกับความถูกกฎหมายอยู่ที่เดียวกัน
นายกรัฐมนตรีจะมาสอนศีลธรรมให้ประชาชนไม่ได้
แต่ประชาชนจะต้องสอนและกำกับให้นายกรัฐมนตรีมีศีลธรรม

๖. ปิดยุคการเมืองธนกิจ เปิดยุคการเมืองของพลเมือง
ตราบใดที่ธนกิจเข้ามาครอบงำการเมือง ความปั่นป่วนวุ่นวายเสื่อมเสียศีลธรรมจะมีมากขึ้น กระทบการพัฒนาทุก ๆ ด้าน คนไทยทั้งหมดจะต้องตื่นตัวและมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ศีลธรรมเป็นพลังของแผ ่นดิน ต้องรำลึกถึงพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า
เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม
แผ่นดินจะต้องมีศีลธรรมเป็นพลัง ไม่ใช่เงินขนาดใหญ่ที่ไร้ศีลธรรม ประชาชนจึงจะร่มเย็นเป็นสุข
ธงชัยของการเมืองภาคประชาชน คือ การขับเคลื่อนทางศีลธรรม
ให้ศีลธรรมอยู่เหนือการเมืองและเหนือกฎหมาย
พลังทางศีลธรรมโดยการเมืองภาคประชาชนจะต้องเข้าไปขจัดปราบปรามคอร์รั ปชั่น สร้างระบบการเมืองที่มีศีลธรรมกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศที่มีศีลธรรมเป็นฐา น ต้องเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงคือเศรษฐกิจศีลธรรม
พวกเราคนไทยจะต้องช่วยกันสร้างสรรค์ประเทศไทยที่สง่างาม สันติ พอกินพอใช้ มีน้ำใจไมตรีต่อกัน ด้วยพลังทางศีลธรรม
การเมืองของนักการเมืองอย่างเดียว ต่อให้ดีอย่างไรก็ไม่เป็นพลังทางศีลธรรมพอเพียง
การเมืองภาคประชาชนจะต้องเป็นพลังทางศีลธรรมของแผ่นดิน


Tuesday, March 14, 2006

 

สรรพากรสับสน.. ขายหุ้นชินคอร์ปไม่เสียภาษี ?


โดย เมธี ศรีอนุสรณ์
ตีพิมพ์ในวารสาร "กฎหมายใหม่" ฉบับที่ 69 มีนาคม 2549


การขายหุ้นชินคอร์ปของครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ให้แก่กลุ่มเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 จำนวน 1,487 ล้านหุ้น หรือ 49.595% ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 73,300 ล้านบาท โดยไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว !

ยังเป็นที่กังขาของนักวิชาการโดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนกฎหมายภาษีอากรในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก ?

เพราะเป็นปัญหาด้านการตีความกฎหมายที่จะเป็นบรรทัดฐานต่อไป และจะกลายเป็นแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งมีผลกระทบต่อการเก็บรายได้ของชาติอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ

ดังจะเห็นได้จากการเสนอความเห็นด้วยความห่วงใยของ ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอาจารย์ผู้สอนกฎหมายภาษีอากรให้แก่นิสิตจุฬาฯ ที่ได้แสดงไว้ในบทความเรื่อง “ความเห็นต่างกรณีภาระภาษี “ชินคอร์ป” ซึ่งได้โต้แย้งคำชี้แจงของอธิบดีกรมสรรพากร โดยกลัวว่าจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชน ที่เราจะได้กล่าวถึงในรายงานนี้ หรือการเสนอความเห็นของอาจารย์ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม อาจารย์พิเศษที่สอนกฎหมายภาษีอากรให้แก่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์ โดยสอนคู่กับท่านชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษีอากร ในบทความเรื่อง “การขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีจริงหรือ ?” ซึ่งเราได้นำมาลงในคอลัมน์ “มองคดีพิจารณากฎหมาย” ในวารสารข่าวกฎหมายใหม่ฉบับนี้

สิ่งหนึ่งที่จะพบเห็นเมื่อสาวลึกลงไปถึงการวินิจฉัยของกรมสรรพากรต่อขั้นตอนของการโอนหุ้นของคนในครอบครัวท่านนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ดำเนินต่อเนื่องมาจนมาสู่การขายหุ้นทีเดียวทั้งหมดล็อตครั้งนี้คือ “ความสับสน” ในการตีความแต่ละครั้ง แต่ที่ไม่สับสนคือ คำตอบสุดท้ายทุกขั้นตอนจะเป็นว่า “ไม่ต้องเสียภาษี” ?

เพื่อเป็นกรณีศึกษาจะได้ยกการโอนหุ้นบางครั้งที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับความเห็นของกรมสรรพากรในการตีความกฎหมายก่อนมาถึงครั้งสุดท้ายที่โอนขายหุ้นทั้งหมดเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 มีข้อเท็จจริง ดังนี้

กรณีที่ 1 การโอนหุ้นชินคอร์ปของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้แก่นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่บุญธรรมของคุณหญิงพจมานเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 4.5 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 164 บาท มูลค่ารวม 738 ล้านบาท (ราคาพาร์หรือราคาที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ต่อมาได้แตกพาร์เป็นหุ้นละ 1 บาท จึงเป็นจำนวนหุ้น 45 ล้านหุ้นในปัจจุบัน) ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่าผู้รับโอนไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะเป็นการโอนให้ตามธรรมเนียมประเพณีและเป็นการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา

กรณีที่ 2 การขายหุ้นชินคอร์ปของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้แก่นายพานทองแท้ ชินวัตร 73.395 ล้านหุ้น (24.99% ของทุนจดทะเบียน) นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ 26.825 ล้านหุ้น และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 โดยขายให้ในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาดขณะนั้นหุ้นละ 150 บาท ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่าผู้ซื้อหุ้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะได้รับหุ้นมา (แม้ราคาต่ำกว่าราคาตลาดขณะนั้น) ยังไม่ถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นจนกว่าจะได้ขายไปจึงจะถือว่ามีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี

กรณีที่ 3 การขายหุ้นชินคอร์ปของบริษัท แอมเพิล ริช (Ample Rich) ให้แก่นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร คนละ 164.6 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 (ก่อนที่จะเทขายให้กลุ่มเทมาเส็ก 3 วัน) โดยขายในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ในขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 47.25 บาท ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่า ผู้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดเหมือนการซื้อสินค้าราคาถูกไม่ถือว่ามีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้

กรณีที่ 4 การขายหุ้นชินคอร์ปทั้งหมดของนายพานทองแท้, น.ส.พิณทองทา, น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ให้แก่กลุ่มเทมาเส็กในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท ซึ่งกรมสรรพากรตีความว่าไม่ต้องเสียภาษีทั้งหมดเพราะเป็นการขายโดยบุคคลธรรมดาในตลาดหลักทรัพย์ (รวมถึงหุ้นที่ได้มาจาการซื้อตามข้อเท็จจริง กรณีที่ 2 ที่เคยบอกว่าจะถือมีเงินได้เมื่อขาย นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากรให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ถือว่า Capital gain (ส่วนต่างราคาหุ้น) ไม่มีเพราะเป็นการซื้อราคาถูกและมันขาดตอน มันไม่ได้ขายจึงไม่มีการรับรู้รายได้ (มติชนรายวัน 27 ม.ค. 49))

ประเด็นโต้แย้ง


1ตามกรณีที่ 1 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏพบครั้งแรกเป็นการที่นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ซื้อหุ้นชินคอร์ป จำนวน 4.5 ล้านหุ้น เป็นเงิน 738 ล้านบาท ดังกล่าวจากนางดวงตา วงศ์ภักดี (คนรับใช้ของคุณหญิงพจมาน) ผ่านโบรกเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์ แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขณะนั้นจับได้ว่าเป็นนิติกรรมอำพราง (ขณะนั้นมีการสอบสวนเรื่องซุกหุ้น) โดยคุณหญิงพจมานเป็นผู้สั่งให้ขายหุ้นนั้นในชื่อของนางดวงตา แก่นายบรรณพจน์ เช็คที่จ่ายให้แก่นางดวงตาผ่านโบรกเกอร์เป็นค่าซื้อหุ้นเป็นเช็คของคุณหญิงพจมาน ซึ่งย้อนกลับนำมาเข้าบัญชีของคุณหญิงพจมานในที่สุด คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและสรุปสำนวนว่า เป็นการให้โดยเสน่หา (อำพรางว่าซื้อขายเพื่อเลี่ยงภาษี) ซึ่งผู้รับโอนหุ้น (นายบรรณพจน์) ต้องนำราคาหุ้นที่รับโอน (738 ล้านบาท) มาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

แต่เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้กรมสรรพากรดำเนินการ กรมสรรพากรอ้างว่า เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ปรากฎข้อเท็จจริงว่าเป็นการโอนหุ้นให้ระหว่างบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์ในครอบครัวและเป็นการให้ในโอกาสที่แต่งงาน มีครอบครัวและมีบุตร ซึ่งมูลค่าที่โอนให้ก็เป็นไปตามฐานะของผู้ให้ สำหรับผู้รับนั้นถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 2มาตรา 42 (10) เนื่องจากได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีและก็เข้าลักษณะเป็นการรับอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาด้วย

การที่กรมสรรพากรตีความโดยยอมรับว่าที่คุณหญิงพจมานโอนหุ้นให้แก่นายบรรณพจน์พี่บุญธรรมในมูลค่า 738 ล้านบาทนี้ เป็นการให้ตามประเพณีในโอกาสที่คุณบรรณพจน์แต่งงานมีครอบครัวและมีบุตร และถือเป็นการอุปการะแก่พี่บุญธรรมตามหน้าที่ธรรมจรรยาของน้องสาวที่แสนดีนี้ เป็นการขัดกับแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2517 ที่พิพากษาว่า โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรที่มีอาชีพและครอบครัวเป็นหลักฐานแล้วไม่อยู่ในสภาพที่โจทก์ผู้เป็นมารดามีหน้าที่ธรรมจรรยาที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลย อีกทั้งที่ดินที่ยกให้ก็เป็นจำนวนมากราคาสูง จึงมิใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ดังนั้นจำเลยต้องเสียภาษีเงินได้จากการที่ได้ที่ดินที่รับมา และในคำพิพากษาฎีกาที่ 1262/2520 วินิจฉัยว่า เงินได้ที่ผู้ให้ให้คราวละมาก ๆ เพื่อหวังผลประโยชน์ ไม่ถือเป็นการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี

ดังนั้นกรณีนี้น่าจะอนุมานได้ว่าการที่คุณหญิงพจมานยกหุ้นให้แก่พี่บุญธรรมเป็นการให้โดยเสน่หา เพื่อให้พี่ชายดูแลหุ้นแทน เพราะไม่ปรากฏว่าพี่บุญธรรมมีฐานะยากจน และหุ้นที่โอนให้ก็มีมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ไม่ใช่การให้ตามธรรมเนียมปกติที่จะให้กันมากขนาดนี้จึงไม่น่าจะเข้าข้อยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (10) ดังที่กรมสรรพากรกล่าวอ้างตีความ การไม่ยอมประเมินภาษีดังกล่าวอาจเข้าข่ายเลือกปฏิบัติ ละเว้นหน้าที่ซึ่งผิดกฎหมายอาญาได้

ทั้งนี้เพราะแนวทางปกติของกรมสรรพากร ถ้าได้รับโอนหุ้นมาโดยเสน่หาต้องถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ดังคำชี้แจงของอธิบดีกรมสรรพากรต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเรื่องการรับโอนหุ้นโดยเสน่หา ตามหนังสือ “ลับ” ที่ กค. 0811/632 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 อธิบดีกรมสรรพากรชี้แจงว่า “กรมสรรพากรขอเรียนว่า.... 5.กรณีบุคคลธรรมดาได้รับโอนหุ้นมาโดยเสน่หา ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งการคำนวณเงินได้พึงประเมินให้ถือตามราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับโอนหุ้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

อย่างไรก็ดี บุคคลธรรมดาที่ได้รับโอนหุ้นมาโดยเสน่หา ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินนั้น หากเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

ตามกรณีที่ 2 กรณีที่ 3 และกรณีที่ 4 เป็นประเด็นว่า “ได้รับหุ้นมาในราคาต่ำกว่าตลาดต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่ ?” กรมสรรพากรมีแนวทางปฏิบัติแตกต่างเป็น 2 ทาง

แนวแรก ตีความว่า ได้รับหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาด ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตาม 3มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ตามตัวอย่างในกรณีของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นักบัญชี บริษัททางด่วนกรุงเทพ ซึ่งซื้อหุ้นจากบิดา จำนวน 5,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาด 21 บาท มีส่วนต่างประมาณ 55,000 บาท ปรากกว่าถูกกรมสรรพากรประเมินภาษี (แต่ต่อมาเมื่อมีการเปิดเผยว่า กรมสรรพากรปฏิบัติแตกต่างกับกรณีของครอบครัวชินวัตร เขาจึงได้รับคืนเงินโดยบอกว่าคิดผิดไป)

การตีความว่าผู้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าตลาดถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้น น่าจะเป็นการตีความที่ใช้เป็นหลักในกรณีทั่วไป แต่เดิมของกรมสรรพากร ดังตัวอย่างเมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยมีหนังสือไปสอบถามกรมสรรพากรถึงกรณีดังกล่าว และนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้นทำหนังสือ “ลับ” ที่ ก.ค. 0811/632 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ตอบข้อซักถามของ ป.ป.ช. ในกรณีดังกล่าวดังนี้

“กรมสรรพากรเรียนว่า

1. กรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้นของบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ขายจะต้องนำกำไรจากการขายหุ้นไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมิน เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่หากราคาขายเท่ากับหรือต่ำกว่าราคาซื้อถือว่าไม่มีเงินได้พึงประเมิน และไม่สามารถนำผลขาดทุนจากการขายในแต่ละคราวไปหักจากส่วนที่เป็นกำไรจากการขายหุ้นชนิดและคราวอื่นได้

กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นของบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ซื้อหุ้นไม่มีเงินได้พึงประเมิน จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เว้นแต่เป็นการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาหรือค่าอันพึงมีกับราคาซื้อ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อื่นที่ได้รับ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ซื้อหุ้นต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย (กรณีซื้อขายหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ ภาระภาษีของผู้ขายและผู้ซื้อจะเป็นเช่นเดียวกับ ข้อ 1)”

แนวทางที่สอง ตีความว่าไม่ต้องเสียภาษีขณะนั้น ทั้งนี้ตามแนวปฏิบัติที่กรมสรรพากรใช้กับกรณีการโอนหุ้นของคนในตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ โดยกรมสรรพากรอธิบายเหตุผลในการไม่เก็บภาษีสับสน 3 กรณีไม่เหมือนกัน กล่าวคือ

1. ตามกรณีที่ 2 นายวิชัย จึงรักเกียรติ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ทำหนังสือลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2545 (ที่ กค. 0811/6312) ระบุว่า การซื้อขายหุ้นดังกล่าวถือไม่ได้ว่า ผู้ซื้อได้รับประโยชน์จากการโอนหุ้นซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม 4มาตรา 40 (4) (ช) ตามประมวลรัษฎากร เนื่องจากยังมิได้ก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้ซื้อแต่ประการใดจนว่าผู้ซื้อจะได้ขายหุ้นดังกล่าวไปโดยได้รับผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

คือ ตีความว่าหุ้นชินคอร์ปที่นายพานทองแท้, น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายบรรณพจน์ ซื้อต่ำกว่าราคาตลาดจาก พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตรนั้น ถือว่ายังไม่ได้รับประโยชน์เกิดขึ้นตามมาตรา 40 (4) (ช) แม้จะรับหุ้นไปแล้ว เพราะยังไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้ซื้อ ต่อเมื่อเอาหุ้นนั้นไปขายจึงจะถือว่ามีรายได้เกิดขึ้นแล้ว หากราคาขายเกินกว่าราคาทุนที่ซื้อมาจึงจะต้องเสียภาษี

ซึ่งการตีความดังกล่าวแตกต่างจากกรณีของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เมื่อนายเรืองไกรพบว่า กรณีของครอบครัวชินวัตรไม่เสียภาษีทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงเหมือนกัน จึงได้ร้องเรียนต่อสื่อมวลชน จนมีการนำไปพูดในวุฒิสภาและที่สุดนายวราเทพ รัตนากร รมช.กระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า กรมสรรพากรเข้าใจผิดและขอคืนภาษีให้

โดยมีการให้เหตุผลต่อมาโดย นายพิชเยนทร์ กองทอง นิติกร 8 กรมสรรพากร ทำบันทึกลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 แก่นายเรืองไกรว่า “สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นผลประโยชน์จากการซื้อหุ้น ยังคงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี เพราะเงินได้ในส่วนนี้ยังมิได้มีการก่อให้เกิดรายได้ต่อท่าน (นายเรืองไกร) ท่านจะเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้ก็ต่อเมื่อท่านได้ขายหุ้นดังกล่าวไปโดยได้รับผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินที่ลงทุน ทั้งนี้ตามมาตรา 40 (4) (ช)

และในครั้งต่อมา นายสุเทพ พงษ์พิทักษ์ สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 ทำหนังสือลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2548 (ที่ กค. 0709.03 (ภค.12123) ถึงนายเรืองไกร เรื่องแจ้งคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2546 โดยระบุว่า “ในกรณีดังกล่าว ยังไม่อาจถือได้ว่าท่านมีเงินได้พึงประเมินเพราะเป็นเพียงขั้นลงทุน หาใช่ผลประโยชน์ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินลงทุน ตามมาตรา 40 (4) (ช) ท่าน (นายเรืองไกร) จึงยังคงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับตัวเลขผลประโยชน์จากการซื้อหุ้นจนกว่าท่านจะได้ขายหุ้นดังกล่าวไปโดยได้รับประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินลงทุน”

2. ตามกรณีที่ 3 เมื่อใกล้จะมีการนำหุ้นของครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ไปขายให้กับกลุ่มเทมาเส็ก เหตุผลในการไม่เก็บภาษีจากผู้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาดแตกต่างออกไป ตามกรณีที่ 3 เมื่อนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ซื้อหุ้นชินคอร์ปจากบริษัทแอมเพิล ริช ในราคาต่ำกว่าตลาดเมื่อ 20 มกราคม 2549 ก่อนนำไปขายอีก 3 วันต่อมา

นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร แถลงข่าวเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ว่า “บริษัทชินคอร์ป ได้หารือกรมสรรพากรมา ซึ่งกรมฯ ได้มีหนังสือตามไปเมื่อ 21 กันยายน 2548 ว่า กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาด เป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ส่วนต่างจากราคาซื้อกับราคาตลาด จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร... และกรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้น หากขายออกไปในราคาที่สูงกว่าที่ซื้อมา (เงินได้เกินกว่าที่ลงทุน) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร อย่างไรก็ดีหากบุคคลธรรมดาขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดา” (มติชนรายวัน 3 ก.พ. 49)

ซึ่ง น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “บุคคลธรรมดาซื้นหุ้นราคาต่ำกว่าตลาดมีกำไรไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน เพราะการวินิจฉัยรายได้พึงประเมินเสียภาษีต้องดูประมวลรัษฎากรมาตรา 39 และมาตรา 40 ควบคู่กันไป โดยในมาตรา 40 ระบุว่า เงินได้พึงประเมินต้องเสียภาษี ซึ่งให้รวมถึงทรัพย์สินและประโยชน์อื่นที่จะได้รับ ซึ่งอาจคำนวณเป็นเงินได้ ซึ่งการซื้อหุ้นราคาถูกถือเป็นประโยชน์อื่นที่ได้รับ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรา 39 จากนั้นก็ต้องไปดูมาตรา 40 ประกอบ ซึ่งในมาตรา 40 นี้มี (4) (ช) ระบุผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น ซึ่งเป็นการพูดถึงการขาย ไม่ได้พูดถึงการซื้อหุ้นราคาถูก ทำให้กำไรจาการซื้อหุ้นราคาถูกไม่ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 39” (โพสต์ทูเดย์ 3 ก.พ. 49)

สรุปว่า กรมสรรพากรอธิบายใหม่ว่า การซื้อหุ้นราคาถูกกว่าราคาตลาดไม่ต้องเสียภาษีเลย ?

การกลับลำตีความใหม่ของกรมสรรพากรนี้ นับจากหลักฐานที่ปรากฏ คือ เมื่อกรมสรรพากรทำหนังสือตอบบริษัทชินคอร์ป เมื่อเดือนกันยายน 2548 ต่อมาปลายปี 2548 ก่อนที่จะมีการขายหุ้นล็อตใหญ่ 23 มกราคม 2549 คุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้เสียภาษีที่เคยร้องเรียนสื่อว่ากรมสรรพากรใช้สองมาตรฐานในการเก็บภาษีก็ได้รับหนังสืออีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2548 (ที่ กค. 0709.31/18325) ลงนายโดย นางจิตรมณี สุวรรณพูล สรรพากร ภาค 1 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ชี้แจงเรื่องการซื้อหุ้นราคาถูกของเขาโดยเป็นการพลิกคำวินิจฉัยเดิมทั้งหมดที่เคยแจ้งเหตุผลแก่เขาว่า การซื้อขายทรัพย์สิน (หุ้น) ราคาต่ำกว่าราคาตลาด “ส่วนต่าง” ดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ของประมวลรัษฎากรตั้งแต่ต้น โดยหนังสือดังกล่าวว่า “การซื้อทรัพย์สินในลักษณะดังกล่าวจะเป็นเรื่องของทุนซึ่งกระทบต่อจำนวนเงินที่เหลืออยู่และที่ได้จ่ายไป ดังนั้นไม่ว่าการซื้อทรัพย์สินผู้ซื้อจะซื้อตามราคาตลาดหรือซื้อในราคาถูกกว่าตลาด ผู้ซื้อต้องเสียเงินสำหรับการซื้อตามจำนวนมากน้อยตามราคาที่ตกลงกัน... การที่ซื้อทรัพย์สินราคาถูกจะทำให้เหลือเงินมากกว่าซื้อทรัพย์สินในราคาปกติ เงินที่เหลือดังกล่าวไม่ว่าจะเหลือมากน้อยเท่าใดก็เป็นเงินของผู้ซื้อเอง เป็นเรื่องของทุน มิใช่เงินที่ผู้ซื้อได้รับหรือเข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับจากผู้อื่นแต่อย่างใด ด้วยเหตุผลข้างต้น การซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับอันเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 เช่นเดียวกับส่วนลดปกติและส่วนลดพิเศษที่จะลดให้ทันทีเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าตามเกณฑ์ที่กำหนด”

...ดังนั้น กรณีที่ท่าน (นายเรืองไกร) ซึ่งเป็นผู้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาตลาดไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ อันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39”

3. ตามกรณีที่ 4 ดังนั้นเมื่อมีการขายหุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ทั้งหมดไปตามข้อเท็จจริงกรณีที่ 4 โดยขายในตลาดหลักทรัพย์ กรมสรรพากรจึงตีความว่าไม่ต้องเสียภาษีทั้งหมด

โดยนายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร แถลงข่าวเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2549 ว่า เป็นการขายหุ้นโดบบุคคลธรรมดาในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีตาม 5มาตรา 42 (17) ประกอบ 6กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (23) ดังนั้นจึงได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงการซื้อหุ้นมาในราคาถูกที่นำมารวมขายในล็อตนี้ (ข้อเท็จจริงตามกรณีที่ 2) ซึ่งรองอธิบดีกรมสรรพากร นายวิชัย จึงรักเกียรติ เคยชี้แจงว่า จะถือว่ามีรายได้ซึ่งต้องเสียภาษีเมื่อมีการขายเกิดขึ้น อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวว่า “อย่าไปย้อนถึงของที่มันจบไปแล้ว ผมบอกแล้วว่ากรรมแรก (การซื้อหุ้นมาในราคาถูก) ไม่ถือว่าเกิด capital gain (ส่วนต่างราคาหุ้น) แต่กรรมสองเกิดแล้ว แต่เป็นการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์”

ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้ว capital gain กรรมแรกมันหายไปไหน อธิบดีกรมสรรพากรตอบว่า ส่วนต่างราคาหุ้นมันไม่มีเพราะเป็นการซื้อของราคาถูกและมันขาดตอน มันไม่ได้ขาย จึงไม่มีการรับรู้รายได้” (มติชนรายวัน 27 ม.ค. 49)

สรุปว่า ไม่มีกรณีที่ต้องเสียภาษีเลย สำหรับในประเด็นการขายหุ้นที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการขายเพราะเป็นการขายหลักทรัพย์ (หุ้น) ในตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่มีใครติดใจ แต่ภาษีเงินได้ที่เกิดจาการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาดและมาขายในครั้งนี้ถือว่าไม่ต้องเสียภาษีด้วยมีคนกังขาจำนวนมาก ?

ข้อโต้แย้ง เมื่อพิจารณาการวินิจฉัยตีความของผู้บริหารกรมสรรพากรขณะนี้ที่มีความเห็นว่า การได้หุ้นมาและขายหุ้นออกไปตามข้อเท็จจริงกรณีที่ 2, 3 และ 4 ไม่ต้องเสียภาษี จะอยู่ใน 3 ประเด็นที่กรมสรรพากรกล่าวอ้างดังนี้

ประเด็นที่กรมสรรพากรกล่าวอ้างดังนี้

ประเด็นที่ 1 เป็นการซื้อของราคาถูก ส่วนต่างราคาหุ้นที่ซื้อมาในราคาต่ำนี้ไม่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ? (จากข้อเท็จจริงการซื้อหุ้นตามกรณีที่ 3)

ประเด็นที่ 2 ถึงซื้อหุ้นได้มาในราคาต่ำ แต่ก็ไม่ถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นขณะนั้น จนกว่าจะได้ขายออกไปจึงจะเกิดเงินได้ที่ต้องเสียภาษี (จากข้อเท็จจริงการซื้อหุ้นตามกรณีที่ 2)

ประเด็นที่ 3 หุ้นที่ซื้อได้มาในราคาต่ำ เมื่อนำมาขายในตลาดหลักทรัพย์ถือว่าไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีทั้งหมด (จากข้อเท็จจริงกรณีที่ 4)

ใน 3 ประเด็นของกรมสรรพากรนี้ มีความเห็นของนักวิชาการกฎหมายภาษีอากร ที่โต้แย้งข้อสรุปของกรมสรรพากรอย่างชัดแจ้งในทุกประเด็น ได้แก่ ความเห็นของ ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้แสดงความเห็นไว้ในการอภิปรายเรื่อง “บทวิเคราะห์เชิงวิชาการต่อภาวะวิกฤตผู้นำ : ปัญหาและทางออก” เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 โดยสรุปความเห็นที่โต้แย้งดังนี้

ประเด็นที่ 1 ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย มีความเห็นว่า โดยปกติการซื้อสินค้าราคาถูกในทางการค้าตามกลไกตลาดปกติที่บางครั้งมีการลดราคาแก่ลูกค้าทั่วไป ย่อมไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของผู้ซื้อหรือผู้บริโภค แต่ถ้าการขายทรัพย์สินนั้นในราคาถูกลงอย่างมากจนเห็นได้ชัด ย่อมมีนัยของการให้โดยเสน่หาแฝงอยู่ด้วย ซึ่งต้องถือว่ามีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้น เช่น หุ้นราคาตลาด 47 บาท แต่ขายให้ในราคา 1 บาท ย่อมมีการให้โดยเสน่หาแฝงอยู่ กล่าวคือ นอกจากมีธุรกรรมซื้อขายแล้วยังมีธุรกรรมการให้โดยเสน่หา ซึ่งถือว่ามีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้น และต้องเสียภาษีเพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 39 บัญญัติว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้นี้ให้รวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินด้วย จะเห็นได้ว่า “เงินได้พึงประเมิน” เป็นไปตามหลักวิชาการที่หมายถึง ส่วนที่เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ของบุคคล อะไรก็ตามที่ทำให้เรามั่งคั่งขึ้น ส่วนที่มั่งคั่งขึ้นเป็นเงินได้พึงประเมิน

ดังนั้น การซื้อหุ้นราคาถูก ย่อมเกิดส่วนต่างของราคาที่ได้รับเมื่อเทียบกับราคาตลาด ส่วนต่างที่ได้รับนี้คือมูลค่าที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็น “เงินได้พึงประเมิน” ผศ.ธิติพันธุ์ ยกตัวอย่างให้เห็นจากในตัวกฎหมาย เช่น ในมาตรา 42 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ยกเว้นเงินได้พึงประเมินไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีใน “(6)ฯ ส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล ฯลฯ” และ “(18)ฯ ส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย” แสดงให้เห็นว่า ปกติแล้วส่วนลดหรือส่วนต่างจากการซื้อทรัพย์สินเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น ดังนั้นเรื่องใดที่จะยกเว้นประมวลรัษฎากรจึงต้องนำมาบัญญัติยกเว้นไว้ในมาตรา 42 มิฉะนั้นต้องเสียภาษี

ผศ.ธิติพันธุ์ กล่าวว่า ความเห็นของท่านเหมือนดังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 28/2538 ที่ลงนามโดยนายอรัญ ธรรมโน ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่วินิจฉัยว่า “... กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำหุ้นไปแจกให้พนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกันหรือนำหุ้นไปขายให้กับบุคคลดังกล่าวตามข้อตกลงพิเศษในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด กรณีนี้ย่อมถือได้ว่า บุคคลดังกล่าวได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษีที่ได้รับกรรมสิทธิในหุ้น...” เขากล่าวว่า คำวินิจฉัยนี้ยืนยันว่า ส่วนต่างจากการซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดเป็นเงินได้พึงประเมินที่พนักงานต้องนำไปเสียภาษีในปีภาษีนั้น (ไม่ต้องรอให้ไปขายก่อน)

ในประเด็นที่ 2 ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กล่าวว่า โดยช้อเท็จจริงแล้วเมื่อผู้ซื้อหุ้นได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นที่ซื้อมาในราคาต่ำ ส่วนต่างของราคาระหว่างราคาตลาดในวันนั้นและราคาที่ซื้อมาเป็นมูลค่าที่เกิดขึ้นในวันนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตามที่บัญญัติไว้ในคำนิยาม “เงินได้พึงประเมิน” นั่นเอง ดังนั้นต้องถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว จะเห็นได้ว่าคำวินิจฉัยที่ 28/2538 จึงให้ผู้ได้รับหุ้นนั้นต้องไปเสียภาษีในปีภาษีนั้น โดยไม่ต้องรอให้ไปขายก่อน

ในประเด็นที่ 3 ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัน โต้แย้งว่า ผู้บริหารกรมสรรพากรตีความ รวมธุรกรรมสองธุรกรรมกลืนเป็นอันเดียวกันโดยไปสรุปว่า ธุรกรรมทั้งสองธุรกรรมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามกฎกระทรวงที่ 126 ข้อ 2 (23) เพราะเป็นการที่บุคคลขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ไม่ถูกต้อง

ผศ.ธิติพันธุ์ กล่าวว่า ถ้าตีความยอมรับตามความเห็นของกรมสรรพากรตามประเด็นที่ 2 ว่า ในวันที่ซื้อหุ้นมาในราคาต่ำกว่าตลาดยังไม่เกิดเงินได้พึงประเมิน ต่อเมื่อนำหุ้นไปขายแล้วจึงจะถือว่าเกิดรายได้และเกิดความรับผิดตามธุรกรรมนี้ที่จะต้องเสียภาษีนั้น เขากล่าวว่า ในวันที่มีการโอนหุ้นทั้งหมดในวันที่ 23 มกราคม 2549 (ตามกรณีที่ 4) มีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกันอยู่สองธุรกรรมคือ (1) ธุรกรรมซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าตลาด กับ (2) ธุรกรรมขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ โดยธุรกรรมทั้งสองเป็นธุรกรรมที่แยกต่างหากจากกัน และความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้แต่ละธุรกรรมก็แยกต่างหากจากกันด้วยเช่นกัน ดังนี้

ก. ความรับผิดในการเสียภาษีของธุรกรรมซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาดตาม (1) จะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้ซื้อหุ้นได้ขายหุ้นนั้นออกไป เช่น ในวันที่ 20 มกราคม 2549 ซื้อหุ้นมาราคา 1 บาท ขณะที่ราคาตลาด 47 บาท และเมื่อถึงวันที่ 23 มกราคม 2549 ได้ขายหุ้นนั้นไปราคา 49 บาท ธุรกรรม (1) นี้ (ตามการตีความของสรรพากร) เกิดความรับผิดที่จะต้องเสียภาษี โดยจำนวนที่จะต้องเสียภาษีคือส่วนต่าง 47-1 เท่ากับ 46 บาท ที่จะต้องไปคำนวณภาษี ดังนั้นภาษีที่จะต้องเสียในวันที่เทขายหุ้นทั้งหมดคือส่วนนี้

ข. ส่วนความรับผิดในการเสียภาษีจากธุรกรรมขายหลักทรัพย์ออกไป ย่อมเกิดขึ้นเมื่อได้ขายหุ้นที่ซื้อมานั้นออกไป ซึ่งตามธุรกรรม (2) นี้ ส่วนที่จะต้องนำไปเสียภาษี คือ ส่วนต่างหรือประโยชน์ที่ได้จาการโอนหุ้น ได้แก่ 49-47 เท่ากับ 2 (ต้นทุนเท่ากับ 47 บาท ในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น) สำหรับกรณีนี้เนื่องจากเป็นกรณีบุคคลขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งส่วนที่ได้รับยกเว้นคือ เงินได้ที่เกิดขึ้นจำนวน 2 บาท เท่านั้นเอง

สรุปแล้วในวันที่เทขายหุ้นทั้งหมด ผศ. ธิติพันธุ์ กล่าวว่า ยังมีภาระภาษีจากธุรกรรมที่ซื้อหุ้นมาในราคาที่ต่ำกว่าตลาด แม้จะคำนวณตามการตีความแบบผู้บริหารกรมสรรพากรก็ตาม

------------------------------------------------------------------------------

1ดูรายละเอียดได้จาก “นิติกรรมอำพราง ?” ในหนังสือ “ทักษิณกับพวก และความเฉไฉของนักการเมืองไทยจากปัจจุบันยันอดีต” โดยคุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ สำนักพิมพ์ open books

2มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ (10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในวันพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี

3มาตรา 39 ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

เงินได้พึงประเมิน หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย

4มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงิน หรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(4) เงินได้ที่เป็น
................
(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

5มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
...........................
(17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง

6กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509)

ข้อ 2 ให้กำหนดเงินได้ดังต่อไปนี้ เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร... (หมายถึง เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี-กอง บก.)
(23) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมเงินได้จาการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร

 

สภา นสพ.-ทนายความ สุดทน “แม้ว” - ปลุกกระแสทวงสมบัติชาติ


สองสภาการวิชาชีพ “หนังสือพิมพ์-ทนายความ” จับมือออกสมุดปกขาวฟ้องประชาชนทั่วประเทศ ระบุ “ทักษิณ” สิ้นความสง่างามหมดความชอบธรรม ถล่มตระกูลชินวัตร-ดามาพงศ์ ขายหุ้นชินฯ ไม่เสียภาษี หวั่นกระทบความมั่นคงและละเมิดสิทธิชาวไทย พร้อมปลุกกระแสคนไทยทวงสมบัติชาติคืนมา

วันที่ (20 ก.พ.) เวลา 17.30 น. นายพงศักดิ์ พยัฆวิเชียร ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ร่วมกันแถลงการณ์และออกสมุดปกขาวของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสภาทนายคว าม เรื่อง “การทำธุรกรรมซื้อขายหุ้นและหลักทรัพย์กรณีของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีการแปลความให้ขัดกับหลักการจัดเก็บภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายความมั่นคงของชาติ” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ในหนังสือปกขาวดังกล่าวระบุว่า 1.นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติต้องรู้ดีว่าสถานที่ซึ่งประกอบไปด้วยสถาน ีวิทยุ หรือโทรเลข หรือสถานีส่ง หรือรับอาณัติสัญญาณ ดังกล่าวสถานีและผังของสถานีภาคพื้นดินของระบบดาวเทียมและคลื่นดาวเทียมนั้น เป็นความลับของชาติ ซึ่งไม่อาจเปิดเผยให้กับตัวแทนของรัฐบาลต่างประเทศ ดังนั้น การที่ครอบครัวของนายกรัฐมนตรี ได้ยอมให้มีการขายหุ้นและให้ตัวแทนของรัฐบาลต่างประเทศเข้ามาทำการตรวจสอบรา ยละเอียดถึงทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทในเครือทั้งหมด ซึ่งต้องได้รู้ถึงสภาพของสถานะของทรัพย์สินเช่นว่านั้น เท่ากับว่า มีการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 124 ในการเปิดเผยความลับให้กับหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ มีผลทำให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบต้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้กระจ่า งและดำเนินคดีกับตัวการผู้สนับสนุนทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายหุ้นขอ งบริษัท ชินคอร์ป

2.จากรายละเอียดที่ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการขายหุ้น และเปลี่ยนเป็นหลักทรัพย์กรณีตามข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะพิเคราะห์ในตอนซื้อขายหุ้นของนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร หรือตอนขายหุ้นนั้นทั้ง 2 กรณี มีความรับผิดในทางภาษีอากรทั้งสิ้น เพราะถือว่าบริษัท แอมเพิล ริช มีภูมิลำเนา เพื่อการเสียภาษีในประเทศไทย เนื่องจากนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา เป็นกรรมการตัวแทนของบริษัทในประเทศไทย การที่ผู้แทนหน่วยราชการมีหน้าที่จัดเก็บภาษี มาชี้แจงแทนผู้เสียภาษี ย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่ถูกต้อง เพราะควรที่จะตรวจสอบให้มีความแน่ชัดและประเมินภาษีอากรกับผู้ที่ต้องเสียภา ษีอากร

3.การร่วมลงทุนของกลุ่มบริษัทในเครือญาติของนายกรัฐมนตรี และสายการบินแอร์เอเชีย นั้นเป็นการร่วมลงทุนกับนิติบุคคลสัญชาติ “ลาบวน” ซึ่งเป็นเขตพิเศษที่รัฐบาลมาเลเซีย ให้เป็นเขตปลอดภาษีอากร ทำนองเดียวกันกับที่นายกรัฐมนตรีได้ไปจดทะเบียนก่อตั้ง บ.แอมเพิล ริช ซึ่งเป็นเขตปลอดภาษีของรัฐบาลอังกฤษ นายกรัฐมนตรีเองได้เคยกล่าวเรื่องนี้ว่าใครที่ไปจัดตั้งบริษัทบนเกาะต้องถือ ว่าเป็นคนไม่รักชาติ แต่นายกรัฐมนตรีทราบดีอยู่แล้วว่าตนเองก็ตั้งบริษัท แอมเพิล ริช ตั้งแต่ปี 2542 ในขณะเดียวกัน ก็ร่วมลงทุนกับบริษัทสายการบินซึ่งมีภูมิลำเนาและสัญชาติอยู่บนเกาะลาบวน ทำกิจการปลอดภาษี ความสง่างามของนายกรัฐมนตรีจึงเป็นพฤติกรรมที่น่าสงสัยอย่างยิ่ง

4.กรณีที่ได้มีการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัดมหาชน การออก พ.ร.ก.แก้ไข้เพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พ.ศ.2546 และกรณีแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 2 ทั้ง 3 กรณีนี้เป็นการลดคุณค่าทางทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจลงอย่างเห็นได้ชัดโดยลดสถ านะของความเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีศักดิ์ศรีในด้านของการให้สัมปทานเหนือกว่าบร ิษัทธรรมดา และต่อมาให้รัฐวิสาหกิจเสียภาษีในทำนองเดียวกับบริษัทผู้รับสัมปทาน รวมทั้งการขยายฐานการถือหุ้นของคนต่างด้าวจาก 25% เป็น 49% เป็นการเพิ่มมูลค่าหุ้นให้กับบริษัททั้งสิ้น

นายพงศักดิ์ พยัฆวิเชียร ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ระบุด้วยว่า สมุดปกขาวดังกล่าวจะพิมพ์ทั้งสิ้น 6 หมื่นฉบับ แจกจ่ายไปให้ประชาชนทั่วประเทศ เนื่องจากขณะนี้ความสง่างามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะในฐานะของนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยและเป็นรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ทางสภาการหนังสือพิมพ์ฯและสภาทนายความเห็นว่าได้หมดสิ้นไปแล้วโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ตัดสินใจขายกิจการทั้งหมดให้กับต่างชาติ ซึ่งเป็นคู่แข่งด้านการสื่อสาร รัฐบาลสิงคโปร์เคยไปขอร่วมลงทุนกับหน่วยงานซึ่งเป็นเจ้าของกิจการโทรคมนาคมใ นประเทศอื่นๆ มาแล้ว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ มาสำเร็จในการเข้าครอบงำในประเทศไทยได้ถึง 49%

“สภาการหนังสือพิมพ์ฯ และสภาทนายความ เห็นว่า ธุรกรรมการซื้อและขายหุ้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายชัดเจน ถือว่ามีผลทำให้นิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะเป็นการทำให้สูญเสียอธิปไตย ผมขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันรักษาผลประโยชน์และทรัพยากรขอ งชาติไว้ให้เป็นของคนไทยทั้งหมด”

ประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ กล่าวด้วยว่า ขอเรียกร้องให้ผู้อำนวยการและผู้มีอำนาจของบริษัทที่แปรสภาพทุกบริษัทบอกเลิ กสัญญาโทรคมนาคม เนื่องจากการโอนหุ้นให้รัฐบาลสิงคโปร์ดังกล่าวเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับการเ ปิดเผยความลับของชาติ ขอให้ผู้มีอำนาจในบริษัทที่แปรสภาพรายงานผลกระทบจากการเข้ามาซื้อหุ้นไปยังผ ู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายต่อไปโดยทันที และนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีต้องมีมติยกเลิกสัญญาดังกล่าวโดยทันทีไม่มีเงื่อนไข

“ในเรื่องของการสื่อสารเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากสำหรับประเทศที่มีขน าดเล็ก เช่น สิงคโปร์ เมื่อเขามีสิทธิได้รับโอกาสนี้เขาจะไขว่คว้าให้ประเทศมีศักยภาพมากขึ้น โดยการรับซื้อจากรัฐบาลไทย สื่อมวลชนต้องทำหน้าที่เปิดเผยเรื่องราวทั้งหมดและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องดำเ นินการต่อไป ต้องพิจารณาหาหลักฐานและรวบรวมข้อมูล”

นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ กล่าวเสริมว่า ตนได้ทำหน้าที่ของผู้ถือกฎหมายโดยการเปิดเผยข้อมูลสมุดปกขาว และตนจะทำทุกอย่างให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะถือว่าถ้าสิ้นสุดการดำเนินการในครั้งนี้แล้วผลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อ ส่วนรวม ไม่เกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ตนได้รับมาได้มาจากการกลั่นกรองข้อเท็จจริงแล้วทั้งสิ้น

“ผมอยากเรียกร้องความเป็นสันติสุขคืนมาให้กับประเทศ วันนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีความชอบธรรมในการเป็นนายกรัฐมนตรี ความชอบธรรมนี้น่าเคลือบแคลงสงสัยและมีหลักฐานเพิ่มเติมมากขึ้น”

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

This page is powered by Blogger. Isn't yours?